อภิธรรมมัตถสังคหะ ๙ ปริเฉท
อภิธรรมมัตถสังคหะซึ่งท่านพระอนุรุทธาจารย์ได้ประมวลไว้ ๙ ปริจเฉท
เริ่มตั้งแต่ปริจเฉทที่ ๑ คือ จิตตสังคหวิภาค เป็นการรวบรวมจิตทั้งหมด ทุกประเภท และจำแนก คือ แสดงโดยชาติต่าง ๆภูมิต่าง ๆ อยู่ในปริจเฉทที่ ๑
สำหรับปริจเฉทที่ ๒ ก็เป็นเจตสิกสังคหวิภาคซึ่งรวบรวมเจตสิกทั้งหมดทุกประเภท
ปริจเฉทที่ ๓ ปกิณณกสังคหวิภาค คือ เอาสภาพธรรมเหล่านั้นมารวบรวมเป็นหมวดหมู่ เป็น ๖ หมวด ได้แก่
เวทนาจำพวกหนึ่ง เป็นเวทนาสังคหะ แสดงว่า มีเวทนา ๓ มีเวทนา ๕ เกิดกับจิตกี่ดวง
เหตุสังคหะ ๖ ได้แก่ โลภะโทสะ โมหะ อโลภะอโทสะ อโมหะ ได้แก่จิตกี่ประเภท ชาติอะไรบ้าง
กิจสังคหะก็แสดงกิจของจิตว่า มีปฏิสนธิกิจ ภวังคกิจอาวัชชนกิจ ทัสสนกิจ สวนกิจ ฆายนกิจสายนกิจผุสสนกิจสัมปฏิจฉนกิจสันตีรณกิจ โวฏฐัพพนกิจ ชวนกิจ ตทาลัมพนกิจ จุติกิจทั้งหมดก็เป็น ๑๔ กิจ
ต่อจากนั้นก็เป็นทวารสังคหะอีก ๖ คือ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ว่าจิตกี่ดวงเกิดทางทวารไหน
อารัมพนสังคหะ ๖ ได้แก่ อารมณ์ ๖ ที่ปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ
วัตถุสังคหะ ๖ ก็คือที่เกิดของจิต ได้แก่จักขุวัตถุ โสตวัตถุ ฆานวัตถุชิวหาวัตถุ กายวัตถุ หทยวัตถุ
ปริจเฉทที่ ๔ คือ วิถีสังคหะ ทั้งหมดมาจากอนันตรปัจจัยและสมนันตรปัจจัย เพราะกล่าวถึง วัตถุ ๖ ทวาร ๖อารมณ์ ๖ วิญญาณ ๖ วิถี ๖ วิสยปวัตติ ๖ คือ ตทาลัมพนวาระ ชวนวาระโวฏฐัพพนวาระ โมฆวาระทางปัญจทวาร และสำหรับมโนทวารอีก ๒ วาระ
ปริจเฉทที่ ๕ เป็นวิถีมุตตสังคหะ ไม่ได้กล่าวถึงเรื่องวิถีจิต แต่กล่าวถึงเรื่องภูมิต่างๆ ปฏิสนธิต่าง ๆกรรมต่าง ๆและความเกิดขึ้นแห่งมรณะ คือ ความตาย
ปริจเฉทที่ ๖ รูปสังคหวิภาคเป็นเรื่องของรูปซึ่งรวบรวมโดยอาการต่าง ๆ
ปริจเฉทที่ ๗ สมุจจยสังคหวิภาคคือ การรวบรวมวัตถุธรรม ได้แก่ จิต เจตสิก รูป เป็นอกุศลสังคหะหมวดหนึ่ง มิสกสังคหะ คือ ผสมกันหรือโพธิปักขิยสังคหะ สัพพสังคหะ
นี่ก็เป็นการแสดงประเภทของธรรมนั้น ๆ
ปริจเฉทที่ ๘ ปัจจยสังคหวิภาคคือ การแสดงสภาพความเป็นปัจจัยของธรรมทั้งหมด
ปริเฉทที่ ๙กัมมัฏฐานสังคหวิภาค เป็นการแสดงสมถะและวิปัสสนา