ปัจจัยที่ ๙ อุปนิสสยปัจจัย


    มีข้อสงสัยหรืออยากจะทบทวนปัจจัยหนึ่งปัจจัยใดไหมสำหรับนิสสยปัจจัยได้กล่าวถึงแล้วเป็นปัจจัยที่ ๘

    ปัจจัยที่ ๙คือ“อุปนิสสยปัจจัย”

    ท่านผู้ฟังจะสังเกตเห็นปัจจัยที่คล้าย ๆ กันและสัมพันธ์กันเช่น

    อนันตรปัจจัยและสมนันตรปัจจัย

    สหชาตปัจจัยและอัญญมัญญปัจจัย

    นิสสยปัจจัยและอุปนิสสยปัจจัย

    คำว่าอุปนิสัย ในภาษาไทยมาจากคำว่าอุป + นิสสย + ปัจจัยนั่นเอง

    เพราะฉะนั้นสภาพธรรมที่เป็นอุปนิสสยปัจจัยได้แก่สภาพธรรมซึ่งเป็นที่อาศัยที่มีกำลังมากประการหนึ่งหรือเป็นที่อาศัยที่มีกำลังแรงกล้าของปัจจยุปบันนธรรม อีกประการหนึ่ง ซึ่งจำแนกออกเป็น ๓ ปัจจัยได้แก่

    อารัมมณูปนิสสยปัจจัย อารมณ์ซึ่งเป็นที่อาศัยที่มีกำลัง ที่ทำให้จิตและเจตสิกเกิดขึ้น๑

    อนันตรูปนิสสยปัจจัย ได้แก่การเกิดและดับไปเป็นที่อาศัยที่มีกำลังให้ปัจจยุปบันธรรมเกิดต่อ คือ ให้จิตและเจตสิกดวงหลังเกิดต่อ๑

    และปกตูปนิสสยปัจจัยได้แก่สภาพการสะสมจนเป็นปกติ เป็นที่อาศัยที่มีกำลัง ทำให้จิตและเจตสิกเกิดขึ้นเป็นไปต่าง ๆ๑


    หมายเลข 4840
    28 ส.ค. 2558