โคจรสัมปชัญญะ และ อสัมโมหสัมปชัญญะ
ท่านอาจารย์ ขณะใดที่มีการรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ อารมณ์นั้นเป็นโคจรสัมปชัญญะ และความไม่หลง คือ การรู้ลักษณะของสภาพธรรมนั้น ค่อยๆ เข้าใจขึ้น ก็เป็นอสัมโมหสัมปชัญญะ ไม่ต้องไปคิดอะไรอีกเลย
อ.ประเชิญ ตัวอย่างในอรรถกถา ท่านยกตัวอย่างชีวิตของภิกษุรูปหนึ่งที่ดำเนินอย่างนั้น แต่ที่ท่านอาจารย์ยกตัวอย่างเมื่อสักครู่นี้ ก็เป็นชีวิตของพวกเราเป็นปัจจุบันที่เห็นประโยชน์ของการฟังธรรม หรือสถานที่มีแดดแล้วก็หลบ คือ ดูแล้วก็เข้าใจง่าย แต่ในตัวอย่างที่ท่านยกมา เป็นชีวิตของภิกษุ แต่ไม่ได้หมายความว่า อย่างอื่นไม่ใช่ ใช่ไหมครับ
เพราะฉะนั้น สัมปชัญญะ คือ ปัญญาที่รู้ประโยชน์ตรงนั้น เหตุการณ์ก็คงแตกต่างกัน แต่ละท่านไม่เหมือนกัน แต่ถ้าจะไปยึดพยัญชนะว่าจะต้องเป็นแบบนั้นตามอรรถกถา อันนั้นก็คือไม่ใช่แล้ว ใช่ไหมครับ
ท่านอาจารย์ ถ้าเป็นลักษณะนั้น คฤหัสถ์ก็เจริญสติปัฏฐานไม่ได้
อ.ประเชิญ คือคฤหัสถ์ไม่มีโอกาสมีสัมปชัญญะทั้ง ๔ แต่สัมปชัญญะที่กล่าวนี้เป็นไปได้ทุกคน