กายคตาสติโดยนัยของสมถะ - วิปัสสนา
ท่านอาจารย์ ยังสงสัยไหมคะ เพราะฉะนั้น สำหรับท่านที่ยังไม่ได้เป็นพระอริยสาวก จะทำ
อย่างไร คะ เจริญสติปัฏฐาน เพื่อที่จะให้บรรลุคุณธรรมเป็นพระอริยเจ้า แล้วก็มีการที่จะ เข้าใจซาบซึ่งในพระคุณของพระรัตนไตร ยิ่งขึ้น มีความสงบ ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ
ผู้ฟัง คะ ดิฉันเคยทราบมาว่า ก็มีอนุสติ ๑๐ ใช่ไหมคะ เมื่อท่านอาจารย์พูด เมื่อครั้งก่อนนี้ ก็พูดถึงว่า ท่านพระมหานามะไปทูลถามพระพุทธเจ้า แล้วพระพุทธเจ้า ก็พูดถึงว่า ตรัสถึงว่าอนุสติ ๖ คะ คือว่า พุทธานุสติ ธรรมานุสติ สังฆานุสติ แล้วก็ สีลานุสติ แล้วก็จาคานุสติ เทวดานุสติ แล้วทีนี้อีก ๔ นั้นดิฉันขอความกรุณาให้อาจารย์ ต่อให้จบเลย จะได้เข้าใจ
ท่านอาจารย์ มรณสติ กายคตาสติ อานาปานสติ อุปสมานุสติ
ผู้ฟัง มรณานุสติ แล้วก็อะไรอีก นะคะ
ท่านอาจารย์ กายคตาสติ
ผู้ฟัง กายคตาสติ
ท่านอาจารย์ อานาปานสติ อุปสมานุสติ การระลึกถึงคุณของพระนิพพาน
ผู้ฟัง สำหรับ กายา กายคตาสติ ดิฉันจะขอเรียนถามถึง กายคตาสติ คือหมายความว่าขณะที่เราเจริญญสติ นี่ ระลึกที่ตาเห็น หูได้ยิน จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส แล้วก็การสัมผัสเย็นร้อนอ่อนแข็ง ตรึงไหว เป็นกายานุสติหรือยัง
ท่านอาจารย์ กายคตสติ นะคะ มี ๒ นัย คำว่า กายคตสติ คือ สติซึ่งระลึกเป็นไปในกาย โดยนัยของวิปัสสนาแล้ว กายคตสติ หมายถึง กายานุปัสสนาสติปัฏฐานทั้งหมด แต่ว่าโดยนัยของสมถะ แล้ว กายคตาสติ หมายความถึง สติที่ระลึกที่ส่วนของกาย ที่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย เพื่อให้เกิดความสลดสังเวช หรือความสงบ เช่นระลึกที่ผม ส่วน ๑ ขน เล็บ ฟันหนัง ทีละลักษณะ ที่ละส่วน ให้เห็นความไม่งาม หรือว่าความเป็นปฏิกูล ของสิ่งที่เคยยึดถือ เคยพอใจอย่างมาก นั้นโดยนัยของสมถภาวนา