สมถะเป็นธรรมสำหรับการปฏิบัติได้จริง


    ท่านอาจารย์ ไม่ทราบท่านผู้ฟังยังมีข้อสงสัยอะไรอีกบ้างหรือเปล่า คะ ในเรื่องของสมถภาวนา เพราะเตุว่า อย่าลืมว่า แม้สมถภาวนา ก็เป็นธรรมที่จะต้อง ปฏฺบัติ แต่ว่าสำหรับเรื่องสมถะนี่ก็เป็นเรื่องที่จะต้องพิจารณาอย่างรอบครอบ เพราะเหตุว่าธรรมทั้งหมด สำหรับปฏิบัติ อย่าลืม แม้แต่สมถะ ความสงบนี่คะ ไม่ใช่พูดเล่นๆ หรือว่าเป็นแต่เพียงทฤษฎี แต่เป็นเรื่องที่ปฏิบัติได้จริงๆ ถ้ารู้ว่าขณะไหนเป็นสมถะ หรือว่าขณะไหนไม่ใช่สมถะ ก็จะได้เว้น ข้อปฏิบัติที่ไม่ใช่สมถะที่ไม่สงบ เพราะว่าส่วนมาก มักจะเข้าใจสับสน ในเรื่องของสมถภาวนา อย่างเช่นในขณะนี้ คะ จะสงบไหมคะ มีใครจะสงบบ้าง มีไหมคะ ถ้ามี ขอเรียนถามว่าท่านจะทำอย่างไร ที่ท่านจะสงบ นี่คะ หรือท่านเคยทำอย่างไร เชิญคะ

    ผู้ฟัง ตามความเข้าใจ คือสมถภาวนา นี่มี ถึง ๔๐ วิธี คือเจริญ อนุสติ ๑๐ แล้วก็

    ท่านอาจารย์ อสุภ

    ผู้ฟัง อสุภกรรมฐาน ๑๐ แล้วก็ จตุตธาตุวัตฐาน ๔ อาหาเรปฏิกูล แล้วก็พวกกสิณอีก ๑๐ ทีนี้ก็สุดแท้แต่ว่า เราจะปฏิบัติอะไร

    ท่านอาจารย์ เดี๋ยวนี้คะ

    ผู้ฟัง ขณะนี้หรือคะ

    ท่านอาจารย์ ใช่ขณะนี้ เรื่องธรรมเป็นเรื่องปฏิบัติ ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ เรื่องจริง

    ผู้ฟัง ขณะนี้ ขณะที่ฟังอาจารย์ นี้หรือคะ ถ้าจะทำจริงๆ ก็ทำอานาปานสติ ได้

    ท่านอาจารย์ ทำอย่าไรคะ

    ผู้ฟัง กำหนดลมหายใจคะ โดยใช้สติจับไว้ที่จุดลมกระทบ

    ท่านอาจารย์ ขอให้พิจารณาให้ละเอียด ว่าขณะที่คิดว่าสงบ ต่างกันหรือเหมือนกัน กับขณะที่ก่อนจะทำ

    ผู้ฟัง ไม่เหมือนคะ

    ท่านอาจารย์ ไม่เหมือนอย่างไรคะ

    ผู้ฟัง ความสงบ

    ท่านอาจารย์ สงบทันทีเลย หรือคะ

    ผู้ฟัง ไม่ใช่ คะ ความสงบ สมมติว่าในขณะนี้

    ท่านอาจารย์ มีหลายท่านทีเดียว มักจะใช้คำว่า สมมติ เอาตามความเป็นจริงเลย

    ผู้ฟัง อันนี้จริงๆ คะ คือความสงบนี่ เข้าใจว่ามีขั้นตอน

    ท่านอาจารย์ แต่ดิฉันอยากจะให้พิจารณา ศึกษาสภาพของจิต โดยละเอียด ว่า ขณะที่จะจับจ้องที่ลมหายใจ จะทำอานาปาน ความรู้สึกในขณะนั้น ความคิดลักษณะของจิตในขณะนั้น ต่างกับขณะก่อนที่จะคิดอย่างนี้หรือเปล่า

    ผู้ฟัง ต่างกันคะ

    ท่านอาจารย์ ต่างกันอย่างไร คะ

    ผู้ฟัง .แต่เดิม จิตมีปกติซัดส่าย อาจจะคิดไปในอารมณ์ต่างๆ แต่เมื่อเราเริ่ม

    ท่านอาจารย์ มีโลภะไหมคะ ก่อนที่จะคิดทำ อานาปาน มีโลภะไหมคะ

    ผู้ฟัง ก่อนที่จะคิดทำ อานาปาน ถ้าเริ่มคิดจะทำแล้วก็ละไป

    ท่านอาจารย์ เดียวคะ ก่อนนั้น มีไหมคะ ก่อนนั้นมีโลภะไหมคะ ปกติของขณนะนี้คะ

    ผู้ฟัง อ๋อ

    ท่านอาจารย์ มีโลภมูลจิตบ้างไหมคะ

    ผู้ฟัง แล้วแต่แหตุปัจจัย ที่เกิดขึ้น

    ท่านอาจารย์ คะ ธรรมดา ปกติมีบ้างไหม

    ผู้ฟัง ควรจะมี คะ

    ท่านอาจารย์ ควรจะ นะคะ นี่ก็แสดงให้เห็น แล้วว่า การที่จะรู้ลักษณะของจิต นี่คะแสนยาก อาจจะเข้าใจ คาดคะเนได้ว่า คงจะเป็นอย่างนี้ หรือว่าคงจะเป็นอย่างนั้น แต่เรื่องของปัญญาไม่ใช่เรื่องคงจะ เรื่องของปัญญา เป็นเรื่องที่รู้ชัดจริงๆ เพราะฉะนั้น ท่านผู้ฟังก็จะเห็นได้ว่า จิต ช่างเป็นสภาพธรรม ที่แสนจะรู้ยาก อาจจะศึกษาเข้าใจว่าจิต มี ๘๙ ดวง หรือว่า ๘๙ ประเภท แต่ว่าเวลานี้จิตชนิดไหนกำลังเกิด ยากที่จะรู้ เพราะว่า เกิดดับอย่างรวดเร็ว ลักษณะของสภาพธรรมที่เป็นโลภมูลจิต ดับไปแล้ว อาจจะมีลักษณะของสภาพธรรมอย่างอื่น เกิด แต่ถ้าสติไม่เกิด พร้อมสัมปชัญญะที่จะระลึกศึกษา รู้ลักษณะของสภาพของจิตในขณะนั้น จริงๆ ก็ยังคงเป็นการคาดคะเนอยู่นั่นเอง ไม่ใช่เป็นการรู้ลักษณะของจิตจริงๆ เพราะฉะนั้น แม้แต่โลภมูลจิต ซึ่งคงจะมี หรือว่าควรจะมี เท่านั้น ใช่ไหมคะ แต่ไม่ได้รู้ลักษณะของโลภมูลจิต จริงๆ ที่กำลังมี ว่ามีลักษณะอย่างไร เพราะฉะนั้น ที่เรียนถามให้พิจารณาว่า เวลาที่คิดจะจับจ้องที่ลมหายใจ ต่างกับขณะก่อนที่คิดจับจ้อง ที่ลมหมายใจอย่างไรหรือไม่ เพราะเหตุว่า ลักษณะของโลภะอย่างที่ไม่เคยรู้มาก่อน จะย้ายจากอารมณ์ ๑ ไปสู่อีกอารมณ์ ๑ ได้ไหม นี่ต้องเป็นปัญญาพร้อมสัมปชัญญะ ที่จะระลึกรู้ลักษณะสภาพของจิต ว่า เป็นจิตที่สงบ หรือไม่สงบ ความต่างกันของจิตต้องมี ในจิตที่สงบ และในจิตที่ไม่สงบ เพราะฉะนั้น ถ้าไม่รู้ความจริงอย่างนี้ เจริญสมถภาวนาไม่ได้ เพราะฉะนั้น การเจริญสมถภาวนาจริงๆ จะยากหรือจะง่าย เพราะเหตุว่าต้องเป็นปัญญา ที่สามารถจะรู้ลักษณะของจิตในขณะนี้เอง เพื่อที่จะได้รู้ว่าขณะใด เป็นโลภะ ขณะใดสงบ แต่ถ้ายังไม่สามารถที่จะรู้ได้ ก็เป็นโลภะไปทั้งหมด แต่ก็เข้าใจว่าสงบได้ เพราะเหตุว่าไม่รู้แม้ลักษณะของโลภมูลจิตที่กำลังมีในขณะนี้ เพราะว่าไม่มีอาการที่ต่างกันเลย เพียงแต่เปลี่ยนอารมณ์ ด้วยเหตุนี้ ในพระไตรปิฎก เมื่อเจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะได้ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับที่นิโคธารมใกล้กรุงกบิลพัสด์ ทุลถามว่า พระอริยสาวกส่วนมาก อยู่ด้วยวิหารธรรมอะไร พระผู้มีพระภาค ไม่ได้กล่าวถึงอานาปานเลย แต่กล่าวถึง พุทธานุสติ ธรรมานุสติ และสังฆานุสติ สีลานุสติ จาคานุสติ เทวดานุสติ แล้วผู้ที่ยังไม่เป็นพระอริยบุคคล ควรจะอยู่ด้วยวิหารธรรมอะไร ที่สงบ นี่เป็นสิ่งที่น่าคิด เพราะว่าจะต้องรู้ลักษณะของจิตที่สงบจริงๆ ว่าขณะใดที่จิตผ่องใส เป็นกุศล เวลาที่มีการศึกษาธรรม เข้าใจธรรม ระลึกถึงพระพุทธคุณ ไม่ใช่เพียงแต่ว่าตามว่า อรหังสัมมาสัมพุทโธ หรือว่านโมตัสสภควโต เพราะว่าถึงแม้ว่าจะกล่าวอย่างนั้น โดยขาดสัมปชัญญะที่จะพิจารณาลักษณะของจิต ขณะจิตไม่สงบได้ จะกล่าวคำพูดอะไรด้วยโลภมูลจิตก็ได้ ไม่มีความต่างกัน แต่ว่าขณะใดที่ความสงบเกิดขึ้น แม้ไม่ได้กล่าวอย่างนั้น สติสัมปชัญญะ ที่รู้ลักษณะของความสงบ ขณะนั้นก็ยังมีได้ โดยที่ว่าไม่ต้องกล่าวคำว่า นโมตัสส อรหโต สัมมาสัมพุทโธ แต่ว่าสภาพของจิต กำลังน้อมระลึกถึง พระพุทธคุณ แล้วเกิดความปีติ ผ่องใส เป็น กุศลในขณะนั้น นั่นก็เป็นพุทธานุสติ


    หมายเลข 5064
    3 ส.ค. 2567