ความเพียรที่ถูกต้องคือความเพียรที่เกิดพร้อมกับสติ
ท่านอาจารย์ เชิญคะ
ผู้ฟัง ขอเรียนถามเรื่องความเพียร ครับ ที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้ว่า บุคคลพึงล่วงพ้นความทุกข์ได้ด้วยความเพียร ความเพียรในที่นี้นั้น เป็นความเพียรที่หมายถึง ความเพียรที่จะน้อมสติมาระลึกรู้ รูปธรรมหรือนามธรรม หรือความเพียรที่จะต้องไปเพ่ง หรือเไปเดินจงกรม ไปนั่งกรรมฐาน หรือเข้าห้อง ประเภทนั้น คือ อาจารย์ทำความเข้าใจ หน่อยครับ
ท่านอาจารย์ คะ ความเพียรเกิดพร้อมกับสติ ไม่ต้องห่วงเรื่องความเพียร ในขณะใดที่สติเกิดขณะนั้นมวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย
ผู้ฟัง ก็แสดงว่าแค่นี้ก็เป็นลักษณะของการเพียรแล้ว อย่างเช่นในพระสุตตันตปิฏก พระสูตร ลักษณะของการเพียรมีความมุ่งหมาย ทางด้าน ว่าจะต้องมีความเพียรอย่างแรงกล้า เดินจงกรม นั่งกรรมฐาน อะไรอย่างนั้น แล้วอีกประการอย่างพระโสณเถระ เดินจนสนเท้าแตก ก็ทำให้เห็นได้ว่า ถ้าเราจะเพียรไปสู่พระนิพพานได้นั้นก็ ต้องทำอย่างพระโสณเถระ อย่างนั้น หรือเปล่า ครับ
ท่านอาจารย์ แล้วผล เป็นอย่างไรคะ จะทำอย่างท่านพระโสณ คะ นั่นคือความปรารถนา ความต้องการที่จะทำ แล้วผล คืออย่างไร ผล นี่คะ คืออย่างไร คะ
ผู้ฟัง ถ้าหากว่าไม่ก่อให้เกิดปัญญา ผมเข้าใจว่า คงไม่เป็นประโยชน์ แต่อย่างใดเลย
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ที่สำคัญที่สุดคือปัญญา ใครจะทำอย่างไร เรื่องของการสะสมของแต่ละบุคคล เพราะฉะนั้น พระอริยเจ้าทั้งหลาย ที่เป็นบรรพชิตก็มี ที่เป็นคฤหัสถ์ ก็มี ท่านก็มีการบรรลุมรรคผล ตามโอกาสอันควรของท่าน แต่ว่าผู้ที่ยังไม่ได้อบรมเจริญปัญญา พอที่จะมีกำลังที่จะให้รู้แจ้งอริยสัจธรรม แล้วจะไปพยายามทำอย่างท่านพระโสณะบ้าง ผลก็ย่อมไม่เกิด
ผู้ฟัง นี้ ผมเคยประสบมากับตัวเอง เคยเข้าห้องกรรมฐานมา ประมาณ ๓ เดือน ด้านปฏิบัติๆ ไปก็เข้าใจว่าตัวเองสำเร็จเป็นพระโสดาบันบุคคล แล้ว คือมันอย่างไรก็ไม่ทราบ ตัวเองหรอกตัวเองว่า สำเร็จแล้วอย่างนั้น อย่างนี้ แล้วผมก็ไปสอบอารมณ์กับอาจารย์ๆ ก็บอกว่ายัง ให้เราปฏิบัติต่อ เมื่อปฏิบัติอยู่ ขณะทำความเพียร เดินจงกรม นั่งกรรมฐานอยู่ ๒ วันกับคืน ไม่ได้นอน เลย เดินแล้วล้ม สลบ ล้มลงไปแล้วหัวแตก ก็ไม่ก่อให้เกิดปัญญา แล้วก็ไม่สามารถจะตัดกิเลสเป็นสุทจเฉท ได้แต่อย่างไร ก็ที่เล่าให้ฟัง ก็เพียงเป็นข้อคิดเห็นสำหรับ คนหมู่มาก ที่ได้ฟังเช่นนี้ สำหรับที่จะนำไปพิจารณาว่า ก่อให้เกิดประโยชน์ ไหม หรือว่า เป็นประโยชน์ ต่อตัวเองอย่างใด นี้ก็หมดปัญหา แล้วมีอีกปัญหา ๑ คือในขณะที่เรา บางอารมณ์ที่เรารู้สึกตื่นเต้นๆ อย่างมาก เราไม่ต้องการให้มันตื่นเต้น แล้วเราจะ เราสามารถจะบังคับได้
ท่านอาจารย์ จะบังคับหรือคะ หรือว่าจะระลึกรู้ลักษณะของความตื่นเต้น ซึ่งมีจริง เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย โดยมากทุกท่านไม่ชอบอกุศลเลย แน่นอนที่สุด แต่พอระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรม ยากนักที่จะไม่ระลึกรู้ลักษณะของอกุศลตามความเป็นจริงที่กำลังปรากฏ โลภมูลจิต มีอยู่เป็นประจำ เป็นประจำจนไม่รู้สึก ขณะนี้คะ ถ้าสติไม่เกิด ระลึกรู้ลักษณะของนามธรรมที่กำลังเห็น หรือรูปธรรมที่ปรากฏทางตา เสียงที่กำลังปรากฏ หรือนามธรรมที่ได้ยินเสียง ถ้าสติไม่เกิด ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมเหล่านี้ จะบอกได้ไหมคะว่าเมื่อก่อนที่สติจะเกิดนั้น เป็นกุศล หรือเป็นอกุศล ถ้าสติไม่เกิดแล้ว อกุศลที่มี มาก จนกระทั่งครอบงำ และ อกุศลนั้น ย่อมไม่สามารถที่จะรู้ลักษณะของรูปธรรม และนามธรรมใดๆ ได้เลย เพราะฉะนั้น ก็ขอ อนุโมทนาท่านผู้ฟัง คะ ที่ท่านทราบว่า ไม่ใช่พระโสดาบัน แล้วก็เมื่อปฏิบัติต่อไป ก็ยังมีการเผลอตัว ขณะที่ว่าหกล้มจนกระทั่งศีรษะกระแทรก ศีรษะแตก นั่นไม่ใช่ลักษณะของปัญญา แล้ว ก็ถ้าท่านผู้ฟังมีความสงสัย ลักษณะนั้น เป็นลักษณะของอะไร สภาพธรรมอะไร เวลาเผลอตัว ย่อมจะมีเหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้น ได้ ถ้านั่งอยู่ ไม่เผลอ ก็คงจะไม่มีการที่จะ คะมำ หรือทำให้เกิดการล้มลงไปหรืออะไรขึ้น เพราะฉะนั้น เวลาที่มีการเผลอเกิดขึ้น ก็จะมีกอาการที่ผิดปกติที่ไม่ใช่สติสัมปชัญญะ เพราะฉะนั้น ในขณะนั้นเกิดขึ้น เพราะการปฏิยัติ ซึ่งทำให้กิดการเผลอขึ้น ทีละเล็กทีละน้อย ทีละเล็กทีละน้อย จนกระทั่งสามารถที่ทำให้เกิดล้ม แล้วก็มีอันตรายเกิดขึ้นได้ ไม่ใช่สติสัมปชัญญะ บริบูรณ์ อย่างในขณะนี้