สัญญาเจตสิกเกิดกับจิตทุกขณะ


    ผู้ฟัง ฟังธรรมที่อาจารย์บรรยาย พอฟังแล้วก็ลืมไปเลย ฟังเสร็จก็ลืมเลย จำไม่ได้ แต่ก็ตั้งใจฟังค่ะ ก็เข้าใจว่าเป็นตัวสัญญา แต่ได้อาจารย์ทางวิทยุบอกว่า ถ้าเราฟังอะไรแล้วจำไม่ได้ แปลว่าสติไม่เกิด ขอเลยสงสัยว่า เป็นตัวสติหรือเป็นตัวสัญญาที่ฟังแล้วไม่จำ

    ท่านอาจารย์ สัญญาดับไหมคะ

    ผู้ฟัง ดับค่ะ

    ท่านอาจารย์ เวลาเห็นมีสัญญาเจตสิกเกิดร่วมกับจิตเห็นหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ก็มีค่ะ

    ท่านอาจารย์ ถ้าไม่มี ก็จะจำไม่ได้เลย เพราะฉะนั้นสัญญาเกิดกับจิตทุกขณะ แล้วก็ดับไปด้วย เพราะฉะนั้นก็แล้วแต่ว่าขณะนี้สัญญาอะไรเกิด

    ผู้ฟัง หมายความว่า ฟังแล้วพอจบแล้วก็ลืมไปเลย

    ท่านอาจารย์ ก็จิตขณะต่อไป ก็ไม่ใช่ขณะที่ฟัง เพราะฉะนั้นก็แล้วแต่ว่าขณะนั้นจิตเกิดขึ้นมีอะไรเป็นอารมณ์ สัญญาก็จำสิ่งใหม่ สัญญาต้องเกิดกับจิตทุกขณะ ทุกประเภท

    ผู้ฟัง แล้วที่จำไม่ได้ เป็นตัวสัญญา ที่เราจะพูดว่าสัญญาไม่จำ หรือเราจะพูดว่าสติไม่เกิดละคะ

    ท่านอาจารย์ สัญญาต้องจำทุกขณะ

    ผู้ฟัง ถ้าจำไม่ได้ ก็หมายความว่าสติไม่เกิด

    ท่านอาจารย์ ขณะนั้นสัญญาจำด้วย ที่จำไม่ได้นั้นมีสัญญาด้วย เพราะว่าเป็นจิต แล้วก็มีวิตักกะ และมีเจตสิกอีกหลายประเภท แล้วแต่ว่าเป็นหน้าที่ของเจตสิกใดที่จะทำกิจนั้น

    ผู้ฟัง แล้วจะใช้คำว่า สัญญาวิปลาส จะถูกหรือเปล่าคะ

    ท่านอาจารย์ สัญญาวิปลาสขณะที่อกุศลจิตเกิด


    หมายเลข 4082
    20 ก.ค. 2558