ลักษณะของสัญญาเจตสิกคือจำ
ผู้ฟัง สัญญาเจตสิกขณะที่จำอารมณ์ ที่เป็นปัจจุบันอย่างเดียว หรือว่าจำอารมณ์ที่เป็นอดีต และอนาคตด้วย
อ.วิชัย รู้สิ่งใดก็จำในสิ่งนั้น จะเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน หรือพ้นจากทั้ง ๓ กาล เช่น จำชื่อบุคคลได้ใช่ไหม
ผู้ฟัง จำได้ ตรงนั้น ไม่ใช่เป็นลักษณะของการคิด หรือ
อ.วิชัย จำกับคิด ถ้าเราพบบุคคล เราสามารถจะรู้ได้ไหมว่าคนนี้ชื่ออะไร
ผู้ฟัง รู้ เพราะว่าเราคิดถึงสัญญาที่เราจำไว้ได้
อ.วิชัย แสดงว่าเคยมีสัญญาที่จำความเป็นบุคคลนี้อยู่ ใช่ไหม ถ้าไม่เคยรู้จัก สามารถจะรู้ หรือไม่ว่าบุคคลนี้เป็นใคร
ผู้ฟัง
อ.วิชัย แสดงว่าต้องมีสัญญาเจตสิกที่จำ และขณะที่รู้ขณะนั้นก็จำด้วย ขณะนี้ก็จำใช่ไหม
ผู้ฟัง จำนี่คือจำใหม่ แต่ขณะที่เราคิดถึงก็คือคิดถึงสัญญาเก่าที่เราจำไว้
อ.วิชัย ขณะที่คิดก็มีสัญญาจำในสิ่งที่คิดเหมือนกัน
ผู้ฟัง ก็คือจำสิ่งที่คิดใหม่ ไม่ได้จำอดีต
อ.วิชัย ถ้าสัญญาเกิดขึ้นรู้สิ่งใด สัญญาก็เป็นลักษณะของเขา คือมีการจำเป็นลักษณะ สัญญารู้สิ่งใดก็จำในสิ่งนั้น เช่น อาจจะจำได้ว่าเป็นชื่อโน้นชื่อนี้ หรือรถคันนั้นคันนี้ ก็เป็นลักษณะที่จำคือสัญญา แต่ขณะที่เห็นก็จำ ขณะที่คิดก็จำ เพราะสัญญามีลักษณะที่จำ
ท่านอาจารย์ จำก็ไม่รู้ว่าจำก็มี ทั้งๆ ที่จำก็ไม่รู้ว่าจำ แต่จำแล้ว อย่างไรก็ต้องจำตลอด จำสิ่งที่กำลังปรากฏที่จิตกำลังรู้ แน่นอน
ผู้ฟัง จำที่กล่าวว่าเป็นอดีต ก็คือเรื่องราวเท่านั้นเอง แต่สัญญาก็คือปัจจุบันที่จำเรื่องราว
ท่านอาจารย์ เราก็ไปคิดถึงเรื่องราวว่าอดีต แต่ขณะที่จิตรู้สิ่งใด สัญญาที่เกิดกับจิตนั้นจำสิ่งนั้น
ที่มา ...