จิตแตกต่างจากเจตสิกอย่างไร


    ผู้ฟัง อยากจะทราบว่าจิต และเจตสิกแตกต่างกันอย่างไร

    อ.วิชัย ความแตกต่างระหว่างจิต และเจตสิก “จิต” หมายถึงว่าเป็นใหญ่ในการที่จะรู้แจ้งในอารมณ์นั้นๆ ขณะนี้กำลังเห็น เห็นในที่นี้คือมีสิ่งที่จิตกำลังรู้ ในสิ่งที่เห็น สิ่งที่กำลังปรากฏได้ทางตา ขณะนั้นจิตเป็นใหญ่ในการรู้แจ้งในสิ่งที่ปรากฏทางตา แต่ว่าแม้ในขณะที่เห็นนั้นเอง ก็มีสภาพธรรมที่เกิดร่วมกับจิตเห็นด้วย นั่นก็คือเรียกว่าเจตสิกนั่นเอง ดังนั้นขณะที่เห็นมีความรู้สึกไหม

    ผู้ฟัง มี

    อ.วิชัย มี ก็คือความรู้สึก ดีใจ เสียใจ หรือว่าเฉยๆ เพราะฉะนั้น ขณะที่เห็นมีความรู้สึกด้วย ไม่ใช่ดีใจ ไม่ใช่เสียใจ แต่ว่าเป็นความรู้สึกเฉยๆ ก็คือประกอบด้วยอุเบกขาเวทนา ให้เห็นว่ามีจิตซึ่งเป็นใหญ่ในการรู้ในสิ่งที่เห็น และก็มีสภาพธรรมที่เกิดร่วมกับจิตด้วยคือ เรืยกว่าเวทนาคือความรู้สึก

    ท่านอาจารย์ จิตกับเจตสิกเป็นนามธรรม เกิดพร้อมกัน และก็ดับพร้อมกัน และก็รู้อารมณ์เดียวกัน ขณะใดขณะหนึ่งที่จิตเกิดขึ้น จะมีเจตสิกเกิดร่วมด้วยอย่างน้อยที่สุด ๗ ประเภท ถ้าเป็นอกุศล ก็เพิ่มอกุศลเจตสิกขึ้นมาอีก ถ้าเป็นโสภณจิตฝ่ายดี ก็เพิ่มทางฝ่ายโสภณเจตสิกขึ้นมา เพราะฉะนั้น ในขณะเดียวที่เกิดสั้นแสนสั้น และทั้งจิต และเจตสิกก็เกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน รู้อารมณ์เดียวกัน ยากต่อการที่เราจะสามารถรู้ถึงลักษณะของเจตสิกแต่ละเจตสิกซึ่งเกิดร่วมกัน

    แต่ให้ทราบว่าจิตเป็นใหญ่เป็นประธาน เพราะเหตุว่าแม้เจตสิกก็เกิดกับจิต ไม่ได้เกิดกับสภาพธรรมอื่นเลย เจตสิกบางเจตสิกไม่ได้เกิดในขณะที่เจตสิกประเภทหนึ่งประเภทใดเกิด แต่จิตต้องมีอยู่ตลอด จะขาดจิตไม่ได้เลย ตั้งแต่เกิดจนตาย มีจิต และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย แต่เจตสิกที่ไม่เกิดกับจิตก็มีในขณะนั้น ไม่ใช่ว่าทั้งหมดของ ๕๒ ประเภทต้องเกิดพร้อมกันในจิตหนึ่งขณะ นี่คือความต่าง

    อ.วิชัย มี ก็คือความรู้สึก ดีใจ เสียใจ หรือว่าเฉยๆ ครับ เพราะฉะนั้น ขณะที่เห็นมีความรู้สึกด้วย ไม่ใช่ดีใจ ไม่ใช่เสียใจ แต่ว่าเป็นความรู้สึกเฉยๆ ก็คือประกอบด้วยอุเบกขาเวทนา ให้เห็นว่ามีจิตซึ่งเป็นใหญ่ในการรู้ในสิ่งที่เห็น และก็มีสภาพธรรมที่เกิดร่วมกับจิตด้วยคือ เรืยกว่าเวทนาคือความรู้สึก

    ท่านอาจารย์ จิตกับเจตสิกเป็นนามธรรม เกิดพร้อมกัน และก็ดับพร้อมกัน และก็รู้อารมณ์เดียวกัน ขณะใดขณะหนึ่งที่จิตเกิดขึ้น จะมีเจตสิกเกิดร่วมด้วยอย่างน้อยที่สุด ๗ ประเภท ถ้าเป็นอกุศล ก็เพิ่มอกุศลเจตสิกขึ้นมาอีก ถ้าเป็นโสภณจิตฝ่ายดี ก็เพิ่มทางฝ่ายโสภณเจตสิกขึ้นมา เพราะฉะนั้นในขณะเดียวที่เกิดสั้นแสนสั้น และทั้งจิต และเจตสิกก็เกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน รู้อารมณ์เดียวกัน ยากต่อการที่เราจะสามารถรู้ถึงลักษณะของเจตสิกแต่ละเจตสิกซึ่งเกิดร่วมกัน

    แต่ให้ทราบว่าจิตเป็นใหญ่เป็นประธาน เพราะเหตุว่าแม้เจตสิกก็เกิดกับจิต ไม่ได้เกิดกับสภาพธรรมอื่นเลย เจตสิกบางเจตสิกไม่ได้เกิดในขณะที่เจตสิกประเภทหนึ่งประเภทใดเกิด แต่จิตต้องมีอยู่ตลอด จะขาดจิตไม่ได้เลย ตั้งแต่เกิดจนตาย มีจิต และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย แต่เจตสิกที่ไม่เกิดกับจิตก็มีในขณะนั้น ไม่ใช่ว่าทั้งหมดของ ๕๒ ประเภทต้องเกิดพร้อมกันในจิตหนึ่งขณะ นี่คือความต่าง แล้วแต่ว่าจิตนั้นจะประกอบด้วยเจตสิกประเภทใด ถ้าประกอบด้วยโลภะความติดข้อง ในขณะนั้นจะไม่มีโทสเจตสิกเกิดร่วมด้วย แต่จิตต้องมี เพราะจิตเป็นสภาพที่เป็นใหญ่เป็นประธาน เมื่อมีการเกิดขึ้นของสัตว์ บุคคลไม่ว่าในภพไหนภูมิไหนก็ตาม จิตจะต้องเป็นสภาพที่รู้แจ้งในลักษณะของอารมณ์ที่ปรากฏ เหมือนกับพระราชามีอำมาตย์ทำงานให้ แต่ตัวพระราชาก็ไม่ต้องทำอะไร

    เพราะฉะนั้น เจตสิกที่เกิดร่วมด้วยก็ทำหน้าที่ของแต่ละเจตสิกที่เกิดกับจิตนั้นๆ แต่ว่าจิตเป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งอารมณ์ ขณะนี้กำลังเห็น สิ่งที่ถูกเห็น เพราะจิตรู้แจ้ง และเวลาที่เห็น เราจะเห็นความละเอียดของสิ่งที่เราอาจจะมองดู สีสัน ซึ่งแม้ว่าใกล้เคียงกันมาก แต่ก็ยังไม่ใช่สีเดียวกัน เพราะเหตุว่าจิตเป็นสภาพที่สามารถที่ทางตาก็คือ เห็นแจ้งในสิ่งที่กำลังปรากฏ

    แต่ส่วนความจำ ความชอบไม่ชอบ ความรู้สึกดีใจเสียใจพวกนั้น เป็นลักษณะของเจตสิกที่เกิดกับจิต แต่ตัวจิตไม่ได้เป็นเวทนาเจตสิก ไม่ได้เป็นเจตสิกอื่นใด เป็นลักษณะของสภาพธรรมที่เป็นใหญ่ ในการรู้แจ้งของลักษณะที่ปรากฏคืออารมณ์


    ที่มา ...

    พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 5


    หมายเลข 4995
    4 ก.ย. 2567