สัมมาสมาธิในฌาน กับ ในมรรคมีองค์ ๘
ท่านอาจารย์ เชิญคะ
ผู้ฟัง พูดถึงเรื่องของสัมมาสมาธิ ถ้าพระพุทธเจ้า จะอธิบายสัมมาสมาธิ ในอินทรีย์ก็ดี ในโพชฌงค์ก็ดี ในมรรค ๘ ก็ดี ดูเหมือนพระพุทธองค์จะอธิบายเหมือนๆ กันหมด คืออธิบายตั้งแต่ปฐมฌาน จนกระทั้งถึง จตุตถฌาน ในสัมมาสมาธิ พระพุทธองค์มักจะอธิบายอย่างนี้ทุกครั้ง เพราะฉะนั้น สัมมาสมาธิมันก็ต้องเป็นฌานเท่านั้น สิครับ
ท่านอาจารย์ นี่ก็เป็นเรื่องละเอียดอีกเรื่อง ๑ ซึ่งพระผู้มีพระภาค ทรงแสดงพระธรรมโดยกว้างขวาง สำหรับผู้ที่ศึกษา จะเข้าใจให้ถูกต้อง ตามความเป็นจริง อย่าเข้าใจให้คลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง เพราะเหตุว่าสมถะ กับ วิปัสสนา แยกได้ไหมคะ ทานกับสติปัฏฐาน แยกได้ไหม ศีลกับสติปัฏฐาน แยกได้ไหม มีใครบ้างคะ ซึ่งเจริญสติปัฏฐาน เท่านั้นแล้วก็ไม่มีทาน ไม่มีศีล ไม่มี นะคะเพราะฉะนั้น ผู้ที่อบรมเจริญสติปัฏฐาน แล้ว ย่อมมีปัจจัยที่จะให้กุศลทุกประการเจริญขึ้น แม้แต่สมถะ หรือความสงบซึ่งไม่ เคยมีมาก่อน ไม่เคยรู้จักหน้าตาของความสงบเลย แต่เวลาที่อบรมเจริญสติปัฏฐาน แล้ว บางขณะมีปัจจัยของกุศลขั้นทานเกิดขึ้น ขณะนั้นก็เป็น ทานกุศล แล้วสติปัฏฐาน อาจจะระลึกรู้ลักษณะสภาพของธรรมในขณะที่กำลังบำเพ็ญทานกุศล รู้ว่า ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ก็ได้ แต่ว่าทานในชีวิต ไม่ใช่มีครั้งเดียว มีหลายครั้ง บางครั้งสติก็กิดระลึกรู้ลักษณะของสภาพของจิตในขณะนั้น บางครั้งก็ไม่เกิด ก็เป็นแต่เพียงทานซึ่งไม่มีสติเกิดขึ้น ระลึกรู้ลักษณะสภาพของธรรมในขณะนั้น ว่า ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคลไม่ใช่ตัวตน ศีลก็โดยนัยเดียวกัน แล้วก็ผู้ที่อบรมเจริญสติปัฏฐาน มีความรู้ลักษณะของสภาพธรรมละเอียดขึ้น จิตเป็นอกุศล ปัญญารู้ตรงตามความเป็นจริงของอกุศลจิตในขณะนั้น ไม่เห็นอกุศลจิต เป็นกุศลจิต ด้วยเหตุนี้ในการอบรมเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ท่านพระอานนท์ก็ได้กล่าวถึงการรู้แจ้งอริยสัจธรรม ของบุคคลทั้งหลายว่า มีถึง ๔ อย่าง คือบางท่านเจริญสมถภาวนาก่อน บางท่านสมถเกิดก่อน วิปัสสนาเกิดภายหลัง แล้วบางท่านวิปัสสนาเกิดก่อน สมถะเกิดภายหลัง ซึ่งสมถะ ไม่ได้หมายความว่าจะต้องถึง อุปจารสมาธิ หรืออัปปนาสมาธิ เพียงแต่ว่าแทนที่อกุศลจิต จะเกิดบ่อยๆ มากๆ เหมือนเคย แม้ว่าไม่ใช่ทาน ไม่ใช่ศีล จิตก็ยังสงบด้วย ได้ ประกอบด้วยเมตตาบ้าง กรุณาบ้าง มุทิตาบ้าง อุเบกขาบ้าง หรือพุทธานุสติ ธัมมานุสติ สังฆานุสติ จาคานุสติ มรณสติ และอารมณ์อื่นๆ ของสมถภาวนา ของการที่จะให้จิตสงบในขณะนั้นก็เกิดได้ เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ว่าพระผู้มีพระภาค ทรงแสดง กุศลทุกประการว่าเป็นสิ่งทีควรเจริญ พระผู้มีพระภาค ไม่สามารถที่จะให้สติปัฏฐาน ของใคร เกิดเป็นสติปัฏฐาน อยู่ได้ตลอดเวลา แล้วแต่ว่าขณะใดเป็นปัจจัยของทานกุศล หรือศีล หรือสมถะ ทรงแสดงคุณของกุศลทุกประการไว้ ว่าเป็นสิ่งที่ควรเจริญ ควรอบรม ให้เป็นบารมี ที่จะได้ขัดเกลากิเลสให้เบาบาง จนกระทั่งสามารถที่จะมีปัจจัยให้ปัญญา เกิดขึ้น รู้ชัดในสภาพธรรม ที่ปรากฏ ดับความยึดถือสภาพธรรม นั้น เป็นตัวตน เป็นสัตว์ เป็นบุคคลได้ ด้วยเหตุนี้ สำหรับท่านที่เจริญสมถภาวนา มีความสงบของจิตมั่นคงด้วยสมาธิ ขณะนั้นก็เป็น สัมมาสมาธิของสมถะ แล้วถ้าเป็นผู้ที่มีปกติ อบรมเจริญสติปัฏฐาน ในขณะนั้น สัมมาสมาธินั้นก็เป็น มรรคมีองค์ ๘ เพราะสติเกิดขึ้น ระลึกรู้ลักษณะสภาพของความสงบ และความมั่นคงของสมาธิ ในขณะนั้นว่า ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน เพราะฉะนั้น พระธรรมที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดง เป็นเรื่องของกุศลแต่ละขั้น ซึ่งเกิดสลับกันตามเหตุ ตามปัจจัย ตามความเป็นจริงของแต่ละบุคคล เพราะฉะนั้น สมถภาวนาก็เป็นกุศลที่ควรเจริญ แต่ว่าไม่ใช่ว่าต้องไปเจริญที่อื่น แต่ว่าขณะนี้ จิตสงบไหม ไม่คอยถึงข้างหน้า เพราะเหตุว่า การอบรมเจริญกุศล ควรที่จะเจริญทันที เพราะฉะนั้น ถ้าในขณะนี้ จิตไม่สงบ แล้วก็มีปัญญาที่รู้เหตุที่จะให้สงบเกิดขึ้น ก็เป็นปัจจัยที่จะให้กุศลจิตเกิดในขณะนี้ โดยไม่ต้องรอคอย อย่าเข้าใจว่าต้องเป็นที่อื่น แล้วจิตถึงจะสงบได้ ขณะนี้คะ ถ้ามีปัจจัยที่จะให้สงบ จิตก็สงบได้ และควรที่จะอบรม ความสงบของจิต เพราะเหตุว่ายากเหลือเกิน ที่จะดับกิเลสได้เป็นสมุจเฉทโดยไม่เจริญกุศลทุกประการ เพราะว่าจะให้สติเกิดขึ้น ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ให้รู้ชัดว่า ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน นี่คะ ต้องค่อยๆ อบรมขึ้น ปัญญานั้นจึงจะเกิด แต่ว่าใครมุ่งหวังที่จะไปต้องการให้สติเกิดขึ้น แล้วก็ศึกษา ให้รู้ชัดทันที เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ต้องอาศัยการอบรมเจริญกุศลทุกประการ ประกอบด้วย