ถ้าไม่ศึกษาสมถภาวนา การเจริญสมาธินั้นจะไม่สงบเลย


    ผู้ฟัง ทางกสิณนี้ ผมก็เคยปฏิบัติมา ก่อนที่จะพบอาจารย์ ได้ฟังอาจารย์ ประมาณสัก ๒๐ ปีได้ คือเริ่มต้น ทีแรกผมไม่ได้ทำ ปฐวีกสิณ ทำเตโชกสิณ คือมองเพ่งเทียน แล้วก็ให้นิมิตนั้นมาอยู่ในอารมณ์ ก็ทำก็ได้ผลบ้าง คือไปนั่งที่ไหนก็ได้ โดยผมทำถึงขนาดว่า ไม่ต้องไปเห็นเทียน หรือไม่เห็นไฟอะไร จะไปนั่งที่ไหน หลับตาก็เกิด นิมิตนั้นก็เกิดขึ้น แต่ว่าทำไป ทำไปมัน รู้สึกมันหนัก หนักหัวสมอง เดี๋ยวๆ ทำไปแล้วก็ต้องเลิก แล้วในระหว่างที่นิมิตเกิดขึ้น ผมมาฟังอาจารย์ดูแล้ว ที่ว่า จิตจะสงบๆ มันสงบ จะว่าสงบ พิจารณาให้ละเอียด ใช้ปัญญาแล้วมันไม่มีสงบ เพราะว่าจิตเกิดหลายดวง บางทีถ้าหากว่า นิมิตนั้น สมมติว่าเพ่งเทียน พอนิมิตมันขยาย เป็นลูกใหญ่ มีสีสวยในนิมิตนั้น เราก็เกิดปีติๆ ขึ้นมาผมว่ามันมีความโลภอยู่ โลภะนิดๆ เกิด ขึ้นมาแล้ว ทีนี้บางที่

    ท่านอาจารย์ ขอประทานโทษ ท่านจะเห็นความสับสน ของผู้ที่ปฏิบัติโดยที่ ขาดการศึกษาลักษณะของจิต อย่างละเอียดจริงๆ จะเห็นได้ว่าดูคล้ายกับว่าจะขยายนิมิตได้ ใช่ไหมคะ แต่ตามความเป็นจริงแล้ว ต้องถึงปฏิภาคนิมิตก่อนจึงจะขยายได้

    ผู้ฟัง ไอ้อย่างนี้ผมก็ไม่ทราบ แต่ว่ามันมีอยู่อย่างนี้

    ท่านอาจารย์ แล้วก็ต้องกำหนด ขนาดนิมิตที่จะขยายด้วย จึงควรขยาย ไม่ใช่อยู่ดีๆ ก็ขยายออกไปได้ เพราะฉะนั้น ท่านผู้ฟังจะเห็นได้ว่า ถ้าขาดการศึกษาโดยละเอียด อะไรๆ ก็เป็นนิมิต ใช่ไหมคะ ซึ่งจิตสงบ หรือเปล่า ถ้าเป็นผู้ที่มีปกติระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรม แล้วพิจารณาโดยละเอียด ท่านผู้ฟังก็กล่าวว่า ไม่ได้สงบ แต่ว่ามีความต้องการ เพราะฉะนั้น สมาธิ คือความจดจ้อง ตั้งอยู่ที่อารมณ์เดียว ไม่ได้หมายความว่าในขณะนั้นจิตจะสงบ เพราะฉะนั้น ถ้าไม่ศึกษาเรื่องของสมถภาวนากรรมฐาน พร้อมสติสัมปชัญญะที่สามารถระลึกรู้ในลักษณะของความสงบแล้ว การเจริญสมาธิ ไม่ได้ทำให้จิตสงบเลย แต่สามารถที่จะมีอารมณ์ปรากฏตามที่ต้องการ

    ผู้ฟัง อันนี้สมัยก่อน ผมก็ไม่ รู้ เข้าใจว่ามันเป็นนิมิต อะไรต่ออะไร ตานี้มาฟังอาจารย์ ผมก็เข้าใจว่า ในระหว่างนั้น มันไม่มีสติ เพราะมันหลงอยู่อย่างนั้น พอนิมิตขยายกว้างก็ดีใจ แจ่มใส พอเกิดนิมิตเล็กเข้ามา หรือมีอะไร จะสีเขียว สีดำ เป็นจุด เป็นนิมิตเกิดขึ้น ก็ชักโมหะชักเกิด ทีแรกผมก็ไม่รู้ ทีนี้มา ฟังอาจารย์ให้เจริญสติบ่อยๆ มาเปรียบเทียบกันแล้ว ถึงเข้าใจว่า ไอ้ที่ว่า เราว่าสงบๆ มันไม่มีเลย ในนั้น แล้วอย่าง ประการสำคัญที่ร้ายที่สุด เมื่อขณะกำลังทำ ก็นึกว่าตัว เอง เป็นผู้วิเศษ อะไรต่ออะไร ยังคิด ดูถูกเหยียดหยามคนอื่น เป็นต้นว่า สมภาร ยังนึกติเตียนว่า สมภาร สู่เราไม่ได้ คนอื่นสู่เราไม่ได้ มันมีสับสนกันมาอย่างนี้ แล้วมันรู้สึกว่าเป็นเรื่องหนักสมอง ปฏิบัติมากๆ ไป

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ที่สำคัญที่สุด คือต้องพิจารณาความต่างกันของความสงบ กับ สมาธิ เพียงแต่อ่านวิสุทธิมรรค แล้วก็จดจ้องที่อารมณ์ ซึ่งเข้าใจว่าเป็น สมถกรรมฐาน แต่ขณะนั้นสติไม่ได้ระลึก พร้อมสัมปชัญญะคือปัญญา ที่จะรู้ลักษณะของจิตในขณะนั้น ว่าสงบ หรือไม่สงบ นี่เป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะฉะนั้น พระอริยเจ้าทั้งหลาย ซึ่งเป็นผู้ที่รู้แจ้งอริยสัจธรรมแล้ว ท่านสามารถที่จะระลึกรู้ลักษณะของจิตที่สงบ ที่เป็นกุศล เมื่อมีอารมณ์ที่ทำให้สงบ เช่น พุทธานุสติ สำหรับท่าน สงบ เพราะระลึกถึงพระคุณของพระผู้มีพระภาค ถึงแม้ว่าจะไม่กล่าวคำว่า อิติปิโส ภควา ขณะนี้ มีการระลึกถึงพระธรรม ที่พระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดงแล้ว แม้ว่าจะไม่เคยเห็นองค์ของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่เมื่อได้ศึกษาพระธรรม ก็ได้เห็นว่า ไม่มีบุคคลอื่นใดในโลก นอกจากพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่จะทรงแสดงธรรม ได้ละเอียดตามความเป็นจริง ในขณะนี้ ถ้าระลึกอย่างนั้น สติจะรู้ถึง ความสงบของจิต เพราะเหตุว่าระลึกถึงพระพุทธคุณ เพราะฉะนั้น ก็จะเห็นได้ ว่า แทนที่จะไปเพ่งจ้องที่ปฐวีกสิณ สำหรับผู้ที่เป็นพระอริยสาวก มีปัจจัยที่จะให้ระลึกถึงพระคุณของพระผู้มีพระภาค แล้วก็ปัญญาสามารถที่จะรู้ชัดในสภาพธรรม ในขณะนั้นตามความเป็นจริงด้วย ไม่ใช่เพียงระลึก คะ แต่ว่าเคารพ นมัสการ สักการะ ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยจิต ด้วยการปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม คือเจริญสติปัฏฐาน


    หมายเลข 5165
    3 ส.ค. 2567