สัมปยุตตปัจจัย


    อ.สมพร จิต และเจตสิกไม่ห่างกัน ตามนัยของพระอรรถกถาจารย์ ท่านกล่าวว่า เจตสิกนั้นมีสัมปโยคกับจิต ๔ อย่าง คือ ๑. เกิดพร้อมกัน ๒. ดับพร้อมกัน ๓. มีอารมณ์เดียวกัน ๔. มีที่อาศัยเกิดอย่างเดียวกัน ทั้ง ๔ อย่าง ท่านเรียกว่าสัมปโยค

    ผู้ฟัง ที่เราใช้คำว่า เจตสิกเป็นสัมปยุตตปัจจัยกับจิต จะใช้ตรงกันข้ามได้ไหม ว่าจิตเป็นสัมปยุตตปัจจัยกับเจตสิก ต้องการใช้คำให้ถูก

    ท่านอาจารย์ ทั้งหมดขึ้นกับเหตุผล ธรรมเป็นเรื่องคิด ถ้าเรามีเหตุผล เช่น ที่กล่าวว่าจิตกับเจตสิกเกิดพร้อมกัน และดับพร้อมกัน รู้อารมณ์เดียวกัน ไม่แยกกันเลย และเวลาที่กล่าวว่าจิตเป็นปัจจัยแก่เจตสิก โดยสัมปยุตตปัจจัย หมายความว่าเมื่อเกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน นามธรรมคือจิต และเจตสิกเท่านั้น ที่เป็นสัมปยุตตปัจจัย เพราะฉะนั้นจะกล่าวว่าเจตสิกเป็นปัจจัยแก่จิตโดยสัมปยุตตปัจจัยได้ไหม ถ้าเราเข้าใจ และต้องถูก ผิดไม่ได้เลย เพราะฉะนั้นได้หรือไม่ได้

    ผู้ฟัง ได้

    ท่านอาจารย์ ถูกต้อง เหตุผลต้องเป็นเหตุผล ความจริงต้องเป็นความจริง

    ผู้ฟัง เพราะส่วนใหญ่จะใช้ความอย่างที่พูดกัน ก็เลยไม่แน่ใจว่าตรงกันข้ามจะใช้ได้หรือเปล่า

    ท่านอาจารย์ แสดงถึง อินทรียปัจจัยอีกอย่างหนึ่งเท่านั้นเอง แต่ว่าจริงๆ แล้วขณะนี้เรากำลังพูดถึงอีกปัจจัยหนึ่งคือ สัมปยุตตปัจจัย


    หมายเลข 4076
    13 พ.ย. 2567