เจตนาเจตสิกมีลักษณะที่จงใจ


    ลักษณะของเจตนาเป็นสภาพที่จงใจ เวลาที่เราจะบอกว่า สภาพธรรมใดมี หมายความว่ามีลักษณะอย่างไร เป็นวิเสสลักษณะ ลักษณะเฉพาะของสภาพธรรมนั้นๆ เช่น เจตนา ลักษณะของเจตนาคือสภาพที่จงใจ แต่เจตนาเจตสิก ผู้รู้ ผู้ที่ท่านประจักษ์แจ้งทรงแสดงไว้ว่า มี ๔ ชาติ เจตนาที่เป็นกุศลก็มี เจตนาที่เป็นอกุศลก็มี เจตนาที่เป็นวิบากก็มี เจตนาที่เป็นกิริยาก็มี นี่ผู้รู้แล้ว

    เพราะฉะนั้นผู้ที่ยังไม่รู้ สามารถจะรู้เจตนาที่เป็นวิบากไหม สามารถจะรู้เจตนาที่เป็นกิริยาไหม เพราะฉะนั้นเห็นความต่างแล้วใช่ไหมคะผู้ที่ไม่รู้ ต้องค่อยๆอบรมเจริญ ไม่ใช่ไม่มีเจตนาที่จะรู้ได้เลยเจตนาที่เป็นกุศลมี เจตนาที่เป็นอกุศลมี ซึ่งสามารถจะรู้ได้ แต่ก่อนนี้ทุกคนก็จะฟังธรรมหรือไม่ฟังธรรม ก็มีเจตนากันทั้งนั้น เจตนาที่จะทำกุศลก็มีเจตนาที่จะทำอกุศลก็มี แต่ไม่รู้ว่า เป็นสภาพธรรม คิดว่าเป็นเรา ใช่ไหมคะ ที่ตั้งใจหรือมีเจตนาอย่างนั้นๆ ถือเจตนานั้นว่าเป็นเรา แต่เวลาที่ศึกษาแล้ว แม้ว่าตัวหนังสือจะบอกว่าเจตนาไม่ใช่เรา แต่เจตนาก็มีลักษณะจงใจ

    เพราะฉะนั้นเวลาที่มีความจงใจเกิดขึ้นนะคะ คนที่ติดตัวหนังสือก็จะบอกว่า นี่เป็นเจตสิก เป็นเจตนาเจตสิกเป็นชาติกุศลหรือเป็นชาติอกุศล แต่ไม่รู้ลักษณะของเจตนา เพราะว่าเจตนานั้นดับแล้ว เกิดแล้วดับแล้ว แล้วก็สลับกัน ทั้งเจตนาที่เป็นกุศล ที่เป็นวิบาก ที่เป็นกิริยา ที่เป็นอกุศล ต้องเป็นสติสัมปชัญญะที่สามารถที่จะรู้ว่า ขณะใดที่มีความจงใจตั้งใจ แล้วสติเกิดระลึก เพราะฉะนั้นคนนั้นก็จะรู้ว่าขณะใดสติเกิด ขณะใดหลงลืมสติด้วยตัวเอง


    หมายเลข 3229
    26 ส.ค. 2558