ความหมายของ อุปาทะ - ฐิติ - พังคะ


    สำหรับความหมายของฐีติขณะคือ สภาพธรรมซึ่งเกิดและตั้งอยู่ยังไม่ดับไป

    ข้อความในอภิธัมมัตถวิถาวินี ปริจเฉทที่ ๘ อธิบายว่า

    ความเกิดขึ้น ชื่อว่า“อุปาทะ”ได้แก่ การกลับได้ตัวตน

    ความสลาย ชื่อว่า“ภังคะ”ได้แก่ความพินาศแห่งรูปที่มีอยู่

    ความเป็นไป บ่ายหน้าสู่ความสลายในระหว่างความเกิดและความสลายทั้งสอง ชื่อว่า“ฐิติ”

    นี่คือความหมายของ อุปาทะ ฐิติ ภังคะ

    ความเกิดขึ้น ชื่อว่า“อุปาทะ” ได้แก่การกลับได้ตัวตน “ไม่มีแล้วก็มี” อย่างธาตุแข็ง หรือเสียง เกิดมีขึ้น เป็นตัวตนขึ้น คือเป็นสภาพของเสียง นั่นคือ “อุปาทะ” การเกิดขึ้น หรือขณะที่เกิด

    สำหรับความสลายชื่อว่า“ภังคะ” ได้แก่ ความพินาศของรูปที่มีอยู่ รูปใดก็ตาม ซึ่งเกิดแล้ว ความสลายไปของรูปนั้นคือ“ภังคะ”

    สำหรับ“ฐิติ” คือความเป็นไปบ่ายหน้าสู่ความสลาย ในระหว่างความเกิดและความสลายทั้งสอง ชื่อว่า“ฐิติ”


    หมายเลข 5333
    27 ส.ค. 2558