เจริญความสงบไม่ได้หากปราศจากสติสัมปชัญญะ


    ผู้ฟัง มีการปฏิบัติ อันนี้ก็ เท่าที่ศึกษามาคือการเจริญสมาธิ หายใจเข้า พุท หายใจออกโธ อะไรต่างๆ เหล่านี้ ในขณะนั้น ก็เท่ากับว่า ที่ได้ฟังใน อังคุตตรนิกาย ฉกนิบาต ที่ท่านอาจารย์ได้บรรยายเมื่อกี้นี้ ก็ไม่ได้อยู่ในวิหารธรรมที่พระผู้มีพระภาค ทรงตรัสไว้เลย เพียงแต่เป็นสมาธิแต่ละขณะ แต่ละขณะ ที่คิด คำว่าพุท คำ คำว่า โธ คำ

    ท่านอาจารย์ คะ เพราะฉะนั้น การที่จะเจริญความสงบ อย่าลืมว่า ถ้าปราศจากสติสัมปชัญญะ ที่รู้วาระจิต คือ รู้สภาพของจิตในขณะนั้น ว่า เป็นกุศล หรือ เป็นอกุศล แล้วละก็ ไม่สามารถจะสงบได้ ธรรมดาของบุคคลซึ่งมีความยินดีพอใจในรูปในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ ซึ่งเป็นชีวิตประจำวัน ไม่มีใครที่ไม่ปรารถนาใน รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ใช่ไหมคะ เพราะฉะนั้น เมื่อมีความต้องการ ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ซึ่งยังไม่ได้ลดลงไปด้วยปัญญา ที่รู้สภาพธรรม ยิ่งขึ้น ตามความเป็นจริง เพราะฉะนั้น เวลาที่มีความปรารถนา แทนที่จะเป็นรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อาจจะปรารถนาความจดจ้อง ที่ลมหายใจ ซึ่งแท้ที่จริงแล้ว ลักษณะที่แท้จริง คือปรมัตถธรรม ของลมหายใจ นั้นก็คือ โผฏฐัพพะ ธรรมดาๆ นั่นเอง เวลาที่กระทบสัมผัส สิ่ง ๑ สิ่งใด รู้สึกว่าอ่อนหรือแข็ง เย็นหรือร้อน เป็นสภาพธรรม ที่ปรากฏให้รู้ได้ ทางกาย ฉันใด ลมหายใจก็คือโผฏฐัพพะ ลักษณะที่อ่อน ที่เบา หรือที่แรง หรือที่อุ่น หรือร้อน หรือที่เย็น ที่ปรากฏให้รู้ได้ ทางกายฉันนั้น เพราะฉะนั้น ความปรารถนาธรรมดา ซึ่งทุกคนมีอยู่ ในเย็นร้อน อ่อนแข็งที่ปรากฏทางกาย กับความต้องการ ซึ่งต้องการจะให้จิตจดจ้อง คือปรารถนาโผฏฐัพพะ ที่กระทบปรากฏนั่นเอง ก็ไม่มีความต่างกันเลย สำหรับผู้ที่ที่ปราศจากสติสัมปชัญญะ แล้วปัญญา ไม่เกิด รู้ความต่างกันของจิต เพราะเหตุว่า ขณะที่กำลังนั่งอยู่อย่างนี้ เวลาที่อกุศลจิตเกิดขึ้น มีโลภะ ความต้องการอารมณ์ ๑ อารมณ์ใด แล้วก็เปลี่ยนไปเป็นลมหายใจ ลักษณะของจิต ไม่ต่างกันเลย ใช่ไหมคะ เป็นความต้องการนั่นเอง แต่เปลี่ยนจากที่นั่งธรรมดา ไปหาโผฏฐัพพะ ที่กระทบที่จมูก ที่เป็นลมหายใจ เพราะฉะนั้น ไม่มีลักษณะของปัญญาที่รู้เหตุผล ว่าเพราะอะไร จะสงบ เมื่อระลึกที่ลมหมายใจ ไม่มีปัญญาที่รู้ เลยคะว่าเพราะอะไรจึงสงบเมื่อระลึกที่ลมหายใจ

    ผู้ฟัง เพราะฉะนั้น ความต้องการ ที่อาจารย์ได้อธิบาย ก็หมายความว่า ละเอียดจาก ย้ายจากกามคุณอารมณ์ มาเป็น

    ท่านอาจารย์ ธรรมดา คะโผฏฐัพพะ ที่กระทบ ใช่ไหมคะ ที่กาย เวลานี้ทุกท่านมีโผฏฐัพพะปรากฏ เพระาว่า ทุกท่านมีกาย กระทบ แต่ว่าความต้องการย้ายจาก ความต้องการความพอใจในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ไปสู่ความต้องการที่จะจดจ้องที่ลมหายใจโดยปัญญาม่รู้ว่าจิตที่ สงบเมื่อระลึกที่ลมหายใจนั้น มีลักษณะอย่างไร เพราะไม่มีความต่างกันเลย จากชั่วขณะที่มีโลภะธรรมดา กับการเปลี่ยนเป็นความต้องการที่จะจดจ้อง ที่ลมหายใจ มีอะไรที่ต่างกัน คะ ระหว่างนั้น ถ้าปัญญาไม่เกิด ก็คือโลภมูลจิตนั่นเอง

    ผู้ฟัง อันนี้สาเหตุที่แท้จริงแล้ว ของผู้ที่ปฏิบัติอย่างนั้นแล้ว เกิดจากความไม่เข้าใจ เป็นอันดับแรก ใช่ไหมครับ

    ท่านอาจารย์ พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงว่า สำหรับการอบรมเจริญภาวนา ไม่ว่าจะเป็นสมถะ หรือ วิปัสสนาก็ตาม ย่อมไม่สามารถจะกระทำได้ ถ้าปราศจากปัญญา

    ผู้ฟัง ปัญญาก็คือความเข้าใจ ได้ยินเข้าว่า หายใจเข้าพุท หายใจออกโธ แล้วก็จะเป็นกุศล

    ท่านอาจารย์ เข้าใจอะไรคะ

    ผู้ฟัง ก็ เข้าใจตามเขา โดยที่อาจจะเป็นความเข้าใจผิด


    หมายเลข 5153
    3 ส.ค. 2567