อริยสาวกผู้อยู่ด้วยความประมาท


    ในคราวก่อนได้กล่าวถึง สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค นันทิยสูตร ซึ่งมีข้อความว่า พระอริยสาวกผู้อยู่ด้วยความประมาทนั้นคืออย่างไรแล้วพระอริยสาวกผุ้อยู่ด้วยความประมาทนั้นอย่างไร ซึ่งท่านผู้ฟัง คงจะจำได้ ที่ว่า อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ตลอดไปตามบทของพระพุทธคุณ จนกระทั่งถึง เป็นผู้จำแนกธรรม อริยสาวกนั้นพอใจแล้วด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้านั้น ไม่พยายามให้ยิ่งขึ้นไป เพื่อความสงัดในกลางวัน เพื่อหลีกเร้นในกลางคืน เมื่ออริยสาวกนั้นเป็นผู้ประมาทอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่มีปราโมทย์ เมื่อไม่มีปราโมทย์ ก็ไม่มีปีติ เมื่อไม่มีปีติ ก็ไม่มีปัสสัทธิ เมื่อไม่มีปัสสัทธิ ย่อมอยู่เป็นทุกข์ จิตของผู้มีความทุกข์ย่อมไม่เป็นสมาธิ เมื่อจิตไม่เป็นสมาธิ ธรรมทั้งหลายย่อมไม่ปรากฏ เพราะธรรมทั้งหลายไม่ปรากฏ อริยสาวกนั้นย่อมถึงความนับว่า อยู่ด้วยความประมาท ซึ่งข้อความตอนนี้ก็ ได้กล่าวถึงแล้วในคราวก่อน ที่ว่าสงัดในกลางวันนั้น คือสงบจากกิเลส วันนี้ รู้สึกว่าสงบจากกิเลสสอะไรบ้างไหมคะ ถ้ากุศลจิตไม่เกิด จะไม่ปรากฏความสงัด หรือความสงบจากกิเลส แต่ในขณะที่ไม่ว่าสภาพธรรม ใดๆ จะเกิดขึ้น ปรากฏ หรือว่าจะมีความยินดียินร้ายในอารมณ์ใดๆ ที่ปรากฏ แต่เวลาที่สติเกิดขึ้น ระลึกรู้ ลักษณะของสภาพธรรมในขณะนั้น เวลาที่สงบจาก อกุศล ขณะนั้นคือสงัดจากกิเลส ในกลาวัน คือในชีวิตประจำวันจริงๆ ชีวิตประจำวันจริงๆ มีโลภะมาก มีโทสะมาก ถ้าสติไม่เกิด ขณะนั้นไม่สามารถที่จะสงัด หรือสงบจากกิเลสได้ เพราะว่าชีวิตประจำวัน ของทุกท่าน จะต้องมีการพบปะกับบุคคลต่างๆ อยู่เสมอ มีการคิดนึกตรึกตรอง ในเรื่องกิจการงาน ในธุระกิจต่างๆ อยู่เสมอ แต่สติก็สามารถที่จะเกิดได้ ขณะใดที่สติเกิด ขณะนั้นสงบแล้ว หรือสงัดในเวลากลางวัน แต่ถ้าอยู่ในที่หลีกเร้น ไม่มีใครเลย แต่เต็มไปด้วยกิเลสมาก แม้ในเวลากลางคืน ก็ไม่ชื่อว่าหลีกเร้น หรือว่าไม่ชื่อว่าสงัดเพราะเหตุว่าขณะนั้นจิตเป็นอกุศล


    หมายเลข 5065
    3 ส.ค. 2567