บ้านธัมมะ มี.ค. ๒๕๔๗ ตอนที่ 11 +++
สนทนาธรรม ที่บ้านธรรม และ
ภาควิชาชีววิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ระหว่างวันที่ ๘-๙-๑๐-๑๑-๑๒ มีนาคม ๒๕๔๗
ท่านอาจารย์ คนที่ได้ยินได้ฟังแล้วพูดจากความจำก็มี จนกว่าเขาจะรู้หนทางที่ทำให้สามารถ ที่จะประจักษ์ลักษณะนั้นถูกต้อง ก็แสดงว่าเขาไม่ได้เพียงแต่จำว่าอะไรเป็นอะไร แต่เขาสามารถที่จะมีความเข้าใจเพิ่มขึ้น รู้ว่าลักษณะที่เป็น นามธรรม รูปธรรม ต่างกันอย่างไร แล้วหนทางที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมนามธรรม และ รูปธรรม คืออบรมเจริญอย่างไร แต่ถ้าหนทางผิด ก็แปลว่าเขาไม่ได้รู้จริงๆ เขาเพียงจำ
ผู้ฟัง ในกรณีที่เขาแสดงๆ ให้เราทราบ คำพูดที่เขาแสดงออกมา เช่น ยกตัวอย่าง ทางตา สำหรับผู้ที่พูดด้วยความจำ กับผู้ที่ประจักษ์ มันจะมีคำพูดที่ต่างกันอย่างไรครับ
ท่านอาจารย์ คำพูดต่างกันไม่ได้เลย
ผู้ฟัง ไม่ต่าง
ท่านอาจารย์ แต่ความรู้ต่างกัน
ผู้ฟัง ความรู้ต่างกัน
ท่านอาจารย์ แล้วหนทางที่จะอบรมเจริญความรู้ ถ้าถูกก็คือถูก ถ้าผิด เขาก็จะรู้จริงๆ ไม่ได้เพราะหนทางผิด
ผู้ฟัง แต่ว่าเราไม่มีสิทธิที่จะไปรู้เลย ว่าเขาพูดด้วยความจำ หรือพูดด้วยปัญญา หรือการประจักษ์ครับผม
ท่านอาจารย์ ถ้าเราเข้าใจถูก แล้วก็รู้หนทางที่ถูก เราก็สามารถที่จะรู้ได้ว่า คำพูดของเขามาจากเพียงการจำ การคิด การไตร่ตรอง หรือว่าเขาได้อบรมเจริญปัญญา ที่จะรู้อย่างนั้น ถ้ามีคนบอกว่าแข็ง รู้ ทำไม มันก็ธรรมดา คนนั้นพูดถูก หรือพูดผิด
ผู้ฟัง ผิดครับ
ท่านอาจารย์ คะ เราก็รู้แล้ว ใช่ไหมคะ ว่าผู้นี้ไม่ได้เข้าใจเลย ว่าธรรมคืออะไร ถ้าเข้าใจ ก็ต้องว่าแข็ง เป็นธรรม แล้วคำพูดอันนี้จะไปขัดกับ ข้อความที่เขาอาจจะพูดโดยนัยของขันธ์ โดยนัยของอายตนะ โดยนัยของธาตุ เพราะว่าแข็ง ก็เป็นธาตุ เป็นโผฏฐัพพะธาตุ เป็นอายตนะด้วย เป็นโผฏฐัพพายตนะ ขณะที่กำลังอยู่ตรงนี้ จิตรู้ตรงนี้ นั้นคือ อายตนะ เพราะฉะนั้น ถ้าเขาไม่ได้รู้หนทางจริงๆ เราก็รู้ว่าคำพูดนั้น พูดจากการจำ แต่จริงๆ แล้วเราก็ไม่มีหน้าที่ที่จะพยายาม จะไปรู้ว่าใครรู้อะไร เพียงแต่ว่าสิ่งที่เราได้ยินได้ฟัง เราต้องไตร่ตรอง จนกระทั่งเป็นความรู้ของเรา นั่นคือประโยชน์ เพราะบางคนอาจจะบอกว่าทำไมไม่พูดในพระไตรปิฎก คัมภีร์เล่มนั้น เล่มนี้ ทำไม ไม่พูดอริยสัจ ปฏิจสมุปปบาท ก็เดี๋ยวนี้เองที่กำลังเห็น เข้าใจ หรือยัง ถึงความเป็นธรรมก่อน อย่างคำว่าขันธ์ ที่มาบอกกันว่า เกิดขึ้นแล้วดับไป จึงเป็นอดึต อนาคต ปัจจุบัน หยาบ ละเอียด ไกล ใกล้ ถ้าขณะนี้ เราไม่รู้ลักษณะของรูป เราจะรู้ไหมคะว่า ขณะนี้ รูปนี้ เป็นอย่างนี้ แล้วพอสติสัมปชัญญะ ระลึกลักษณะของรูปอื่น รูปอื่นก็ไม่เหมือนอย่างนี้ เพราะฉะนั้น รูปจึงมีทั้งหยาบ ละเอียด ที่ผิวของเรา บางที่เราอาจจะไม่รู้สึกเลยว่า หยาบ แต่ถ้าสติสัมปชัญญะ เกิด ลักษณะที่หยาบนั้น ก็ปรากฏ ซึ่งความจริง เราก็รู้แต่เพียงว่าแข็ง แข็ง กับ อ่อน ใช่ไหมคะ แต่ลักษณะที่แข็งอ่อน มันมีทั้งหยาบ และไม่หยาบ ซึ่งจะสามารถที่จะรู้ได้ เมื่อสติสัมปชัญญะ เกิดว่า ลักษณะนี้ แม้ว่าแข็งก็หยาบ เพราะฉะนั้น เราจะรู้ได้ว่าจริงๆ แล้ว การที่จะรู้ความเป็นขันธ์ ไม่ใช่เพียง ชื่อ แต่จะรู้ต่อเมื่อลักษณะของสภาพธรรม นั้นปรากฏ หลากหลาย แล้วก็สามารถจะมีวิปัสสนาญาณที่ประจักษ์การเกิดดับ ไม่มีความสงสัยว่าขันธ์คืออะไร แต่ไม่ใช่หมายความว่ามีขันธ์แล้วก็จำว่าขันธ์ หลากหลาย แต่หลากหลายเพราะคิด เพราะจำ แต่ตอนที่กำลังหลากหลาย ไม่รู้ เพราะว่าสติสัมปชัญญะ ไม่ได้ รู้ ตรงนั้น นี่ก็แสดงให้เห็นว่า ทุกอย่างก็จะต้องสอดคล้อง แล้วก็เป็นเรื่องที่ เมื่อไรที่เราเกิดปัญญา ความเห็นถูกของเรา เมื่อนั้น คือได้ประโยชน์ จริงๆ จากการศึกษาธรรม
ผู้ฟัง กราบท่านอาจารย์ ตรงที่กล่าวว่า การที่จะรู้สภาพธรรม ถ้าสมมติว่า ขณะนั้น รู้ในลักษณะของรูป รู้สี หรือว่ารู้กลิ่น ขณะที่รู้ลักษณะของเขาจริงๆ ตรงนั้น นะ มันรู้ว่าเป็นรูปเท่านั้น ไม่ใช่ว่าจะต้องมา เป็น ขณะนี้เป็นกลิ่น หรือว่าเป็น สี ความต่างกันตรงนั้น ยังไม่เกิดในขณะที่รู้ว่า เป็นธรรม ตรงนั้น ตรงๆ ใช่ไหมคะ
ท่านอาจารย์ ไม่ต้องเรียกชื่อคะ ธรรมทั้งหมดไม่มีชื่อ
ผู้ฟัง ไม่มีชื่อแต่มีลักษณะของเขา
ท่านอาจารย์ แต่อาศัยชื่อ จึงสามารถจะรู้ว่า หมายความถึงธรรมอะไร ถ้าไม่อาศัยชื่อ นิ่ เงียบกันไปหมด แม้ว่าธรรมที่เห็น ก็ไม่ใช่ธรรมที่ได้ยิน แล้วก็จะรู้ว่า เรากำลังพูดถึงธรรมไหน เพราะฉะนั้น จึงต้องอาศัยชื่อ แต่ว่าตัวธรรมจริงๆ ไม่มีชื่อ อย่างแข็ง อย่างนี้ ชื่ออะไร กำลังแข็ง ลักษณะที่แข็ง ตรงแข็งนั้นชื่ออะไร ต้องไปหาชื่อไหมคะ เพราะลักษณะแข็ง กำลังปรากฏ ชื่อภาษาไทยยังไม่พอ ภาษาบาลีชื่ออะไร แล้วไง เล่าคะ แล้วอย่างนี้จะเป็นการรู้ หรือเป็นการเข้าใจธรรม เพราะฉะนั้น การฟังธรรมจึงต้องเป็นผู้ที่ตรง แล้วละเอียด แล้วก็รู้ว่า ความเข้าใจถูก ความเห็นถูก ต้องมีสิ่งที่ปรากฏ คะ แล้วไม่เคยเข้าใจถูก ไม่เคยเห็นถูก แต่ว่าฟังแล้วสามารถที่จะเข้าใจถูกขึ้น ในสิ่งที่ปรากฏ ไม่ใช่ในสิ่งที่ไม่ปรากฏ หรือที่จะเข้าใจได้ ก็ต้อง เจริญขึ้นตามลำดับ ถ้าความเข้าใจขั้นต้น ไม่มี แล้วเราหวังว่าเราจะไปเข้าใจมากๆ ถ้าเดี๋ยวนี้ไม่เข้าใจ คิดว่าไปนั่งๆ แล้วคิดจะเข้าใจ เป็นไปได้ไหมคะ เป็นไปไม่ได้เลย เอาความเข้าใจตรงนั้น มาจากไหนคะ ไม่มีเลยตั้งแต่ต้น แล้วก็จะไปหวังว่ามีความเข้าใจสภาพธรรม ประจักษ์แจ้งการเกิดดับ ก็เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้
ผู้ฟัง เมื่อกี้ท่านอาจารย์พูดถึงขันธ์ ความละเอียด และความหยาบของรูปธรรม จะรู้ได้ในขณะที่สติปัฏฐาน เกิด ความหยาบ ความละเอียด ถ้าพูดถึงรูป ตามที่เราฟัง เข้าใจ รูปที่แข็งก็มี รูปที่อ่อนก็มี ลักษณะของความละเอียดที่รู้ได้ในขณะที่ สติปัฏฐาน เกิด อยากจะขอท่านอาจารย์ช่วย อธิบาย นิดนึง
ท่านอาจารย์ คะ ไม่มีใครไม่รู้ว่าลักษณะแข็ง เป็นอย่างไร เพราะว่าเคยกระทบ ไม่มีใครไม่รู้ว่าลักษณะที่อ่อนเป็นอย่างไร เพราะเคยกระทบ แต่เวลาที่กำลังกระทบจริงๆ ความหลากหลายของแข็งกับอ่อน มีไหมคะ
ผู้ฟัง มีคะ
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น จะรู้ได้ ไม่ใช่ว่ามานั่งพูดถึง ในเมื่อสิ่งนั้นไม่ได้ปรากฏ เลย แต่เมื่อมีสภาพนั้น ปรากฏ ปกติธรรมดา สภาพธรรม ทั้งหลาย ก็เกิดดับเร็วมาก แม้แต่รูป ก็เกิดดับเร็วมาก ยังไม่ทันจะรู้เลย ดับแล้ว ผ่านไปแล้ว เป็นความคิดแล้ว เพราะฉะนั้น เวลาที่สติสัมปชัญญะ เกิด ขณะนั้น มีลักษณะนั้นปรากฏกับสติด้วย เพราะฉะนั้น ก็ลองคิดดู ว่าขณะที่สภาพธรรม นั้นปรากฏ กับกายวิญญาณ ที่เพียงแต่รู้แข็ง แล้วผ่านไปเลย ไม่มีสติที่จะรู้ตรงนั้น ลักษณะที่หยาบ หรือละเอียดของรูปนั้นจะปรากฏไหม
ผู้ฟัง ไม่ปรากฏให้ทราบคะ
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ก็จะรู้อย่าง เพียงแค่แข็ง หรือว่าอ่อน แต่ว่า ความแข็งอย่างไร ความอ่อนอย่างไรก็ต้องในขณะ ที่สติสัมปชัญญะ เกิด หรือถ้าจะเป็นผู้ที่แม้สติสัมปชัญญะ ไม่เกิด แต่มีความเป็นเรา ที่กำลังพยายาม ที่จะรู้แข็งที่ต่างกัน หรืออ่อนที่ต่างกัน อย่างแป้งที่นวดแล้ว นิ่ม ใส่น้ำเข้าไปอีก ก็อ่อนกว่าเมื่อตอนที่มีน้ำน้อย เราก็เข้าใจได้ ใช่ไหมคะว่าลักษณะ นั้น เป็นอย่างนั้น แต่ในขณะที่สติเกิดด้วย ลักษณะนั้นจะปรากฏเพิ่ม และละเอียดขึ้นไหม เพราะว่าไม่ได้ผ่านไป เหมือนอย่างตอนที่สติสัมปชัญญะ ไม่ได้เกิด
ผู้ฟัง หมายความว่า ถ้าฟัง ความแตกต่างของความแข็ง กับความอ่อนนี้ เรารู้ในลักษณะของขั้นการฟัง แต่ขณะที่สติปัฏฐาน เกิด เกิดพร้อมญาณะที่รู้เข้าใจ ความจริงของสภาพที่แตกต่างกัน
ท่านอาจารย์ แล้วก็ ขึ้นอยู่กับระดับของปัญญาด้วย ถ้าเป็นปัญญาขั้นต้นก็เหมือนปกติธรรมดา รู้แค่ไหน ก็แค่นั้น แต่ถ้ามีความละเอียดขึ้นก็จะรู้ได้เลย แม้ลักษณะที่กล่าวไว้ก็ปรากฏ ได้ แต่ว่าไม่ใช่ด้วยความจงใจของเรา ด้วยความจงใจ ความตัวตนเข้ามา สิ่งนั้นก็ดับแล้ว ปัญญาก็ไม่สามารถที่จะรู้ได้
ผู้ฟัง เมื่อกี้ ท่านอาจารย์พูดถึงคำว่าอายตนะ เป็นเครื่องต่อ ผู้ที่จะเข้าใจ ขันธ์ ธาตุ อายตนะ ต้องเป็นผู้ที่ตรัสรู้แล้ว หรือ เป็นลักษณะของผู้ที่เจริญ อบรมสติปัฏฐาน จนถึงระดับขั้นของวิปัสสนาญาณ
ท่านอาจารย์ ยังไม่ได้ตรัสรู้ แต่การที่จะละความเป็นเรา สิ่งที่ไม่มี แล้วมี ขณะนั้นต้องมีสติสัมปชัญญะ ที่จะรู้ความต่าง ขณะนี้คะ เหมือนอย่างนี้เลย ยังไม่มีเสียงเลย แล้วก็มีเสียง ธรรมดา แต่ธรรมดานี้แหละ ปัญญา รู้ แม้ในขณะที่ไม่มี ก็เป็นสภาพธรรม อย่าง ๑ แม้ในขณะที่มี ก็เป็นสภาพธรรม อีกอย่าง ๑ เพราะฉะนั้นในขณะนั้น จากไม่มี สู่ความมี ต้องมีทางที่สิ่งนั้นจะเกิด เวลานี้ ทั้งๆ ที่สภาพธรรม ก็เกิดปรากฏ แต่เราไม่เคยรู้เลยว่า ต้องมีทาง เช่นถ้าไม่มีจักขุปสาท ไม่มีตา สีสันวรรณขณะนี้ ปรากฏไม่ได้ ไม่เคยสนใจ ไม่เคยรู้ ฟัง เข้าใจ ขั้นฟัง แต่เวลาที่เป็น นามธรรม เป็นรูปธรรม นั่น ไม่ใช่เพียงขั้นฟังด้วยความเป็นเรา แต่ขณะนั้นไม่มีเรา แต่เป็นสติที่กำลังรู้ลักษณะ แล้วสภาพธรรมนั้นก็เป็นอย่างนั้น เพราะฉะนั้น ก็เข้าถึง ความเป็นอายตนะว่า ขณะนั้นที่สิ่งนั้น จะมีได้ปรากฏได้ ไม่ใช่อยู่ดีๆ ก็มีขึ้นมา
ผู้ฟัง พระพุทธเจ้า ท่านทรงแสดงธรรม เพื่อให้สัตว์โลกได้เกิดปัญญา เกิดความเข้าใจของตัวเอง ของแต่ละคน อันนี้ความเข้าใจของผมเป็นอย่างนั้น ที่นี้ว่า เมื่อศึกษาธรรม ที่ผมได้เรียนถามแต่ต้นว่า ศึกษาธรรมเพื่อให้เข้าใจ สิ่งที่เรายังไม่รู้ เพื่อให้เข้าใจธรรม เมื่อเข้าใจธรรมแล้ว ธรรมจะเป็นประโยชน์ หรือ จะเกื้อกูล ต่อกิเลสที่ยังมีอยู่ขณะนี้ จะเกื้อกูล หรือขจัด หรือขัดเกลา ใช้คำพูดอย่างนี้ แต่ว่าจะขัดเกลาได้อย่างไรครับผม
ท่านอาจารย์ ถ้าเป็นเรา ขัดเกลาอะไร หรือเปล่า
ผู้ฟัง ไม่ได้ครับ
ท่านอาจารย์ ถ้าเป็นธรรม ขัดเกลาไหม
ผู้ฟัง ขัดเกลาครับ ก็ทุกคนมีกิเลส
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง
ผู้ฟัง มีกิเลส แต่ว่าถ้าที่จะขจัดกิแลส
ท่านอาจารย์ ถ้าเป็นเรา กิเลส หรือเปล่า
ผู้ฟัง ไม่ใช่ ครับ
ท่านอาจารย์ ถ้าเป็นเรา แล้วถ้าเป็นธรรม เป็นกิเลส หรือเปล่า
ผู้ฟัง ก็เป็นกิเลส
ท่านอาจารย์ เป็นธรรมแล้วเป็นกิเลส หรือคะ รู้ว่าเป็นธรรม
ผู้ฟัง รู้ว่าเป็นธรรม ไม่ใช่
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ก็เห็นได้ คะ เพราะรู้ ใช่ไหม แล้วค่อยๆ รู้ขึ้น ใช่ไหม จึงละความไม่รู้
ผู้ฟัง ครับผม คือความเข้าใจ ตอนนี้ ว่า ถ้าเป็นเรา เป็นกิเลส แต่แป๋นธรรม ไม่เป็น
ท่านอาจารย์ ถ้ารู้ว่าเป็นธรรมขณะนั้น รู้ขึ้นว่าเป็นธรรม รู้ขึ้นว่าเป็นธรรม
ผู้ฟัง นี่ใช่ไหมที่เขาใช้คำว่าขัดเกลา ลักษณะอย่างนี้
ท่านอาจารย์ รู้ขึ้น รู้ขึ้น ความไม่รู้มันก็หายไป ตอนที่มัน รู้ ขณะที่รู้ ขณะนั้นไม่ใช่ไม่รู้ ขัดเกลา หรือเปล่า
ผู้ฟัง ขัดเกลา ครับ เข้าใจครับผม ขอบคุณครับ
ท่านอาจารย์ โดยมากจะมีตัวตนอยู่ตลอด ศึกษาด้วยเป็นตัวตน จะเอาธรรมมาทำอะไร อย่างนี้คะ ด้วยความเป็นตัวตน แต่เมื่อเป็นธรรม เราาก็เข้าใจในเหตุผล ขณะที่เห็นผิดก็เป็นตัวตน ขณะที่รู้ว่าเป็นธรรม ไม่ใช่ความเห็นผิด เพราะฉะนั้น ขณะที่รู้ มันไม่มีความเห็นผิด แล้วมันก็ค่อยๆ หมดไป
ผู้ฟัง ฟังจากที่ท่านอาจารย์ได้กรุณาตอบคำถามน้อง ที่ถามเกี่ยวกับเรื่องสติเกิด ระลึกรู้ ฟังดูแล้วก็ขณะสติเกิด ตรงนั้น อยู่ที่ระดับของปัญญาที่จะรู้ แคบ หรือกว้าง แค่ไหน แต่จากจุดนั้น จุดเดียว คือทราบว่าเป็นธรรม แล้ว ต่อไป ยังทราบด้วยว่า ลักษณะที่เกิดขึ้น เป็นลักษณะของอายตนะที่ต้องมี ๒ ธาตุอยู่ในขณะนั้น แล้วยังทราบถึงปัจจัยด้วย ตรงนี้คะ ท่านอาจารย์ ดิฉัน รู้สึกว่า จะใช้คำว่าอะไรดี เหมือนกับว่ามันถูกเลย ไม่ใช่ว่าต้องไปศึกษาทางนั้นที ตรงนี้ธรรมลักษณะอย่างนี้จะเกิด แต่ขณะนี้ มุ่งตรงไปที่การระลึก รู้ลักษณะของสภาพธรรมแต่ละขณะ เมื่อมีความเข้าใจมากขึ้น ใกล้ชิดกันตัวธรรมมากขึ้น ลักษณะของความรู้ในด้านถึงความเป็นปัจจัย หรือ ความเป็นอายตนะ หรือลักษณะของวิปัสสนาญาณขั้นไหน ก็จะเกิดจากตรงนั้นเอง ไม่ได้ไปมีทางอื่นตรงไหนเลย
ท่านอาจารย์ คะ ก็เป็นการเจริญความรู้ ไม่อย่างนั้นเราก็ จะไปรู้ว่าปัญญาจะเจริญ ตรงไหนอย่างไร ใช่ไหมคะ
ผู้ฟัง เพราะฉะนั้น ไม่ว่าความรู้ จะเกิดรู้มากขึ้นอย่างไร ก็ขณะนั้น นั่นแหละ ขณะนั้น ต้องมีลักษณะของสภาพธรรมปรากฏ แล้วก็ การรู้ชัดมากขึ้น แต่ละอย่าง ก็เพิ่มจากจุดตรงนี้
ท่านอาจารย์ มิฉะนั้นเราจะไม่เข้าใจเลยว่า สติปัฏฐาน เป็นหนทางเดี่ยว คือว่าสติเกิดแล้วเราก็มีลักษณะของสภาพธรรม ปรากฏ ปัญญาก็เจริญขึ้น
ผู้ฟัง อาจารย์คะสติ เวลาเกิด ระลึกรู้ จะแข็งก็ตาม จะสีก็ตาม เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ระลึกครั้ง ๑ แล้ว มันก็ดับใช่ไหมคะ แล้วเขาจะสะสมได้อย่างไร ที่อาจารย์ว่ารู้ขึ้นๆ ๆ อย่างนี้ คะ
ท่านอาจารย์ เมื่อวานนี้ เรารู้เรื่องอะไร เรื่องนั้นหายไปหมด หรือว่าขณะนี้ เราก็จำได้
ผู้ฟัง จำ นะ จำคะ
ท่านอาจารย์ แล้วความรู้ที่เราได้จำไว้มันก็อยู่ หรือเปล่า คะ ถ้าใช้คำว่าจำ
ผู้ฟัง คะ จำ สติ จำไหมคะ
ท่านอาจารย์ คะ สติ เป็นสภาพระลึก สัญญาสภาพจำ พร้อมกัน
ผู้ฟัง แต่เราไม่ได้ระลึกตลอด
ท่านอาจารย์ ขณะใดที่สติ หรือโสภณจิตเกิด อันนั้นต้องมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย
ผู้ฟัง ร่วมด้วยกับจำ สติอยู่กับจำ
ท่านอาจารย์ เวลาที่กุศลจิต หรือโสภณจิต คือจิตฝ่ายดีเกิด ต้องมีเจตสิกฝ่ายดี ๑๙ ประเภท เกิดพร้อมกัน
ผู้ฟัง เพิ่มขึ้นมา
ท่านอาจารย์ พร้อมกัน ขาดอัน ๑ อันใดไม่ได้เลย
ผู้ฟัง แต่ขณะนั้น เจตสิก สรรพสาธารณะเจตสิก ก็มี ใช่ไหม ๗
ท่านอาจารย์ คะมีคะ
ผู้ฟัง ก็เขาอยู่ด้วยกัน ได้
ท่านอาจารย์ อย่างน้อยที่สุด โสภณ ๑๙ แล้วยังมีสรรพจิตสาธารณะ หรือปกิณณกเจตสิก เกิดร่วมด้วย
ผู้ฟัง ทีนี้ แต่ละอย่างก็ดับ ใช่ไหมคะ
ท่านอาจารย์ พร้อมจิต คะ
ผู้ฟัง แล้วสติก็ดับ ใช่ไหมคะ
ท่านอาจารย์ พร้อมจิต คะ
ผู้ฟัง ถ้าอย่างนั้น ถ้าเราจะ ระลึกอีกครั้ง ๑ ก็ต้องมีจำทุกที ถูกไหมคะอาจารย์
ท่านอาจารย์ สัญญาเจตสิกเกิดกับจิตทุกขณะ
ผู้ฟัง คะ แต่มีสติเพิ่มขึ้นๆ
ท่านอาจารย์ ขณะที่เป็นกุศล หรือเป็นโสภณ
ผู้ฟัง ใช้ คำว่าเพิ่มได้ไหมคะ ที่ดับไปแล้ว
ส สะสมสืบต่อ ในจิตขณะต่อไปคะ
ผู้ฟัง สะสมสืบต่อ เช่นเดียวกันกับอกุศล
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง จิต ๑ ขณะมีอะไร เวลาจิตนั้นดับไปแล้ว จิตที่เกิดสืบต่อ ก็มีทุกอย่างครบ
ผู้ฟัง ตกลงว่าจำ ไม่หายไปไหน
ท่านอาจารย์ ไม่หายไปไหนเลย คะ อยู่ในจิตทุกขณะ สืบต่อคะ
ผู้ฟัง เราก็นึกว่าจำ กำจัดได้แล้ว ต่อไปก็จะเป็นสติแล้วอะไรอย่างนี้
ท่านอาจารย์ ไม่คะ
ผู้ฟัง ไม่ใช่
ท่านอาจารย์ คะ จำเกิดพร้อมกับกุศลได้ จำเกิดพร้อมกับอกุศลได้
ผู้ฟัง ขอบคุณคะ
ผู้ฟัง เมื่อกี้ฟัง มีความรู้สึกว่า เป็นผู้ ๑ ทีฟังธรรมมาเยอะ ฟังมาถึงตรงนี้ก็มีความรู้สึกว่า เหมือนกับยังไม่เข้าใจอีกมาก ลักษณะ ที่ ความเข้าใจที่สะสมตั้งแต่หลายปีมาจนถึงเดี๋ยวนี้ ก็มีความรู้สึกว่า เมื่อก่อน เดี๋ยวนี้มีความเข้าใจมากกว่าเมื่อก่อน ถ้าว่าสติไม่ได้ระลึกในลักษณะของปัญญา ซึ่งท่านอาจารย์เน้นอยู่เสมอว่า ปัญญาคือความเข้าใจ ความเข้าใจจากขั้นการฟังก็สะสมเข้ามาเรื่อยๆ แต่ลักษณะที่ไม่ได้พิจารณาลักษณะของสภาพตัวปัญญาซึ่งเกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ซึ่งดูเหมือนกับว่าไม่เคยเกิดขึ้นเลย เพราะว่าอาจารย์ก็พูดว่าปัญญามีหลายขั้น ปัญญาซึ่งอาจารย์เคยพูดว่าความเข้าใจ ขณะที่เราเข้าใจ ที่อาจารย์พูดนิด ๑ อย่างนั้นก็เป็นลักษณะของปัญญา หรือว่าสัมมาทิฏฐิ
ท่านอาจารย์ คะ ปัญญาเป็นภาษาบาลี ถ้าเราไม่เอาคำนี้มาใช้ แล้วเรา ใช้ภาษาไทย เราจะใช้คำว่าอะไรคะ
ผู้ฟัง ฟังท่านอาจารย์ ก็บอกว่าความเข้าใจ
ท่านอาจารย์ ความเข้าใจถูก ความเห็นถูก ตามความเป็นจริงของสภาพธรรม นั้นๆ
ผู้ฟัง ก็หมายความว่าการฟัง นี้ก็เกื้อกูลให้เราเข้าใจ ทีละนิดๆ ละความไม่เข้าใจ จากที่ไม่เคย ได้ฟังมาก่อน อย่างนั้น
ผู้ฟัง จากเรื่องความเข้าใจ ถึงฟังดูแล้วก็รู้สึกละเอียดมาก เมื่อเช้าก็ได้สนทนากัน กับสหายธรรม ท่านก็บอกๆ ว่าวันๆ ๑ เหมือนกับได้ยินเสียงท่านอาจารย์อยู่ตลอด เราก็ถามว่าแล้วขณะนั้น เสียงมันปรากฏ หรือเปล่า เสียงก็ต้องไม่ได้ปรากฏ แต่คิดถึงเสียง ใช่ไหมคะ ท่านอาจารย์ ลักษณะอย่างนี้ ท่านอาจารย์คิดว่ามีความสำคัญไหม ที่เราจะต้องรู้ตรง ก่อนในขั้นอบรม
ท่านอาจารย์ คือธรรมเป็นเรื่องจริงอย่างไร เรารู้ ตรงตามความเป็นจริงอย่างนั้น ขณะได้ยินไม่ใช่ขณะคิด
ผู้ฟัง เพราะฉะนั้น ขณะที่เรากล่าวว่าเหมือนได้ยินเสียงท่านอาจารย์อยู่ตลอดจริงๆ แล้วก็พูดผิด หรือเปล่าคะ
ท่านอาจารย์ ผิด หรือ ถูก เล่าคะ ผิด หรือถูกจะรู้ได้อย่างไร ขณะนั้นได้ยิน หรือเปล่า คือการที่พบกัน ก็มี ๒ อย่าง ไม่ถาม นั่งนิ่ง นั่งนิ่ง คิดอะไร แต่ถ้าถาม เราก็มีโอกาสที่จะได้ฟังความคิดเห็น ที่จะทำให้เราได้ไตร่ตรองเพิ่มขึ้น ความละเอียดของธรรม หรือว่า ขณะนี้ เป็นอะไร ถ้าเราสงสัย เราก็สนทนากันได้คะ สำหรับคนในครั้งอดีต ท่านก็พบปะกันอย่างนี้คะ แล้วเวลาที่ท่านนั่งนิ่ง ท่านมีปัญญาระดับ ที่ขณะนั้นสติสัมปชัญญะ เกิด แต่ไม่ได้หมายความว่าขณะที่ไม่ได้สนทนา แล้วสติสัมปชัญญะ จะไม่เกิด แม้นิ่งสติสัมปชัญญะ ก็เกิดได้ แม้พูดสติสัมปชัญญะ ก็เกิดได้ คือถ้าเป็นความรู้ หรือเป็นปัญญาไม่ต้องกลัว ปัญญาสามารถรู้ถูกเห็นถูกตามความเป็นจริงตามปกติ นั่นคือปัญญา
ผู้ฟัง พูดถึงรส ต้องไปสัมผัสลิ้นถึงจะเป็นรส ใช่ไหมคะ
ท่านอาจารย์ ไม่ได้คะ รส มีแต่ไม่ปรากฏ
ผู้ฟัง ลำไยมีรสใช่ไหมคะ
ท่านอาจารย์ รสมี มีแน่นอนคะ
ผู้ฟัง เรียกรสไหมคะ
ท่านอาจารย์ เรียกคะ ถ้า ใครจะรู้ หรือไม่รู้ก็ตาม ไปเอารสออกจากลำไย ไม่ได้
ผู้ฟัง แต่ว่ามันยังไม่ได้กระทบ
ท่านอาจารย์ คะ เพราะฉะนั้น แม้สิ่งนั้นมี แต่ถ้าไม่มีธาตุรู้ หรือสภาพรู้ที่กำลังรู้ สิ่งนั้นปรากฏไม่ได้ แต่ไม่ได้หมายความว่า ไม่มี
ผู้ฟัง อย่างที่เคยลิ้มลำไย ไม่รู้รสเลย
ท่านอาจารย์ คะๆ ๆ ถูกต้องคะ
ผู้ฟัง แต่ก็ยังเรียก รส
ท่านอาจารย์ รสยังคงเป็นรส แต่รสจะปรากฏเมื่อไร อย่างข้างหลังก็มี สี สัน วรรณ เหมือนข้างหน้านี่แหละ แต่ไม่ได้ปรากฏ ฉันใด ขณะนี้ ทุกแห่งที่มีแข็ง ธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม ต้องมีสี มีกลิ่น มีรส มีโอชา
ผู้ฟัง แต่ขณะนี้มี ยาอมอยู่ในลิ้น เรารู้รสยาอม แต่ก็ไม่ รู้รสลำไย ถึงแม้จะเคยรู้ ก็จำ
ท่านอาจารย์ ถูกต้องคะ ถูกต้อง ตรงกับขณะนั้นรส ปรากฏ เพราะจิตกำลังรู้ ขณะที่รสปรากฏ คะ
ผู้ฟัง เวลาปรากฏต้องมีจิต
ท่านอาจารย์ จิต ลิ้ม รสนั้นจึงปรากฏได้ เพราะฉะนั้น จะปราศจากจิตไม่ได้เลย เมื่อสิ่ง ๑ สิ่งใดปรากฏ ก็แสดงว่า เพราะจิตนั้นแหละที่กำลังรู้ สิ่งนั้นจึงปรากฏได้ ถ้าไม่มีจิต อะไรๆ ก็ปรากฏไม่ได้เลยคะ
ผู้ฟัง เสียงที่ขอบฟ้า จักรวาล น้ำทะเล ก็เป็นเสียง แต่เราไม่ได้ยิน เพราะฉะนั้น จะต้องจิตที่เขาได้ยิน
ท่านอาจารย์ ขณะใดที่เสียงนั้นปรากฏ เพราะจิตได้ยิน เสียงนั้นจึงปรากฏได้
ผู้ฟัง เคยสงสัยเข้าใจแล้ว คะ
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น จึงเข้าใจในความหมายที่ว่า จิตเป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้ง ลักษณะของอารมณ์ที่ปรากฏ ให้รู้คะ
ผู้ฟัง ธรรม เขามีอยู่ เสียงมี แสงมี ที่ไหนๆ ก็ได้ แต่ว่า
ท่านอาจารย์ เพราะมีเหตุปัจจัย
ผู้ฟัง เพราะแม้เหตุปัจจัย ของเขาไป แต่ จิตที่รับรู้ขณะนี้ทางทวารไหนก็ตาม ก็เฉพาะๆ ๆ ตรงนั้น แล้วก็ดับๆ ๆ ๆ ตรงนั้น
ท่านอาจารย์ ถูกต้องคะ
ผู้ฟัง แต่ที่อยู่ในลำไยนี้ดับไหมคะ รส นะคะ
ท่านอาจารย์ สภาพธรรม ที่เป็นรูปธรรม ที่มีสภาวะลักษณะจริงๆ มีอายุเท่ากับจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะ ใครจะรู้ไม่รู้เขาก็มีอายุแค่นั้น คะ
ผู้ฟัง อย่างนี้เรียก กลาป หรือคะอาจารย์
ท่านอาจารย์ กลาป หมายความว่ารูปเกิดรวมกัน โดยแยกจากกันไม่ได้เลย จึงเป็น ๑ กลาป ถ้าแยกออกไปไม่ใช่กลาปเดียวกันแล้ว คะ ต้องเป็ฯแต่ละกลุ่ม ว่ากลาปนี้ มีกี่รูป อย่างน้อยที่สุดมี ๘
ผู้ฟัง เดี๋ยวนี้เขาอยู่เป็นกลุ่มไหมคะ
ท่านอาจารย์ มีอากาศธาตุแทรกคั่นอย่าลละเอียดคะ จนกระทั่งเล็กที่สุด จะมี ๘ รูป
ผู้ฟัง ถึงเข้ามาอยู่ในลิ้น ในตัวนี้แล้ว ก็เป็น กลาปอยู่นั้นเอง
ท่านอาจารย์ หมายความว่า
ผู้ฟัง เปลี่ยนไป หรือยังคะ กลาปนั้น
ท่านอาจารย์ หมายความว่า รูปเกิดขึ้น จะไม่มีเพียงรูปเดียว เมื่อแข็งขณะนั้นเกิด ที่เราใช้คำว่าธาตุดิน นี่คะ ก็ต้องมีธาตุน้ำธาตุไฟธาตุลม เกิดร่วมด้วย ๔ แล้วเมื่อมีดิน น้ำ ไฟ ลม ต้องมี สีกลิ่น รส โอชา อีก ๔ รวมกันเป็น ๘ คือ ๑ กลาปแยกกันไม่ได้เลย เพราะฉะนั้น ใช้คำว่า อวินิพโภครูป รูปที่แยกจากกันไม่ได้ ๘ รูปนี้ต้องอยู่ด้วยกันเสมอ
ผู้ฟัง แต่เขาเปลี่ยน ใช่ไหมคะอาจารย์ เปลี่ยนไหม
ท่านอาจารย์ เกิดดับคะ เกิดดับคะ
ผู้ฟัง ถ้าอย่างนั้นมันอยู่ที่จาน กับมาอยู่ที่ตัวนี่ คนละกลาป
ท่านอาจารย์ คนละกลาป เพราะว่าเกิดดับ เพราะฉะนั้น ทุกอย่าง ที่ยั่งยืนในความคิดของเรา โลกก้อนโตเลย มีคน มีทะเล มีแม่น้ำ มีภูเขา อากาศธาตุแทรกคั่นละเอียด ยิบ ทุกอย่างหมดไม่ว่าจะเป็นตัวสัตว์ที่เล็กที่สุด ตัวเรา ตัวช้าง หรือโลกทั้งก้อนที่ว่าใหญ่ที่สุด เพราะอากาศธาตุแทรกคั่นหมด อย่างละเอียดที่สุด จึงเหลือเพียงแต่ละกลาปซึ่ง มีรูป ๘ รูปอย่างน้อยที่สุดเหมือนกันหมดเลย นี่คือพระปัญญาที่ได้ประจักษ์ว่าทุกอย่างเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปตามเหตุตามปัจจัย
ผู้ฟัง ละเอียดมาก
ผู้ฟัง สักครู่ท่านอาจารย์ ก็กล่าวว่า อย่างน้อยต้องมี ๘ รูปคือ ดิน น้ำ ไฟ ลม สี กลิ่น รส โอชะ
ท่านอาจารย์ โอชา
ผู้ฟัง โอชา ดิฉันก็ มักจะพูดว่าเสียง หรืออะไรอย่างนี้ เหมือนกับว่าเสียงรวมอยู่ด้วย จริงๆ แล้ว เสียงก็ไม่ได้รวมอยู่ ใน ๘ รูปนั้น
ท่านอาจารย์ ถ้าเสียงรวมอยู่ใน ๘ รูปนี่ เราหนวกหู แย่เลย ทุกกลาปๆ
ผู้ฟัง คือพอพูดถึง มหาภูตรูป ๘ ต้อง ใส่สีลงไปด้วยเลย มันเหมือน สีกับเสียง มันน่าจะคู่กันไป แต่พอมาฟังตรงนี้ ก็เข้าใจว่า อย่างที่ท่านอาจารย์กล่าว ต้องเป็นเสียง มันส่งเสียงอยู่ตลอดคงจะ
ท่านอาจารย์ ทุกกลาปด้วย หมดเลย มันมีแต่ธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม ทั้งหมด แล้วมีเสียงไปหมดเลย คิดดู
ผู้ฟัง นี้ ขณะที่ดิฉันนั่งอยู่ตรงนี้ ก็ต้องมีกลิ่น มีสีอยู่ แต่ว่า
ท่านอาจารย์ อยู่ที่ไหน
ผู้ฟัง อยู่ที่ ในมหาภูติรูปนี้คะ แต่เสียงไม่มี แต่ เสียงสามารถที่จะเกิดขึ้นได้ เพราะเหตุปัจจัย เป็นบางครั้งบางคราว เช่น ขณะพูดอย่างนี้ ก็มีเสียงเกิดขึ้น หรือเสียงท้องร้อง อะไรประเภทอย่างนี้ สรุปแล้ว เสียงไม่ได้เกิดอยู่ตลอดเวลา แล้ว แต่ปัจจัยที่เขาจะเกิด แต่ สีกับกลิ่น กับรสยังอยู่
ท่านอาจารย์ ที่ใดที่มีมหาภูตรูป ที่นั้น ต้องมี สี กลิ่น รสโอชา อีก ๔ รูปคะ
ผู้ฟัง เป็นเรื่องที่ลึกซึ้งมากจริงๆ ท่านอาจารย์
ท่านอาจารย์ ถ้าเราได้เข้าใจว่า ที่เรากราาบไหว้ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะทรงตรัสรู้ความจริงที่คนอื่น ก็ไม่สามารถ จะรู้ได้ แล้วยังทรงพระญาณที่ ทรงแสดงสภาพธรรม โดยละเอียด โดยประการทั้งปวง เพื่อให้เราเข้าใจ แม้แต่ที่เราใช้คำว่า มหาภูตรูป รูปที่เป็นใหญ่เป็นประธานมี ๔ ธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม ก็ยังทรงแสดงว่า รูปอื่นไ ม่ใช่มหาภูตรูป แต่ท่านไม่ได้พูดภาษาไทย ท่านก็บอกว่า รูปอื่น เป็น อุปาทายรูป คือรูปที่อาศัยเกิดกับ มหาภูตรูป ถ้าไม่มีมหาภูตรูป อุปาทายรูปเกิดไม่ได้เลย อุปาทายรูป ก็คือรูปที่เกิดกับมหาภูตรูป ไม่ได้แยกจาก มหาภูตรูปเลย เพราะฉะนั้น กลาป ๑ กลาป ๑ ก็จะมีรูปรวมกันอย่างน้อยที่สุด ๘ แล้วก็เพิ่มขึ้น ตามกลาป นั้นว่า เกิดจากอะไร เกิดจากกรรม หรือเกิดจากจิต หรือเกิดจากอุตุ หรือว่าเกิดจากอาหาร ถ้าเกิดจากอาหารนี้ ๘ แน่นอน คะไม่มีรูปอื่น อ้อ มีวิกาลรูปรวมอยู่ด้วยคะ
ผู้ฟัง อาจารย์ครับ ขอย้อนกลับมานิดนึงเรื่องของสติปัฏฐาน ที่ระลึกลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏ ทางทวารต่างๆ ถ้าพูดถึงว่าทางมโนทวาร ความนึกคิด ซึ่งเป็นธรรม ต้องเกิดขึ้น สติปัฏฐาน จะระลึก ความนึกคิด ได้ไหมครับ
ท่านอาจารย์ ถ้าปัญญารู้ไม่ได้ ทรงแสดงไหมว่าไม่ใช่เราที่คิด
ผู้ฟัง มันไม่ได้
ท่านอาจารย์ ต้องรู้จึงจะไม่มีเรา ถ้าไม่รู้ก็มีเราที่คิดตลอด แล้วจะดับกิเลสอะไรเมื่อเป็นเรา
ผู้ฟัง ความนึกคิดเป็นธรรม
ท่านอาจารย์ ทุกอย่าง
ผู้ฟัง ทุกอย่างเป็นธรรม เจาะประเด็นว่าความ นึกคิดนี่
ท่านอาจารย์ ทุกอย่าง
ผู้ฟัง ก็เป็นธรรม ไม่ว่าจะนึกคิดจากทางทวารไหนก็ตาม
ท่านอาจารย์ ทุกอย่าง
ผู้ฟัง สติปัฏฐาน ก็ระลึก
ท่านอาจารย์ ทุกอย่าง
ผู้ฟัง ทุกอย่างเหมือนเดิม
ท่านอาจารย์ เพื่อรู้ว่า ไม่ใช่เรา
ผู้ฟัง ที่พี่ศีลกัน เรียนถามตรงนี้คะ ท่านอาจารย์ เหมือนกับว่า เรียนถามว่า ลักษระของสภาพคิดนึก ที่เกิดขึ้น ก็สามารถที่จะรู้ได้ แต่จะรู้ในลักษณะของที่คิดนึก นั้นก็คือเป็นสภาพที่รู้เรื่องราวซึ่งเป็นบัญญิตๆ ไม่เกี่ยว หรือเปล่า คะท่านอาจารย์
ท่านอาจารย์ สภาพที่คิดมี หรือเปล่า
ผู้ฟัง สภาพที่คิด มีคะ
ท่านอาจารย์ เป็นเราคิด หรือเป็นอะไรคิด
ผู้ฟัง ถ้าขณะนั้น สติเกิด ก็คือไม่ใช่เรา เป็นลักษณะของการคิด ไม่ใช่เรา
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ก็รูว่าสภาพคิด เป็น สภาพที่มีจริง
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์ อีกนิดนึง ลักษณะคิดเหมือนกับการตรึกถึง หรือว่าเป็นสภาพที่คิด รู้
ท่านอาจารย์ เห็น มีอะไรเป็นสิ่งที่ปรากฏให้เห็น
ผู้ฟัง มีรูป คะ
ท่านอาจารย์ คะ แล้วจิตรู้รูป
ผู้ฟัง คะ
ท่านอาจารย์ เวลาคิด มีอะไรเป็นสิ่งที่จิตกำลังรู้
ผู้ฟัง ก็ต้องมีจิต