อารมณ์คือสิ่งที่จิตกำลังรู้ สิ่งที่ถูกจิตรู้


    อารมณ์คือสิ่งที่จิตกำลังรู้ แม้ว่ารูปใดมีเหตุปัจจัยเกิด แต่ในขณะนั้นจิตไม่ได้รู้รูปนั้น รูปนั้นไม่ใช่อารมณ์ ต้องเฉพาะสิ่งที่จิตกำลังรู้เป็นอารมณ์ของจิต เพราะฉะนั้น อารมณ์ในภาษาธรรม คือสิ่งที่ถูกจิตรู้ ซึ่งในภาษาไทยจะเป็นความหมายอื่น เช่น อารมณ์ดี อารมณ์ไม่ดี ก็เพราะเหตุว่าเห็นดีบ้าง ได้ยินดีบ้าง ได้กลิ่นดีบ้าง ในวันหนึ่งๆ เราก็บอกว่าอารมณ์ดี แต่ความจริงเราพูดถึงปลายเหตุในภาษาไทย แต่ตัวเหตุจริงๆ ต้องจิตเกิดขึ้น และก็มีอารมณ์ที่กำลังปรากฏให้จิตรู้ จิตต้องรู้อารมณ์ จิตเกิดโดยไม่รู้อารมณ์ได้ไหม ไม่ได้ เมื่อเป็นสภาพรู้ ต้องมีสิ่งที่ถูกรู้ จะมีอารมณ์โดยไม่มีจิตได้ไหม ไม่ได้ เพราะอารมณ์หมายความถึง สิ่งที่ถูกจิตกำลังรู้ รูปไม่เป็นอารมณ์ได้ไหม ได้ แต่อารมณ์ต้องเป็นสิ่งที่จิตกำลังรู้ ถ้าอารมณ์เป็นรูป ก็คือรูปที่จิตกำลังรู้

    “รูป” เป็นรูป ไม่ใช่จิต เจตสิก นิพพาน “เจตสิก” ไม่ใช่จิต ไม่ใช่รูป ไม่ใช่นิพพาน “รูป” ไม่ใช่จิต ไม่ใช่เจตสิก ไม่ใช่นิพพาน “นิพพาน” ไม่ใช่จิต ไม่ใช่เจตสิก ไม่ใช่รูป ต้องเป็นสภาวธรรมที่ต่างกัน และก็มีความหลากหลายที่ว่าทำให้สภาพธรรมที่ปรากฏในวันหนึ่งๆ ต่างกันไป แต่ไม่เที่ยง ไม่ใช่สาระ คือสิ่งที่เราควรจะติดข้องมาก เพราะเหตุว่าเกิดแล้วดับ จนไม่มีอะไรเหลือ


    ที่มา ...

    พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 5


    หมายเลข 4996
    4 ก.ย. 2567