สมถะ - สมาธิ - วิปัสสนาภาวนา


    ท่านอาจารย์ ยังมีท่านผู้ฟังที่ต้องการที่จะพูดถึงเรื่องของสมถภาวนาอีกไหมคะ เชิญคะ

    ผู้ฟัง ฟังๆ แล้ว ที่อาจารย์พูด นี่ก็เข้าใจ ครับ แต่ทีนี้ ผม จะว่าวุ่นไปสักหน่อยก็ ตามใจเถอะครับ แต่ผมคิดว่าเพื่อประโยชน์ ของคนอื่น อยากให้อาจารย์อธิบายว่า สมถะ อย่าง ๑ สมาธิ อย่าง ๑ แล้วก็เจริญสติปัฏฐาน อย่าง ๑ ผมนะ จิตใจของผมชอบเจริญสติปัฏฐาน คือว่าเพื่อฝึกตนให้รู้ว่า ไม่ใช่ตัวตนเราเขา สัตว์ บุคคล เป็นสิ่งที่อย่างอาจารย์ ว่า เมื่อตระกี้นี้ นะ เห็นก็เป็นแต่เห็น ได้ยินก็เพียงได้ยิน ผม หรืออย่างนี้ครับ แต่ทีนี้ผมฟังๆ ดู บางท่านที่มาฟังใหม่ๆ อาจจะเขวไป เพราะฉะนั้น อยาก ขอความกรุณา ต้องขอโทษ ให้อาจารย์เน้นว่า สมาธิ อย่าง ๑สมถะ อย่าง ๑ เจริญสติปัฏฐาน นี่อย่าง ๑ ขอบพระคุณครับ

    ท่านอาจารย์ สมาธิ เป็นความตั้งมั่นคง ที่อารมณ์ ๑ อารมณ์ใด ได้แก่ เอกัคคตาเจตสิกซึ่งเกิดกับจิตทุกดวง ทำให้จิต รู้ในอารมณ์ ๑ ทีละ ๑ ขณะ เท่านั้น ทางตาที่กำลังเห็น จะได้ยินด้วยไม่ได้ เอกัคคตาเจตสิกตั้งมั่นคงในอารมณ์ที่ปรากกในขณะที่เห็น จึงเห็นแต่เพียงสิ่งที่ปรากฏทางตาเท่านั้น นี่เป็นลักษณะของสมาธิ แต่ว่าโดยทั่วไป ในชีวิตประจำวัน ลักษณะของสมาธิซึ่งเป็น เอกัคคตาเจตสิกไม่ปรากฏ เพราะว่าจิต เกิดดับอย่างรวดเร็ว ต่อเมื่อใด จิตมีความตั้งมั่นคงในอารมณ์เดียว นานๆ จึงจะปรากฏลักษณะของสมาธิ เวลาที่มีความพอใจในสิ่ง ๑ สิ่งใด จดจ้องเฉพาะในสิ่งนั้นไม่สนใจในสิ่งอื่นเลย เรียกก็ไม่ได้ยิน พูดด้วยก็ไม่ได้ยิน ในขณะนั้นก็พอจะรู้ได้ว่าคนนั้นกำลังใจจดใจจ่อ จิตตั้งมั่น สนใจอยู่ในอารมณ์นั้น อารมณ์เดียวเท่านั้น นั่นก็เป็นลักษณะของสมาธิ หรือ เอกัคคตาเจตสิกซึ่งปรากฏอาการของสภาพที่เป็นสมาธิ เพราะฉะนั้น สมาธินอกจากจะเกิดกับจิตทุกดวง แต่ว่าบางครั้งบางขณะไม่ปรากฏลักษณะสภาพของสมาธิ จนกว่าจิตจะตั้งมั่น อยู่ที่อารมณ์เดียวนานๆ ด้วยอกุศลจิตก็ได้ เช่นด้วยความพอใจ เพลิดเพลิน จดจ้องในอารมณ์ที่กำลังได้รับอยู่ จะเป็นการทำสิ่ง ๑ สิ่งใดก็ตาม ถ้าตั้งใจจดจ้องอยู่ที่อารมณ์นั้น ก็จะเกิดปราฏลักษณะของสมาธิ หรือบางคนโกรธจัดๆ ใครจะพูดจะเตือนจะว่าอย่างไร ก็ไม่ได้ยินหมด ในขณะนั้น ความโกรธที่มีกำลัง ลักษณะของสมาธิก็ปรากฏ คิดเรื่องอื่นไม่ได้เลย ผูกโกรธ เดี๋ยวก็คิดเรื่องโกรธๆ ๆ อยู่ตลอดเวลา นั่นก็เป็นลักษณะของมิจฉาสมาธิ ซึ่งเกิดกับอกุศลจิต ในขณะที่ให้ทาน เอกัคคตาเจตสิก ก็ต้องเกิดร่วมกับจิตในขณะนั้นด้วย ทุกขณะไป แต่ว่าชั่วครู้ชั่วขณะที่ให้ เล็กน้อยมาก ลักษณะอาการของสมาธิก็ไม่ปรากฏอีกเหมือนกัน หรือในขณะที่วิรัติทุจริต ลักษณะอาการของสมาธิก็ไม่ปรากฏ เพราะฉะนั้น ส่วนใหญ่ที่ใชัคำว่าสมาธิ จะหมายความถึงเมื่อลักษณะของเอกัคคตาเจตสิกปรากฏ อาการของความตั้งมั่นคงที่อารมณ์ ๑ อารมณ์ใด จึงชื่อว่าสมาธิ แต่แม้กระนั้น คำว่าสมาธิ นี่คะ ก็ยังคงเป็นคำกลาง เช่นเดียวกับคำว่าทิฏฐิ เป็นความเห็นถูกก็ได้ เป็นความเห็นผิดก็ได้ ถ้าให้ชัดหรือให้ตรง ความเห็นผิด ก็คือมิจฉาทิฏฐิ ความเห็นถูก ก็คือสัมมาทิฏฐิ ฉันใด ถ้าจะให้ชัดให้ตรง สมาธิซึ่งเป็นอกุศล ก็ควรที่จะกล่าวว่า มิจฉาสมาธิ แล้วสมาธิที่เป็นกุศลก็กล่าวว่า เป็น สัมมาสมาธิ แต่ว่าพระธรรมมีมาก เพราะฉะนั้น แล้วแต่ว่า จะอยู่ในหัวข้อใด ถ้าเป็นไปในเรื่องของกุศล แม้แต่ใช้คำว่าสมาธิเท่านั้นก็มุ่งหมายสัมมาสมาธิ ที่เป็นกุศล ซึ่งท่านผู้ฟัง ต้องเป็นผู้ที่ละเอียด ศึกษาด้วยความรอบครอบว่าขณะนี้กำลังศึกษา เรื่องของกุศล หรือ อกุศล ถ้าเป็นเรื่องของ อกุศลก็เป็นเรื่องของ มิจฉาสมาธิ เป็นอกุศลทานก็มี เป็นฝ่ายอกุศลทั้งสิ้น ถ้าเป็นฝ่ายกุศล สมาธิซึ่งไม่ได้กล่าวถึง ว่าเป็นมิจฉาหรือสัมมา ก็ต้องเป็นสัมมา เพราะเหตุว่า เป็นทางฝ่ายกุศล เพราะฉะนั้น ถ้าเห็นคำว่าสมาธิกลางๆ ในพระไตรปิฎก ก็ควรที่จะได้ทราบว่าในขณะนั้น พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงธรรมฝ่ายอกุศล หรือ ฝ่ายกุศล หรือแม้ในฝ่ายกุศล ถ้าเห็นคำกลางๆ ว่า สมาธิ ก็ควรที่จะได้เข้าใจว่าพระผู้มีพระภาค ทรงแสดงธรรม เรื่อง สมถภาวนา หรือวิปัสสนา เพราะเหตุว่าเป็น สัมมาสมาธิทั้ง สมถภาวนา และวิปัสสนาภาวนา แต่ว่าสัมมาสมาธิของ สมถภาวนา นั้นไม่ใช่สัมมาสมาธิในมรรคมีองค์ ๘ แต่ว่าสัมมาสมาธิ ในวิปัสสนานั้นเป็น มรรคมีองค์ ๘ เพราะฉะนั้น การศึกษาธรรมต้องเป็นเรื่องละเอียดจริงๆ


    หมายเลข 4452
    3 ส.ค. 2567