พระพุทธกิจของพระผู้มีพระภาค


    ในวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง เวลาแบ่งออกเป็นยามละ ๔ ชั่วโมง เพราะฉะนั้น ตอนกลางวัน ตั้งแต่ ๖ โมงเช้าถึง ๔ โมงเช้า นั่นเป็นยาม ๑ แล้วก็จาก ๔ โมงเช้าถึงบ่าย ๒ โมงเป็นอีกยาม ๑ แล้วก็จากบ่าย ๒ โมงถึง ๖ โมงเย็นเป็นอีกยาม ๑ ซึ่งเมื่อ พระผู้มีพระภาค เสร็จภัตตกิจแล้ว ถ้าหากว่าพระองค์จะทรงหวังอยู่ พระองค์ก็ทรงมีพระสัมปชัญญะสำเร็จสีหไสยาสน์ โดยเบื้องขวา สักครู่ ๑ ต่อจากนั้นพระองค์ ซึ่งมีพระกายอันสงบระงับแล้ว เสด็จลุกขึ้น แล้วทรงตรวจดูสัตว์โลกในภาคที่สอง ในภาคที่ ๓ คือตั้งแต่บ่าย ๒ โมงไป ในสมัยที่พระองค์ ทรงเข้าไปอาศัยบ้าน หรือนิคมใดอยู่ คนในบ้านหรือนิคมนั้นถวายทาน และปุเรภัต แล้ว ในปัจฉาภัต คือหลังจากเสร็จภัตกิจแล้ว ชาวบ้าน หรือชาวนิคมก็นุ่งห่มเรียบร้อย แล้วถือของหอม และดอกไม้เป็นต้น ย่อมประชุมกันในวิหาร ต่อแต่นั้นพระผู้มีพระภาค เสด็จไปด้วยปาฏิหาริย์ อันสมควรแก่บริษัทที่มาประชุมกัน ประทับนั่งบนพุทธอาสน์อันบวร อันเขาปูลาดไว้แล้ว ในธรรมสภา ย่อมทรงแแสดงธรรมให้เหมาะแก่กาล ควรแก่ประมาณ ต่อจากนั้นทรงทราบกาลแล้ว จึงทรงส่งบริษัทกลับ เหนื่อยไหมคะ เช้า แล้วก็บ่าย ต่อจากนั้นในภาคที่ ๓ คือ ก่อน ๖ โมงเย็น ถ้าหากว่าพระองค์ประสงค์จะสรงพระกาย ลำดับนั้นจึงได้เสด็จจากพุทธอาสน์ เสด็จไปยังโอกาสที่ภิกษุอุปัฏฐากได้เตรียมไว้แล้ว ได้ทรงรับผ้า วัสสิกสาฏกคือผ้าอาบน้ำ จากมือของภิกษุผู้อุปัฏฐาก แล้วจึงเสด็จเข้าไปยังซุ้มมสำหรับอาบ แม้ภิกษุผู้อุปัฏฐากนำ พุทธอาสน์มาแล้ว ย่อมปูไว้ที่บริเวณ พระ คันธกุฏี พระผู้มีพระภาค ทรงสรงพระวรกายแล้ว ทรงนุ่งจีวร ๒ ชั้น ทรงผ้าประคดเอว ทรงถือผ้าอุตราสงฆ์ เสด็จไปประทับนั่งในที่นั้น หลีกเร้นอยู่ แต่พระองค์เดียวครู่ ๑ ต่อจากนั้น ภิกษุทั้งหลายออกจากสถานที่นั้นๆ แล้ว จึงพากันมาในที่ใกล้พระผู้มีพระภาค บรรดาภิกษุเหล่านั้น บางพวกถามปัญหา บางพวกทูลขอพระกรรมฐาน อย่าลืม คือฟังพระธรรมที่เกี่ยวกับการปฏิบัติ ที่ว่าขอพระกรรมฐาน นี่คะ เพราะอะไร ถ้าไม่เข้าใจแล้วปฏิบัติได้ไหม ไม่ใช่ขอไป บอกไป เพียงแต่ขอ เพียงแต่บอกไม่ใช่อย่างนั้น แต่ต้องหมายความถึงการที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงธรรมที่เกี่ยวกับการปฏิบัติ ซึ่งเป็นข้อปฏิบัติให้ภิกษุเหล่านั้นได้ปฏิบัติถูกต้อง บางพวกทูลขอการฟังธรรม แล้วแต่ว่าจะเป็นเรื่องของกุศลธรรมมีเท่าไร อกุศลธรรมมีเท่าไร พระผู้มีพระภาค ทรงทำตามประสงค์ของภิกษุเหล่านั้นให้สำเร็จอยู่ ย่อมทำ ปฐมยาม ให้ล่วงไป โอกาสที่จะทรงพักผ่อนก็น้อยมาก เพราะว่าหลังจากที่สรงพระวรกายแล้ว ก็ยังมีภิกษุที่มาเฝ้า แล้วก็ถามปัญหา ย่อมทำปฐมยามให้ล่วงไป ตั้งแต่ ๖ โมงถึง ๔ ทุ่ม ๖ โมงเย็น ถึง ๔ ทุ่ม ในมัชฌิมยาม คือ ตั้งแต่ ๔ ทุ่มถึงตี ๒ พวกเทวดาจากหมื่นโลกธาตุ เมื่อได้โอกาสจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ทูลถามปัญหาตามที่ตนได้แต่งขึ้น โดยที่สุด อย่างน้อยเป็นปัญหา แม้ที่มีอักษร ๔ ตัว คือถามทุกอย่างตั้งแต่สั้น จนกระทั่งถึงเรื่องยาวทีเดียว พระผู้มีพระภาคเมื่อทรงแก้ปัญหาของเทวดาเหล่านั้นอยู่ ย่อมให้มัชฌิมยามล่วงไป หมดแล้วนะคะ ถึงตี ๒ ต่อจากนั้น พระองค์ทรงอธิฐาน จงกรม ภาค ๑ กระทำให้เป็น ๔ ภาคตลอด ปัจฉิมยาม สำหรับในปัจฉิมยาม คือตั้งแต่ตี ๒ จนกระทั่งถึง ๖ โมงเช้า ก็แบ่งออกภาค ๑ แบ่งออกเป็น ๔ ภาค ๔ ชั่วโมง ต่อจากนั้นพระองค์ทรงอธิฐานจงกรม ภาค ๑ กระทำให้เป็น ๔ ภาค ตลอดปัจฉิมยาม คือตั้งแต่ตี ๒ ถึงตี ๓ ก็ทรงอธิฐานจงกรม ตั้งแต่ตี ๓ จนถึง ตี ๔ ทรงเสด็จเข้าไปพระคันธกุฎี ในภาคที่ ๒ คือ ตั้งแต่ตี ๓ จนถึง ตี ๔ มีพระสติสัมปชัญญะ สำเร็จสีหไสยาสน์ โดยพระข้างเบื้องขวา ชั่วโมงเดียว ที่ทรงพักผ่อน โดยบรรทม ในภาคที่สาม ปล่อยเวลาให้ล่วงไป ด้วย พลสมาบัติคือ ตั้งแต่ ตี ๔ ถึงตี ๕ ในภาคที่ ๔ คือตั้งแต่ตี ๕ ถึง ๖ โมงเช้า เสด็จ เข้ามหากรุณาสมาบัติ ทรงตรวจดูสัตว์โลกด้วยพุทธจักษุเพื่อทรงตรวจดู สัตว์ทั้งหลาย มีสัตว์ที่มี ธุลีในตาน้อย และสัตว์ที่มีธุลีในตามาก นี่คือปัจฉาภัตตกิจของพระพุทธเจ้า ทั้งหลาย ซึ่งทรงบำเพ็ญพระบารมีที่จะอนุเคราะห์สัตว์ โลก เพื่อให้การถึงพร้อม ด้วยสัตตูปการสัมปทา เมื่อพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงกระทำ ปัจฉาภัตตกิจแล้วอย่างนี้ เมื่อทรงตรวจดูสัตว์โลกด้วยพุทธจักษุ เพื่อทรงตรวจดูสัตว์ทั้งหลาย ผู้มีอธิการ อันตนไม่ได้กระทำ แล้ว คือไม่ได้ทำบุญไว้ก่อน และมี อธิการอันตน ได้กระทำแล้วในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ทั้งหลาย และในกรรมทั้งหลาย มีทาน ศีล และ อุโบสถกรรมเป็นต้น ผู้มีอุปนิสัยที่ยังไม่ถึงพร้อม ทั้งผู้มีอุปนิสัยที่ถึงพร้อม ทั้งท่านผู้ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัยแห่งพระอรหันต์ ในอวสานแห่งภาคที่ ๔ ต่อจากนั้น พระผู้มีพระภาค ก็จะทรงเสด็จไปโปรดเวนัยยสัตว์เหล่านั้น ซึ่งข้อความต่อไป มีว่า ในกาลใดพระผู้มีพระภาค ทรงปรารถนา ที่จะเสด็จเข้าไปในที่ไหนๆ แต่พระองค์เดียว พระองค์ก็ทรงปิดประตู ในเวลาที่จะเสด็จบิณฑบาต โดยที่เสด็จเข้าไปภายใน พระคันธกุฏิ แต่กาลนั้นภิกษุทั้งหลายย่อมทราบด้วยสัญญาณนั้นว่า พระผู้มีพระภาค จะเสด็จเข้าไปในบ้าน แต่พระองค์เดียวเท่านั้น พระองค์ได้ทรงเห็นแล้วซึ่งบุคคลบางคน ที่จะพึงแนะนำแน่แท้ ภิกษุเหล่านั้นก็ถือบาตร และจีวรของตน กระทำ ประทักษิณพระคันธกุฏี ถวายบังคม แล้วย่อมเข้าไปบิณฑบาต คือพระผู้มีพระภาค ไม่ต้องตรัสบอกภิกษุ คะ ว่าพระองค์จะเสด็จไปอนุเคราะห์ใคร แต่ว่าในกาลใด ที่จะอนุเคราะห์บุคคลใด ก็จะเสด็จไปโดยลำพังพระองค์เดียว โดยวิธีที่ว่า พอถึงเวลาที่จะเสด็จบิณฑบาต ก็เสด็จเข้าไปในพระคันธกุฏี ภิกษุทั้งหลายก็ทราบได้ว่า วันนั้นพระผู้มีพระภาค จะเสด็จเข้าไปในเขตบ้านแแต่เพียงพระองค์เดียว เพื่อที่จะทรงอนุเคราะห์แก่บุคคลใด บุคคลหนึ่ง


    หมายเลข 5051
    3 ส.ค. 2567