สุขเวทนาเป็นปกตูปนิสสยปัจจัยให้เกิดสุขเวทนาได้


    สำหรับความกว้างขวางของปกตูปนิสสยปัจจัย นอกจากกุศลเป็นปัจจัยให้เกิดกุศลได้ กุศลเป็นปัจจัยให้เกิดอกุศลได้กุศลเป็นปัจจัยให้เกิดอัพยากตธรรมได้ และโดยนัยเดียวกัน อกุศลเป็นปกตูปนิสสยปัจจัยให้เกิดอกุศลได้อกุศลเป็นปกตูปนิสสยปัจจัยให้เกิดกุศลได้ และอกุศลก็เป็นปัจจัยให้เกิดอัพยากตะคือวิบากจิตและกิริยาจิตได้

    นอกจากนั้นแล้วอัพยากตธรรมเป็นปัจจัยให้เกิดอัพยากตธรรมได้

    ซึ่งข้อความในพระไตรปิฎกได้กล่าวถึงสุขเวทนาทางกายเป็นปัจจัยให้เกิดสุขเวทนาทางกายอีก หรือเป็นปกตูปนิสสยปัจจัยให้เกิดทุกข์ทางกายโดยทั่ว ๆ ไปและสำหรับผู้ที่เป็นพระอริยอจ้า ก็เป็นปัจจัยให้เกิดผลสมาบัติ สำหรับผู้ที่ไม่ใช่พระอริยบุคคลก็หมดปัญหานั้นไป

    เพราะฉะนั้นสุขทางกายเป็นปัจจัยให้เกิดสุขทางกายหรือทุกข์ทางกาย แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของกาย ซึ่งทุกคนมีทั้งนามธรรมและรูปธรรม และสุขทุกข์ทั้งหมดก็ไม่พ้นจากรู้ทั้งหลาย ทางตาบ้าง ทางหูบ้าง ทางจมูกบ้าง ทางลิ้นบ้าง ทางกายบ้างแต่ลองพิจารณาจริง ๆ ว่าอะไรเป็นปัจจัยสำคัญจริง ๆ ถ้าตาไม่เห็นเสีย แต่ทางกายไม่เดือดร้อนไม่เป็นทุกข์ ก็ยังไม่ลำบาก ทางหู ทางจมูกทางลิ้น ถึงแม้ว่ารสจะไม่อร่อยเป็นบางครั้งบางคราว แต่ถ้ากายยังแข็งแรงดี เป็นปกติดี ก็ไม่เดือดร้อน

    เพราะฉะนั้นกายซึ่งทุกคนมีอยู่ ย่อมเป็นที่ตั้งที่ปรารถนาจะให้เกิดสุขเวทนา

    เพราะฉะนั้นสุขเวทนาซึ่งเป็นอัพยากตธรรม เพราะเหตุว่าเป็นวิบากจิต ไม่ใช่กุศลจิตหรืออกุศลจิตขณะใดที่รู้สึกสุขทางกาย ขณะนั้นเป็นวิบากจิต เมื่อมีความพอใจในสุขนั้นจึงเป็นปัจจัย คือปกตูปนิสสยปัจจัยให้สุขเวทนาทางกายเกิดอีก

    ชีวิตประจำวันจริง ๆ เพียงแต่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงให้เห็นว่าสภาพธรรมใดเป็นปกตูปนิสสยปัจจัย เพราะเหตุว่าทุกท่านมีความห่วงใยในร่างกายต้องแข็งแรงสุขภาพพลานามัยสมบูรณ์ ต้องประกอบด้วยสุขเวทนา พยายามทุกทางที่จะไม่ให้กายนี้เป็นทุกข์เดือดร้อน

    เพราะฉะนั้นก็เป็นปัจจัย ที่อาศัยที่มีกำลังซึ่งจะให้สุขเวทนาซึ่งเป็นอัพยากตธรรมเกิดอีก


    หมายเลข 5109
    28 ส.ค. 2558