เมตตาในสมถะ กับ ผู้เจริญสติปัฏฐาน


    ผู้ฟัง อันนี้ผมเคย เมื่อก่อนนี้ก็ยังติดในรส เป็นต้นว่า เราเจอะปลาตัว ๑ เห็นตัวปลาตัวมันใหญ่ เนิ้อมันคงอร่อย ก็อยาก ถึงแม้จะไม่ได้ทำทาน รักษาศีล แตว่าจิตบางทีมันก็นึกอยากจะกิน แต่เดี๋ยวนี้ ถ้าหากเรา เรา พอเราเห็นปั๊บ เกิดความเมตตา นี่มันเป็นสัตว์โลกร่วมกัน มันมีกรรมของมัน จะต้องเกิดมาเป็นปลาอย่างนี้ เรามีความเมตตา ความคิดที่อยากจะกิน คิดอยากจะฆ่า อะไรอย่างนี้มันก็ไม่มี อย่างนี้จัดว่าเมตตา ใช่ไหมครับ

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ขณะนั้นสงบ ไม่ใช่ขั้นทาน ไม่ใช่นั้นศีล แต่ว่าเป็นขั้นความสงบของจิต เพราะระลึกด้วยเมตตา เพราะฉะนั้น ในขณะนั้นไม่ใช่การที่จะมีการต้องการที่จะให้เกิดอะไรที่พิเศษ แปลกประหลาดศจากปกติ แล้วก็ไม่รู้ ใช่ไหมคะ แต่เป็นความรู้ชัดพร้อมสติสัมปชัญญะ สมบูรณ์

    ผู้ฟัง อันนี้จัดอยู่ใน สมถะ ใช่ไหมครับ

    ท่านอาจารย์ สมถะ คะ แต่ว่ายากที่จะให้ถึง อุปจารสมาธิ หรืออัปปนาสมาธิ

    ผู้ฟัง อย่างนั้นยังไม่ต้องถึง เพราะว่า เพียงแต่ว่าให้มันมีแนวทางเพียงนิดๆ หน่อยๆ เพื่อจะได้เป็นหนทางไว้ว่า เผื่อไปชาติต่อๆ ไปอีกสักแสนกัปป หรือร้อยกัปป ก็ยังดีกว่าจะต้องไปวนเวียนอยู่ในนี้ ขอเพียงแต่ว่าให้ถูกทางเท่านั้นเอง

    ท่านอาจารย์ คะ ที่ท่านผู้ฟัง ไม่ได้มีความต้องการที่จะให้ ความสงบมั่นคงถึงอุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ ก็เป็นการถูกต้อง เพราะยากที่บุคคลจะถึงได้ ถ้าศึกษาโดยตลอด จะเห็นว่าากว่าจิตจะสงบเป็นอุปจารณ์สมาธิได้ อัปปนาสมาธิได้ นี่คะแสนยาก ในร้อยคน พันคน หมื่นคน ที่จะเกิด อุคหนิมิตขึ้น ซึ่งเป็นเครื่องหมายของความสงบของจิต ซึ่งพร้อมประกอบด้วยสมาธิที่มั่นคงในขณะนั้นก็ยาก แล้วกว่าที่จะให้ถึงปฏิภาคนิมิต ซึ่งใกล้ที่จะถึงฌานจิต ก็แสนที่จะยากอีก ซึ่งในขณะเหล่านั้น ถ้าเป็นผู้ที่มีปกติอบรมเจริญสติปัฏฐาน แล้วละก็ สามารถที่จะรู้ชัดในลักษณะของนามธรรม และรูปธรรม ยิ่งขึ้น แทนที่จะมีความปรารถนา เพียงให้จิตสงบ เพราะเป็นผู้ที่ไม่รู้หนทาง ที่จะเจริญสติปัฏฐาน แต่ถ้าเป็นผู้ที่เจริญสติปัฏฐาน แล้ว ไม่ว่าจิตขณะนั้นจะเป็นกุศล หรืออกุศลอย่างไร ก็ไม่ยึดถือว่าเป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นตัวตน ทั้งสิ้น เพราะฉะนั้น ในครั้งที่พระผู้มีพระภาค ยังไม่ปรินิพพาน พระอริยสาวกซึ่งบรรลุคุณธรรมเป็นพระอริยเจ้าโดยไม่ได้บรรลุถึงฌานจิต จึงมีมากกว่าพระอริยสาวกซึ่งบรรลุฌานด้วย เพราะฉะนั้น ยิ่งในยุคนี้ สมัยนี้ ท่านผู้ฟังที่ศึกษาเรื่องของฌานจิตจริงๆ จะเห็นได้ว่าเป็นการบรรลุที่ยากมาก เพราะฉะนั้น จึงควรอบรมเจริญปัญญา ที่จะรู้แจ้งอริยสัจธรรมเป็นพระอริยเจ้าโดยไม่คำนึงถึงว่าต้องให้บรรลุฌานจิต


    หมายเลข 4450
    3 ส.ค. 2567