การพิจารณาอสุภะโดยนัยของสติปัฏฐานกับสมถภาวนา


    การเจริญกายานุปัสสนาสติปัฏฐานที่เป็นอสุภะบรรพ ต่างกับการเจริญอสุภกรรมฐาน โดยนัยของสมถภาวนาอย่างไร

    พอท่านเห็นข้อความในมหาสติปัฏฐานว่า คล้ายคลึงหรือว่ามีข้อความเดียวกันกับสมถกรรมฐาน ท่านก็ไปเข้าใจคิดเองว่า จะต้องเจริญสมถภาวนาให้เป็นฌานจิตเสียก่อน แล้วถึงจะเจริญวิปัสสนา แต่ในมหาสติปัฏฐานไม่ใช่อย่างนั้นเลย เป็นคนละเรื่องทีเดียว ไม่ว่าในอานาปานบรรพ หรือว่าในปฏิกูลมนสิการบรรพ ธาตุมนสิการบรรพ หรือว่าอสุภภาวนานี่ก็ตาม ถ้าเป็นเรื่องของสติปัฏฐานแล้ว ไม่ใช่เป็นเรื่องที่ให้ท่านไปทำขึ้น แต่ว่าเรื่องของสมถภาวนานั้น เป็นเรื่องที่ต้องการให้จิตสงบ แล้วก็เป็นเรื่องของการให้ไปทำขึ้น เวลานี้ติดไม่สงบถ้าจะให้สงบจะเจริญอสุภกรรมฐานที่เป็นสมถภาวนาแล้วก็จะต้องศึกษาทีเดียวว่าจะเจริญด้วยวิธีอย่างไรจะต้องมีซากศพจริงๆ ในลักษณะนั้นๆ ที่ตรงเป็นสัปปายะแก่ที่ตรงเป็นสัปปายะแก่จริตของแต่ละคนที่จะทำให้จิตสงบระคายจากการพอใจในรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ แล้วก็ให้มีนิมิตของซากศพนั้นเป็นอารมณ์ โดยที่ไม่ได้รู้ลักษณะของนามรูป ทางตาหูจมูกลิ้นกายใจเลย นั่นเป็นนัยของสมถภาวนา ซึ่งจะต้องศึกษาว่า ในการพิจารณาอสุภะจนกระทั่งจิตสงบเป็นฌานจิตนั้นจะต้องเจริญอย่างไร เพราะเหตุว่าอสุภะนี้น่ากลัว เวลานี้ไม่น่ากลัวเพราะว่าทุกคนยังมีชีวิต แต่เป็นซากศพที่ขึ้นพอง สีเขียวน่าเกลียด เกิดความรู้สึกอย่างไร ไม่พอใจ กลิ่นก็ไม่น่าพอใจ เพราะฉะนั้นผู้ที่ต้องการระงับจากความยินดีพอใจในรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ ให้จิตสงบโดยมีนิมิตของอสุภะเป็นอารมณ์ ก็จะต้องศึกษาถึงวิธีเจริญจนกระทั่งเกิดนิมิต ให้จิตสงบเป็นขั้นๆ จนกระทั่งเป็นปฐมฌาน ไม่รู้รูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะอื่นๆ เลย เพราะฉะนั้นการเจริญสมาธิกับการเจริญสติปัฏฐานนี้แยกกันต้องเข้าใจให้ชัดเจนว่าสมาธิต้องการทำให้มีขึ้นในสิ่งที่ขณะนั้นไม่มี เช่นในขณะนี้ไม่สงบ สมาธิต้องการทำให้สงบโดยอาศัยว่าจะพิจารณาอย่างไร จะมนสิการอย่างไร จะบังคับอย่างไร หรือ จะมีวิธีเจริญอย่างไร เพื่อให้จิตสงบ แต่ในขณะที่กำลังทำให้จิตสงบไม่รู้ลักษณะของนาม และรูปที่กำลังปรากฏทางตาทางหูทางจมูกทางลิ้นทางกายทางใจตามความเป็นจริงเลย และในขณะที่เป็นฌานจิตก็ไม่มีการรู้อารมณ์ทางตาหูจมูกลิ้นกายใจ ไม่ใช่ปัญญาที่รู้แล้วละการยึดถือสิ่งที่กำลังปรากฏสิ่งที่กำลังปรากฏว่าไม่ใช่ตัวตน เพราะฉะนั้นจุดประสงค์ของการเจริญสมถภาวนากับการเจริญสติปัฏฐานนั้นต่างกัน ก็จะต้องเข้าใจให้ถูกแม้ในอสุภะที่เป็นกายานุปัสสนาสติปัฏฐานก็จะต้องเข้าใจด้วยว่าเป็นเพียงเครื่องระลึกเท่านั้น ไม่ใช่ว่าให้ไปสร้างให้ไปทำขึ้นให้จิตสงบ มีนิมิตของซากศพ ไม่ให้รู้รูปสิ่งกลิ่นรสโผฏฐัพพะธรรมารมณ์ที่กำลังปรากฏทุกๆ ขณะ นั่นเป็นคนละอย่าง แล้วก็ไม่ใช่ให้ท่านไปเจริญอสุภกรรมฐานจนเป็นฌานจิตเสียก่อนแล้วถึงจะเจริญวิปัสสนา เพราะเหตุว่าการเจริญสติปัฏฐานเป็นการฝึกอบรมปัญญาให้มีกำลังเพิ่มขึ้น ให้เป็นอินทรีย์ ให้เป็นพละ ให้ไม่หวั่นไหวต่ออารมณ์ใดๆ ที่กำลังปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ไม่ว่าในสถานที่ใดทั้งสิ้น นั่นเป็นลักษณะของพละความไม่หวั่นไหวของอินทรีย์ทั้ง ๕ ที่จะต้องเจริญอบรมให้มาก เพราะฉะนั้นเวลาที่จิตน้อมไปสู่ความสงบ ผู้ที่มีปกติเจริญสติจึงสามารถระลึกได้ ว่าขณะนั้นก็เป็นนามธรรมชนิดหนึ่ง แล้วก็ละคลายการที่จะยึดถือความสงบนั้นว่าเป็นตัวตน แต่ไม่ใช่การเจริญสติปัฏฐานเป็นการที่ให้เจริญสมถภาวนาจนกระทั่งได้ฌานแล้วก็มีอัตตาเป็นตัวตนไปยกขึ้นสู่วิปัสสนาได้ตามใจชอบ ไม่ใช่อย่างนั้นเลย เรื่องของการที่สติจะเกิดขึ้นระลึกได้ รู้ว่าเป็นแต่เพียงนามเป็นแต่เพียงรูป ต้องอาศัยการเจริญสติเป็นปกติจนกระทั่งเป็นพละไม่หวั่นไหว ไม่ว่านาม และรูปใดๆ จะปรากฏเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย


    หมายเลข 5303
    2 ส.ค. 2567