อรรถกถาต้องสอดคล้องกับพระไตรปิฎก
ท่านอาจารย์ ท่านผู้มีความรู้ มากทีเดียว ที่ท่านจะอธิบายความหมายของพระไตรปิฎกได้ ในรุ่นระดับของพระอรรถกถาจารย์ ซึ่งใกล้ชิดกับพระไตรปิฎก และก็มีพระฎีกาจารย์ ซึ่งท่านก็มีความรู้ในเรื่องของอรรถ พอที่จะอธิบายความหมายของคำ เพื่ออนุเคราะห์บุคคลรุ่นหลัง ให้ได้เข้าใจถูกต้องขึ้น แล้วก็มีฎีกา คือว่ามีหลายอย่างจนกระทั่งถึงใกล้กับสมัยของเรา เวลาที่ได้เห็นภาษาบาลี บางคนก็อาจจะคิดว่า นี่เป็นข้อความโดยตรงจากพระไตรปิฎก แต่ความจริงไม่ใช่ก็ได้ เพราะเหตุว่ามีผู้ที่มีความรู้ในยุคหลัง ที่ท่านสามารถที่จะพูดภาษาบาลี เขียนภาษาบาลีได้ ท่านก็แต่งตำราเป็นภาษาบาลี และก็มีชื่อ บางคนใช้ชื่อเหมือนอรรถกถาเลย เราก็ไม่สามารถที่จะเปรียบเทียบรู้ได้ ถ้าเราเป็นผู้ที่เพียงแต่ฟังข้อความ ว่าข้อความนี้เป็นข้อความจากอรรถกถาเดิม หรือว่าอรรถกถาที่บุคคลครั้งนี้ ใช้ชื่อเหมือนกันแต่ว่าไม่ใช่ท่านผู้ที่ได้รจนาเอาไว้ในครั้งโน้น นี่ก็เป็นเรื่องของความละเอียด
แต่อย่างไรก็ตาม การศึกษาพระธรรม ไตร่ตรอง เพื่อที่จะเป็นปัญญาเพื่อให้เกิดความเข้าใจว่า จริงๆ แล้วต้องสอดคล้องกันกับพระบาลีคือพระไตรปิฎกด้วย ไม่ใช่ว่าถ้าค้านกัน หรือว่าไม่สามารถที่จะเข้าใจได้ ก็ต้องถือพระไตรปิฎกเป็นหลัก