ตาเป็นรูปธรรมที่ไม่ปรากฏให้รู้ได้ในชีวิตประจำวัน
อ.วิชัย เวทนากับสัญญา ทำไมแยกออกมาจากเจตสิก ๕๒ อยากให้ท่านอาจารย์พูดถึงความสำคัญของสัญญาอีกหน่อยค่ะ
ท่านอาจารย์ ต่อไปเราจะพูดถึงปรมัตถธรรมที่แยกออกมาเป็นขันธ์ต่างๆ แต่เราจะไม่ใช้ชื่อ แล้วไปจำชื่อ ไม่มีประโยชน์ แต่ต้องเข้าใจ อย่างจิตเป็นสภาพซึ่งเป็นใหญ่ เป็นประธานในการรู้แจ้ง เพราะฉะนั้นก็ต่างกับเจตสิกทั้งหมดเลย จิตเป็นขันธ์หนึ่ง ชื่อวิญญาณขันธ์ การที่ใช้คำหลายหลาก ใช้คำว่า จิตบ้าง ใช้คำว่าวิญญาณบ้าง ใช้คำว่ามโนบ้าง มนัสบ้าง ต่อไปก็จะมี หทย, ปัณฑระ ต่างๆ เหล่านี้ แสดงให้เห็นว่าเพื่อที่จะให้เข้าใจลักษณะของจิตโดยประการต่างๆ ถ้าใช้ชื่อเดียว ประเดี๋ยวได้ยินชื่ออื่นก็คิดว่าไม่ใช่จิตแล้ว แต่ความจริงก็คือจิตนั่นเอง
เพราะฉะนั้นถ้ากล่าวถึงสภาพธรรมมีขันธ์ ๕ ได้แก่รูปขันธ์๑ เวทนาขันธ์๑ สัญญาขันธ์๑ สังขารขันธ์๑ วิญญาณขันธ์๑ ยังไม่อยากให้จำชื่อ แต่อยากให้เข้าใจธรรม ว่าขณะนี้จิตเป็นวิญญาณขันธ์ เป็นธรรมประเภทหนึ่ง เหมือนกับรูปเป็นธรรมประเภทหนึ่ง รูปเป็นธรรมซึ่งไม่ใช่สภาพรู้ เพราะฉะนั้นจะไม่ปะปนกับสภาพธรรมอื่นเลย เป็นส่วนของรูปทั้งหมด ทั้งอดีต ปัจจุบัน อนาคต ไกล ใกล้ หยาบ ละเอียด คือลักษณะของรูปนั่นเอง รูปทั้งหมดเป็นรูปขันธ์ จิตทั้งหมดเป็นวิญญาณขันธ์ เพราะฉะนั้นที่เหลือเป็นอะไร ปรมัตถธรรมมี ๔ แต่ถ้าพูดถึงปรมัตถธรรม ๓ เกิดดับ ปรากฏในชีวิตประจำวัน ก็จะมีปรมัตถธรรม๓ คือ จิต เจตสิก รูป
อ.วิชัย ท่านอาจารย์กล่าวถึงนามธรรมที่เป็นสภาพรู้อารมณ์มี ๒ อย่าง คือ จิต และเจตสิก ฉะนั้นตา หรือหูที่ได้ยินขณะนี้เป็นนาม หรือเปล่าครับ
ท่านอาจารย์ ถ้าพูดถึงตาต่อไปเราก็จะทราบว่าไม่เห็นอะไร แต่จิตเห็น อาศัยตา เพราะฉะนั้นถ้าพูดถึงเห็น เป็นนามธรรมคือจิต เป็นวิญญาณขันธ์ ถ้าพูดถึงอารมณ์คือสิ่งที่ถูกเห็น ขณะนั้นต้องเป็นรูปธรรม เพราะว่าสิ่งที่ปรากฏไม่รู้อะไรเลย เป็นรูปธรรม เพราะฉะนั้นถ้าพูดถึงเห็น เป็นนามธรรมคือจิต เป็นวิญญาณขันธ์ ถ้าพูดถึงอารมณ์คือสิ่งที่ถูกเห็น ขณะนั้นต้องเป็นรูปธรรม เพราะว่าสิ่งที่ปรากฏไม่รู้อะไรเลย เป็นรูปธรรม และขณะที่เห็นก็คิดถึงเรื่องราวต่างๆ เป็นจิต หรือเปล่า เป็นอารมณ์ หรือเปล่า เป็นอะไร ขณะนั้นก็คือว่าจิตกำลังคิดนึกเรื่องราวต่างๆ เพราะฉะนั้นเรื่องราวต่างๆ ไม่ใช่สี ไม่ใช่สิ่งที่ปรากฏทางตา ในขณะนั้นก็เป็นบัญญัติ เป็นเรื่องราวของสิ่งที่ปรากฏ ถ้าคิดถึงเรื่องคน ก็เพราะเป็นเรื่องราวของสิ่งที่ปรากฏทางตา กล่าวได้ว่าขณะใดก็ตามที่ไม่มีปรมัตถ์เป็นอารมณ์ ขณะนั้นมีบัญญัติเป็นอารมณ์
อ.วิชัย ถ้ากล่าวถึงตา ถ้าตาไม่ใช่สภาพรู้ก็ต้องเป็นรูปธรรม
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง แต่รู้ไหมว่าเป็นอารมณ์ที่เกิดในชีวิตประจำวัน หรือเปล่า
อ.วิชัย ไม่เป็น
ท่านอาจารย์ ทั้งๆ ที่มีตา แต่มีใครเคยเห็น และเคยรู้ลักษณะของปสาทรูปนั้นบ้างไหม เพราะฉะนั้นรูปที่เป็นโคจรรูป รูปซึ่งเป็นอารมณ์จริงๆ ในชีวิตประจำวัน มี ๗ รูป
ที่มา ...