ทุจริตกรรมหนึ่งเป็นปกตูปนิสสยปัจจัยต่อทุจริตกรรมอื่นได้
ทรงเกียรติ เห-ตุปัจจัยจะมีปัจจัยร่วมถึง ๙ ปัจจัยหรือ ๑๑ ปัจจัย จึงคิดว่าทำไมการฆ่าจะเป็นปัจจัยให้ถือเอาสิ่งของ ๆ เขาด้วย และถือเอาภรรยาของเขาด้วย ไม่น่าจะเป็นปกตูปนิสสยปัจจัย
ท่านอาจารย์ ชีวิตประจำวันเป็นอย่างนั้นหรือเปล่า ? แต่ปกตูปนิสสยปัจจัยไม่เป็นสหชาตปัจจัยเช่น การที่ท่านผู้ฟังจะมาศึกษาธรรม ขณะนั้นมีอะไรเป็นอารมณ์ แต่อะไรเป็นปัจจัยให้ท่านมาศึกษาธรรมต้องเป็นปกตูปนิสสยปัจจัย
สัทธาเป็นปัจจัยให้ถือพระรัตนตรัยเป็นสรณะ แต่ถ้าขาดสุตตะ คือ การฟัง การพิจารณาโดยแยบคาย สัทธาเป็นปัจจัยให้เกิดมานะหรือทิฏฐิได้โดยปกตูปนิสสยปัจจัย
อาศัยสัทธานั่นเอง เพราะฉะนั้น“อุปนิสสย”หมายความถึงสภาพธรรมซึ่งเป็นที่อาศัยซึ่งมีกำลัง
นิสสยคือที่อาศัย
อุป คือ สภาพที่มีกำลัง
เพราะฉะนั้นอุปนิสสยปัจจัย คือ ที่อาศัยที่มีกำลัง
เพราะฉะนั้นเวลาที่มีการอยากจะได้ทรัพย์สมบัติของคนอื่น เป็นอุปนิสสยปัจจัย เป็นที่อาศัยที่มีกำลังที่ทำให้เกิดทุจริตกรรม คือ อทินนาทาน ถือเอาสิ่งของที่คนอื่นไม่ได้ให้ เมื่อถือเอาสิ่งของที่คนอื่นไม่ได้ให้โดยการปล้น แล้วยังฆ่าด้วย
เพราะฉะนั้นเมื่อฆ่าในขณะนั้น ที่ปล้นแล้วฆ่า การปล้นนั้นเป็นอุปนิสสยปัจจัยที่ทำให้ฆ่า เป็นที่อาศัยที่มีกำลัง ถ้าไม่ปล้นก็ไม่ฆ่า แต่เมื่อปล้นแล้วฆ่า การปล้นนั้นเองเป็นที่อาศัยที่มีกำลังที่ทำให้เกิดการฆ่าในขณะนั้น
เพราะฉะนั้นอทินนาทานก็เป็นปกตูปนิสสยปัจจัยคือ เป็นที่อาศัยที่มีกำลังที่ทำให้เกิดปาณาติบาต แล้วก็เป็นที่อาศัยที่มีกำลังที่จะทำให้เกิดมุสาวาท และก็เป็นที่อาศัยที่มีกำลังที่ทำให้เกิดผรุสวาจา แล้วก็อาจจะเป็นที่อาศัยที่มีกำลังตามเหตุการณ์ที่จะให้ให้เกิดกาเมสุมิจฉาจารได้ เพราะอาศัยการฆ่าหรืออาศัยอทินนาทาน การถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้
เพราะฉะนั้นก็เชื่อมโยงกันไป โดยที่เหตุการณ์หนึ่งก็เป็นที่อาศัยที่มีกำลังที่จะทำให้เหตุการณ์อีกอย่างหนึ่งเกิดขึ้นต่อไป นั่นคือสภาพที่เป็นปกตูปนิสสยปัจจัย