จิตกับปัญญารู้แจ้งอารมณ์ที่ปรากฏต่างกันอย่างไร
ผู้ฟัง สมมติว่า แขนขาดลงไปวางอยู่บนพื้นถนน ขณะนั้นก็ไม่มีชีวิตรูป เพราะชีวิตรูปดับไปแล้ว ก็มีเฉพาะอตุชรูปเท่านั้น
อ.ธีรพันธ์ คำว่ารู้แจ้งอารมณ์ในความหมายของจิต กับปัญญาที่รู้ตามความเป็นจริง เหมือน หรือต่างกันอย่างไร ในคำว่ารู้แจ้งอารมณ์
ท่านอาจารย์ รู้แจ้งด้วยวิญญาณ รู้แจ้งด้วยสัญญา รู้แจ้งด้วยปัญญา ปัญญาเป็นสภาพที่เห็นถูก เข้าใจถูก ไม่ใช่เป็นแต่เพียงสภาพที่เห็นแจ้งลักษณะของอารมณ์ เด็กๆ ก็สามารถเห็นแจ้งลักษณะทางอารมณ์ได้ ทุกคนที่มีตา และมีสิ่งที่ปรากฏ จิตเห็น เห็นแจ้งลักษณะของอารมณ์ บางท่านอาจจะบอกว่าเห็นไม่ชัด แต่จะชัด หรือไม่ชัดอย่างไร อารมณ์ที่ไม่ชัดเพราะจิตกำลังรู้แจ้ง จึงกล่าวว่าอารมณ์นั้นไม่ชัด มีลักษณะที่สามารถจะรู้แจ้งลักษณะของอารมณ์เท่านั้น แต่แจ้งนัยนี้ไม่ได้หมายความว่าชัด เช่น บางคนก็อายุมากแล้ว ตาก็เสื่อม มองอะไรก็ไม่ชัด แล้วจะกล่าวว่าขณะนั้นจิตรู้แจ้งลักษณะของอารมณ์ที่ปรากฏ หรือไม่ อารมณ์จะปรากฏโดยความชัด หรือไม่ชัดก็ตาม แต่จักขุวิญญาณ คือจิตนั้น เป็นสภาพที่เห็นแจ้งความไม่ชัดของลักษณะของรูปที่ปรากฏด้วย คือตามความเป็นจริงในขณะนั้น เพราะฉะนั้นจิตไม่ใช่ปัญญา เพราะไม่ได้เห็นถูกต้องว่าขณะนั้นเป็นสภาพธรรม ซึ่งเมื่อลืมตาขึ้น สิ่งนี้ก็ปรากฏในลักษณะนี้ พอหลับตาลงไปสิ่งที่ปรากฏก็เป็นอีกลักษณะหนึ่ง ก็มีแต่เพียงลักษณะของอารมณ์ต่างๆ ในวันหนึ่งๆ จิตเป็นสภาพที่รู้ลักษณะนั้น จะใช้คำว่ารู้ลักษณะก็ได้ หรือจะใช้คำว่ารู้แจ้ง เพราะว่าลักษณะนั้นอาจจะใกล้เคียงกันมาก แต่จิตก็เป็นสภาพที่รู้แจ้งในลักษณะซึ่งแม้จะใกล้เคียงกันอย่างไร แต่จิตก็ยังเห็นความต่างได้ นั่นก็คือเป็นแต่เพียงสภาพที่รู้ลักษณะของอารมณ์ แต่ปัญญาเป็นความเห็นถูก ความเข้าใจถูก ความรู้ถูก ว่าสภาพธรรมนั้นเป็นอย่างไร ไม่ใช่ตัวตนอย่างไร มีลักษณะต่างกันอย่างไร นั่นก็เป็นปัญญา
ที่มา ...