อารัมมณูปนิสสยปัจจัย - อารัมมณาธิปติปัจจัย - โลภะ
ซึ่งจะขอกล่าวถึง อุปนิสสยปัจจัยทั้ง ๓ตามลำดับ
สำหรับคำอธิบายของ อารัมมณูปนิสสยปัจจัยมีว่า
อารัมมณูปนิสสยปัจจัยคือ อารมณ์ซึ่งเป็นที่อาศัยที่มีกำลังมากหรือที่มีกำลังอย่างแรงกล้าก็ได้แก่อารัมมณาธิปติปัจจัยนั่นเอง
ทวนกลับไปหาอารัมมณาธิปติปัจจัย แต่ว่ามีข้อที่ต่างกัน ซึ่งจะต้องทราบว่าอารัมมณาธิปติปัจจัยได้แก่อะไรซึ่งได้กล่าวถึงแล้วแต่ก็ต้องทบทวนอีก เพื่อที่จะได้ไม่ลืม และเพื่อที่จะได้เข้าใจอารัมมณูปนิสสยปัจจัยว่ามีความต่างจากอารัมมณาธิปติปัจจัยอย่างไร
สำหรับ“อารัมมณาธิปติปัจจัย”นั้นเป็นสภาพที่เป็นใหญ่ในฐานะที่เป็นอารมณ์ที่ดี ลักษณะของอารมณ์นั้นเป็นอารมณ์ที่ดีเช่น เป็นอารมณ์ที่น่าพอใจ เป็นอิฏฐนิปผันนรูปโดยศัพท์หมายถึงอารมณ์ที่ปรากฏทางตาทางหู ทางจมูกทางลิ้นทางกายทางใจ อารมณ์ซึ่งมีสภาวธรรมจริง ๆ เกิดขึ้น
รูปทั้งหมดมี ๒๘ รูปและรูปที่เป็นนิปผันนรูปคือรูปที่มีลักษณะจริง ๆ ของตนคือนิปผันนรูปมี ๑๘ รูป แต่เท่าที่ปรากฏคือ รูปทางตาทางหู ทางจมูก ทางลิ้นทางกาย ซึ่งเป็นอารมณ์อยู่ทุก ๆ วันนี้ เป็นอารมณ์ที่ดีที่น่าพอใจก็มีเป็นอารมณ์ซึ่งไม่น่าพอใจก็มี
เพราะฉะนั้นอารมณ์ซึ่งเป็นอารมณ์ที่น่าพอใจต้องเป็นอารมณ์ที่ดีเท่านั้นจึงจะเป็นอารัมมณาธปิตปิปัจจัย กลิ่นหอมเป็นอารมณ์ที่ดี โดยลักษณะสภาพของกลิ่นที่ดี เป็นอารัมมณธิปติปัจจัย นั่นคือความหมายของอธิปติปัจจัย
แต่ถ้าเป็นอุปนิสสยปัจจัยอารมณ์ที่ดีนั้นต้องมีกำลังที่จะทำให้จิตเกิดขึ้นพอใจอย่างหนักแน่นในอารมณ์นั้น
บางคนเฉย ๆ ใช่ไหมคะอารมณ์ที่ดี สมมติว่าจะไปที่ร้านเพชรนิลจินดาก็มีอารมณ์ที่ดีปรากฏสีต่าง ๆแต่ใจก็เฉย ๆไม่ได้สนใจถึงแม้ว่าอารมณ์นั้นโดยลักษณะสภาพของอารมณ์เป็นอารัมมณาธิปติเป็นอารมณ์ที่ดี เป็นอารมณ์ที่น่าใฝ่ใจเป็นพิเศษ แต่ไม่เป็นอารัมมณูปนิสสยปัจจัย เพราะเหตุว่าไม่สามารถที่จะทำให้จิตเกิดขึ้นติดหรือพอใจอย่างหนักแน่นในอารมณ์นั้น
นี่คือความต่างกันของอารัมมณาธิปติปัจจัยและอารัมมณูปนิสสยปัจจัย
ซึ่งเป็นชีวิตประจำวันใช่ไหมคะ อารมณ์ที่ดีคือรูปที่ดีทั้งหมดลักษณะของรูปนั้นเป็นอารัมมณาธิปติปัจจัย แต่ขณะใดก็ตามซึ่งมีกำลังทำให้จิตเกิดขึ้นพอใจหนักแน่นในอารมณ์นั้นอารมณ์นั้นนอกจากจะเป็นอารัมมณาธิปติปัจจัยแล้วก็เป็นอารัมมณูปนิสสยปัจจัย เป็นที่อาศัยที่มีกำลังที่ทำให้จิตเกิดพอใจใฝ่หาอย่างหนักแน่นในอารมณ์นั้น โลภมูลจิตใช่ไหมคะ ตามปกติของอารัมมณูปนิสสยปัจจัย
เพราะฉะนั้นก็ควรที่จะได้ทราบถึงสภาพธรรมตามความเป็นจริงในชีวิตประจำวัน ว่าอารมณ์ที่ดีมี และอารมณ์ที่ดีเหล่านั้นเองเป็นสภาพธรรมที่มีกำลังที่ทำให้จิตพอใจหนักแน่น เกิดขึ้นโดยไม่ขาดสายซึ่งจะเป็นอนันตรูปนิสสยปัจจัย
เพราะฉะนั้นการที่จะดับกิเลสนี้ถ้าไม่ทราบเรื่องของปัจจัยจริง ๆ ว่าเกิดขึ้นสืบต่อ เป็นมาอย่างแรงกล้า อย่างมีกำลัง และอย่างเหนียวแน่นแค่ไหน จะไปเพียรทำการบังคับ ไม่ให้กิเลสเกิด หรือว่าบังคับที่จะดับกิเลส โดยที่ไม่รู้สภาพที่แท้จริงของปัจจัยทั้งหลาย ย่อมเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เลย
เพราะฉะนั้นการศึกษาให้เข้าใจเรื่องของสภาพปัจจัยต่าง ๆโดยละเอียดขึ้น จะทำให้เข้าใจเรื่องของการอบรมเจริญปัญญาถูกต้องขึ้น และสามารถที่จะละคลายดับกิเลสได้ตามความเป็นจริง แต่ถ้าไม่เข้าใจ จะไม่รู้กำลังของปัจจัยทั้งหลายเลย แม้แต่อารัมมณาธิปติปัจจัย ซึ่งเป็นอารัมมณูปนิสสยปัจจัยอยู่เสมอ สำหรับทุกคนที่ยังมีโลภมูลจิต เพราะเหตุว่าโลภมูลจิตเองก็เป็นอารัมมณาธิปติปัจจัย และเป็นจิตซึ่งเกิดขึ้นพอใจในทุกสิ่งได้ แม้ในโลกียกุศล นอกจากอิฏฐนิปผันรูป คือรูปซึ่งโดยลักษณะแล้วเป็นรูปที่ดี ที่น่าปรารถนาแล้ว จิตทุกดวงเว้นโทสมูลจิต ๒ ดวงโมหมูลจิต ๒ ดวงและทุกขกายวิญญาณคือการปวด เจ็บ เมื่อย ความทุกข์กายต่าง ๆ๑ ดวง จิตอื่นนอกจากนี้ทั้งหมดเป็นอารัมมณาธิปติปัจจัย
ซึ่งโดยลักษณะก็เป็นที่พอใจของทุกคน ที่ต้องการจะมีจิตอยู่เรื่อยๆ แต่ว่ามีจิตหลายประเภทคือในบรรดาอกุศลจิต ๑๒ ดวงอย่าลืมนะคะ อกุศลจิตทั้งหมดมี ๑๒ดวง เมื่อเว้นโทสมูลจิต ๒ดวง เว้นโมหมูลจิต ๒ ดวงแล้วโลภมูลจิต ๘ ดวง เป็นอารัมมณาธิปติปัจจัยแสดงให้เห็นว่า ในบรรดาอกุศลจิตทั้งหมด ๑๒ ดวง ที่เป็นอารัมมณาธิปติปัจจัย ที่เป็นสภาพที่น่าพอใจได้แก่เฉพาะโลภมูลจิต ๘ ดวงเท่านั้นไม่มีใครปรารถนาโทสมูลจิต ทุกคนถามเสมอเมื่อไรจะไม่มีโทสะ ไม่ชอบเลย โมหมูลจิตก็ไม่เป็นที่ปรารถนาเหมือนกัน รวมทั้งทุกขกายวิญญาณด้วย สำหรับประเภทวิบากจิต แต่สำหรับอกุศลจิต ๑๒ ดวงแล้วตัดโทสมูลจิตและโมหมูลจิตได้ ให้ทราบว่าในอกุศลจิต ๑๒ ดวงเฉพาะโลภมูลจิตประเภทเดียวเท่านั้นเป็นอารัมมณาธิปติปัจจัยและเป็นอารัมมณูปนิสสยปัจจัย เพราะเหตุว่าลักษณะของโลภะเป็นลักษณะที่เพลิดเพลินสนุกพอใจเพราะฉะนั้นจึงเป็นอารัมมณาธิปติ โดยลักษณะสภาพของเจตสิก คือ โลภเจตสิกก็ดีหรือโลภมูลจิตก็ดี เป็นสภาพซึ่งทุกคนพอใจติดใจ เพลิดเพลินยินดี เพราะฉะนั้นจึงเป็นอารัมมณูปนิสสยปัจจัย จิตไม่สามารถจะฝืนกระแสที่จะไม่ยินดีพอใจในโลภะนั้น ๆ
เพราะฉะนั้นโลภมูลจิตนั้น ๆจึงเป็นอารัมมณูปนิสสย คือ เป็นอารมณ์ซึ่งมีกำลังซึ่งทำให้จิตและเจตสิกติดหรือยินดี ต้องการในอารมณ์นั้นอยู่เรื่อย ๆ
นี่คือความต่างกันของอารัมมณาธิปติปัจจัยและอารัมมณูปนิสสยปัจจัย
อารัมมณาธิปติปัจจัย หมายเฉพาะลักษณะสภาพของอารมณ์นั้นเป็นที่พอใจ แต่ขณะใดก็ตามที่มีกำลังทำให้จิตเกิดติดหรือพอใจขึ้นขณะนั้นนอกจากจะเป็นอารัมมณาธิปติปัจจัยแล้ว ก็เป็นอารัมมณูปนิสสยปัจจัยด้วย เพราะเหตุว่าเป็นอารมณ์ซึ่งเป็นที่อาศัยที่มีกำลังซึ่งทำให้จิตติด หรือว่าพอใจใฝ่ใจเป็นพิเศษในอารมณ์นั้น
แสนโกฏิกัปป์มมาแล้ว แล้วจะละอย่างไร ในชาตินี้ชาติเดียว จะไปเป็นพระอรหันต์ชาตินี้ชาติเดียวโดยไม่รู้อะไรเลย ไม่รู้กำลังของอารัมมณาธิปติปัจจัยหรืออารัมมณูปนิสสยปัจจัยเลยว่า ทุกวัน ๆ นี้ แม้ว่านอกจากอิฏฐนิปผันรูปคือ รูปที่ดีซึ่งเป็นที่พอใจ