วัณณกสิณในกสิณ ๑๐
สำหรับเรื่องของกสิณ ๑๐ ก็มีปฐวีกสิณ เตโชกสิณ อาโปกสิณ วาโยกสิณ ถ้ารู้จุดประสงค์ และความมุ่งหมายของการใช้กสิณเป็นอารมณ์ที่จะให้สงบ ก็จะย่อมเข้าใจตลอดไปถึงกสิณอื่นด้วย คือ วัณณกสิณ ได้แก่ สีต่างๆ สีแดง สีขาว สีเหลือง สีนิล คะ สิ่งที่ปรากฏทางตา สีที่เป็นใหญ่ มีสีแดง สีเหลือง สีนิล สีขาว ใช่ไหมคะ ใส่เสื้อสีอะไรคะ สีขาว หรือสีแดง หรือสีเขียว หรือสีเหลือง เพราะฉะนั้น การติด นี่คะ ยินดีพอใจในสีที่ปรากฏโดยลืมว่าเป็นเพียงสี ที่ปรากฏทางตา เท่านั้นเอง เพราะฉะนั้น ถ้ารู้การติดจริงๆ ในสิ่งที่ปรากฏทางตาว่าติดสี การที่จะใช้สี ที่เป็นสีล้วน ซึ่งจะไม่ให้น้อมไปสู่ การตรึกนึกถึง เรื่องราวของสีว่าเป็นสีคน สีวัตถุ สิ่งต่างๆ ที่น่าปรารถนา น่าพอใจ เพราะว่าโดยลักษณะของสภาพที่ปรากฏเป็นแต่เพียงเป็นสีเท่านั้นเอง ซึ่งเป็นสีต่างๆ สีเหลืองบ้าง สีเขียวบ้าง สีแดงบ้าง สีขาวบ้าง เท่านั้นเองจริงๆ นี่ไม่ใช่โดยนัยของวิปัสสนา โดยนัยของสมถะ ซึ่งเป็นบัญญัติ ไม่ใช่รู้ว่า แท้ที่จริงแล้ว ความหมายที่แท้จริงของสภาพธรรม ที่ปรากฏทางตานั้น ไม่ใช่การที่จะไปจดจำเป็นสีต่างๆ แต่เป็นการที่รู้ว่า นี่คือสภาพธรรม ที่มีจริง ที่กำลังปรากฏ เพราะฉะนั้น แม้แต่อรรถของคำว่า สภาพธรรมที่ปรากฏทางตา ฟังเผินๆ ดูเหมือนจะไม่น่าสงสัยเลย เข้าใจแล้ว ขณะนี้ทุกอย่างกำลังปรากฏทางตา แต่พร้อมกันนั้น ก็จะมีการเห็น เป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ด้วย ไม่ใช่เป็นปัญญาที่รู้ชัดจริงๆ ว่า ไม่มีอะไรเลย ในสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ทางตาเพราะเหตุว่าเวลาท่ลืมตา นี่คะ ดูเสมือนว่ามีหลายสั่งหลายอย่างปรากฏ แต่พอหลับตาไปแล้ว ไม่มีอะไรเหลือเลย ถ้าจะมีการตรึกนึกถึงสิ่ง ๑ สิ่งใด ในใจ โดยขณะนั้นหลับตา ก็จะไม่มีสิ่งอื่นปรากฏพร้อมเหมือนขณะที่กำลังลืมตาอย่างนี้ ใช่ไหมคะ กำลังลืมตา พร้อมหมดทุกสิ่ง โต๊ะ เก้าอี้ พื้น ไฟ พัดลม ทุกสิ่งทุกอย่าง พร้อมหมด จะนึกหรือไม่นึกก็ตาม แต่ว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่เคยนึกเป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ ปรากฏพร้อมกัน ขณะที่ลืมตา แต่พอหลับตาแล้ว จะนึกก็ต้องนึกถึงสัณฐาน ๑ สัณฐานใด รูปร่าง ๑ รูปร่างใด เพียงรูปร่าง ๑ สัญฐาน ๑ เท่านั้น อย่างอื่นทำไมไม่ปรากฏพร้อมกันรวมกัน เหมือนขณะลืมตา เพราะฉะนั้นความหมายของ สิ่งที่ปรากฏทางตา หรือวัณณ หรือรูปารมณ์นั้น ต้องเข้าใจ ว่าต่างกับขณะที่หลับตา เท่านั้นเอง และไม่ใช่การตรึกนึกถึงรูปร่างสัณฐานด้วย เพราะเหตุว่าการตรึกนึกถึง แม้หลับตา ก็นึกได้แต่วัณณ ทั้งหลายไม่ปรากฏ พร้มอกันทั้งหมด เหมือนในขณะที่ลืมตา นั่นเป็นการที่จะรู้โดยนัยของวิปัสสนา คือเห็นจริงว่าสิ่งที่ปรากฏทางตา เป็นแต่เพียงสิ่งที่ปรากฏทางตา ไม่ใช่การนึกถึงสีเป็นสีเหลือง สีแดง สีขาว สีนิล หรือสีเขียว แต่ว่าสมถภาวนา รู้ว่าจิตติดใน สีต่างๆ จึงอาศัยสี ซึ่งจะไม่น้อมนำให้ ตรึกนึกถึงรูปร่างสัณฐานซึ่งเคย พอใจ ว่าเป็นคน เป็นวัตถุ เป็นสิ่งต่างๆ เป็นดอกไม้ เป็นรูปร่างของบุคคลหรือว่าวัตถุ เพราะว่า เตือนให้ระลึกแต่เพียงว่าเป็นเพียงสีเท่านั้นโดยอาศัยสี เป็นบัญญัติให้นึกถึง ให้สงบ เพราะฉะนั้น สำหรับกสิณอีก ๔ ก็คือวัณณกสิณ ได้แก่ สีแดง สีเหลือง สีขาว สีเขียว หรือสีนิล นั่นเป็น ๘ กสิณแล้ว อีก ๒ ก็คือ อาโลกสิณ แสงสว่าง ๑ และอากาศกสิณอีก ๑ กสิณ ๑๐ ได้แก่ ปฐวี อาโป เตโช วาโย เป็น มหาภูตรูป ๔ แต่ว่าต้องเกิด เพราะสัญญา การน้อมระลึกถึงกสิณต่างๆ นั้น โดยอาศัยรูปกสิณ ไม่ใช่การรู้ปรมัตถธรรม ของดิน น้ำ ไฟ ลม โดยนัยของวิปัสสนา และสำหรับวัณณกสิณ ๔ ก็คือ สีเหลือง สีขาว สีแดง สีเขียว นอกจากนั้นก็มี อาโลกสิณแสงสว่าง ๑ และอากาศกสิณ คือการนึกถึงอากาศอีก ๑ ถ้านึกถึงอากาศแล้วก็จะเกิดโลภะ โทสะ ไหมคะ เป็นแต่เพียงอากาศ ความว่างเปล่า ไม่มีอะไร เพราะฉะนั้น ถ้ามนสิการะ โดยถูกต้อง ในความเป็นอากาศ ซึ่งมีอยู่แทรกอยู่ในวัตถุ ทั้งหลาย ในตัวก็มีอากาศอยู่มากมาย แล้วก็มีปัจจัยที่ทำให้ ธาตุทั้งหลายเกิดขึ้น คือ ปฐวี เตโช อาโป วาโย พร้อมทั้งรูปอื่นๆ เกิด จาก ความว่างเปล่านี่เอง เพราะฉะนั้น โดยแท้จริงแล้ว เมื่อรูปทั้งหลายเหล่านั้น ดับไป ก็หมดไม่มีอะไรนอกจากความว่างเปล่า เพราะฉะนั้น จะมาติดในความว่างเปล่า กระนั้นหรือ ถ้าจิตน้อมระลึกถึงอากาศคือความว่างเปล่าแล้วสงบ นั่นก็เป็น อากาศกสิณ แต่การที่จะให้จิตสงบ นี่คะ แสนยาก