มหาภูตรูป ๔ เป็นสหชาตปัจจัย


    เพราะฉะนั้นถ้าทบทวนเรื่องปัจจัยและปัจจยุปบันเป็นภาษาบาลี

    ในมหาภูตรูป ๔ นั่นเอง ปฐวีธาตุเป็นปัจจัย เตโชธาตุ อาโปธาตุ วาโยธาตุเป็นปัจจยุปบัน

    ถ้าเตโชธาตุ คือ ธาตุไฟเป็นปัจจัย ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ วาโยธาตุเป็นปัจจยุปบัน เพราะว่าปัจจัยเป็นเหตุ ปัจจยุปบันนเป็นผล คือ ธรรมซึ่งเกิดเพราะเหตุนั้น เพราะฉะนั้นก็ใช้ได้ทั้งภาษาไทย และภาษาบาลี เมื่อเข้าใจคำว่าปัจจัย สภาพธรรมซึ่งทำให้สภาพธรรมอื่นเกิดขึ้น สภาพธรรมใดก็ตามซึ่งเกิดขึ้นเพราะสภาพธรรมนั้น เป็นปัจจยุปบัน เพราะฉะนั้นปัจจัยก็ต้องคู่กับปัจจยุปบัน

    นี่ก็เป็นสหชาตปัจจัยประการหนึ่ง คือ มหาภูตรูป ๔เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๔

    โดยยกมหาภูตรูป ๑ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๓หรือยกมหาภูตรูป ๒ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๒ หรือยกมหาภูตรูป ๓ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๑ ก็ได้ ไม่ว่าจะกล่าวโดยนัยใด ๆก็ให้ทราบว่า มหาภูตรูปทั้ง ๔เกิดพร้อมกันจึงเป็นสหชาตปัจจัย

    ที่ตัวนี้เอง ในขณะนี้ ไม่ใช่ที่อื่น และรวมทั้งมหาภูตรูปภายนอกด้วย ไม่ใช่แต่เฉพาะที่ตัวเท่านั้น ไม่ว่าที่ใดก็ตามซึ่งปรากฏลักษณะแข็ง เป็นลักษณะของปฐวีธาตุเกิดขึ้นปรากฏ ให้ทราบว่า ในขณะนั้นต้องมีธาตุไฟ ธาตุน้ำ ธาตุลมเกิดพร้อมกัน ไม่ว่าจะเป็นรูปภายในหรือรูปภายนอก

    มีข้อสงสัยไหม สำหรับประการที่ ๒คือ นอกจากประการที่ ๑ คือจิตและเจตสิกเป็นสหชาตปัจจัยซึ่งกันและกัน

    ประการที่ ๒คือมหาภูตรูป ๔ เป็นสหชาตปัจจัยซึ่งกันและกัน


    หมายเลข 3920
    28 ส.ค. 2558