โทสะ กับ สหชาตาธิปติปัจจัย
ถามอีกครั้งหนึ่ง โทสเจตสิก (อย่าลืมนะคะ ต้องฟังโดยละเอียด)
โทสเจตสิกเป็นสหชาตาธิปติปัจจัยได้ไหม โทสเจตสิกเป็นสหชาตธิปติปัจจัยไม่ได้
โทสมูลจิตเป็นสหชาตาธิปติปัจจัยได้ไหม ได้ เพราะเหตุว่าเป็นชวนจิตที่ประกอบด้วยเหตุ ๒ นี้
นี่ค่ะเพียงจิต และเจตสิก ก็จะต้องเห็นความต่างกัน
โทสมูลจิตเป็นอารัมมณาธิปติปัจจัยได้ไหม ?ไม่ได้
โทสเจตสิกเป็นอารัมมณาธิปติปัจจัยได้ไหม ไม่ได้
โลภเจตสิกเป็นอารัมมณาธิปติปัจจัยได้ไหม ? ได้
โลภมูลจิตเป็นอารัมมณาธิปติปัจจัยได้ไหม ได้
เพราะฉะนั้นการศึกษาอภิธรรมเป็นเรื่องที่ละเอียดเพราะเหตุว่า “อภิ” หมายความว่าละเอียด ยิ่ง ไม่ว่าจะเป็น “อภิวินัย” หรือ “อภิธรรม” ก็เป็นธรรมส่วนที่ละเอียดจริงๆ เข้าใจด้วย คือ ฟังบ่อย ๆ ทวนไปทวนมา ใจเย็น ๆให้ค่อย ๆ รู้ลักษณะของสภาพธรรม ซึ่งมีเป็นปกติในชีวิตประจำวัน
ถ้ามิฉะนั้นแล้วก็เป็นเรื่องซึ่งยากแก่การที่จะรู้แจ้งลักษณะของสภาพธรรม แล้วไม่ยึดถือ ว่าเป็นตัวตน เพราะเหตุว่าสติอาจจะระลึกที่แข็ง ได้ยินได้ฟังบ่อย ๆ ที่จะรู้ว่าลักษณะที่แข็งเป็นสภาพธรรมซึ่งไม่รู้อะไรเป็นรูป และลักษณะของสภาพที่กำลังรู้แข็ง ก็กำลังรู้ในแข็งที่กำลังปรากฏ ก็เป็นสิ่งซึ่งมีจริง เป็นนามธรรม แต่ก็ยังไม่ได้ละการยึดถือทั้งแข็งและรู้แข็งว่า ไม่ใช่ตัวตน จนกว่าการสะสม การปรุงแต่ง ด้วยการเป็นพหูสูต การเป็นผู้ฟังจนกระทั่งค่อย ๆ สะสมสืบต่อไป จนกว่าจะปรุงแต่งให้ปัญญาคมกล้าที่จะดับกิเลส ไม่ยึดถือสภาพธรรมว่า เป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นตัวตนได้จริง ๆ