ภัยของวิญญานาหารเปรียบเหมือนถูกแทงด้วยหอก ๓๐๐ เล่ม
ซึ่งข้อความในปปัญจสูทนี มีข้ออธิบายว่า
พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรม เปรียบวิญญาณาหารด้วยการถูกแทงด้วย หอก ๓๐๐ เล่มโดยนัยเป็นต้นว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลายราชบุรุษทั้งหลายจับโจรผู้เที่ยวทำโจรกรรมแม้ฉันใดดังนี้ เพื่อความสิ้นไปแห่งความยินดีในวิญญาณาหารในข้อนี้มีอรรถโยชนาโดยสังเขปด้วยคำอธิบายดังต่อไปนี้
ส่วนในข้อเปรียบกับการถูกแทงด้วยหอก ๓๐๐ เล่มมีเนื้อความว่าบุรุษนั้นย่อมทุกข์ร้อนด้วยหอก ๑๐๐ เล่มอันใดในเวลาเช้าสรีระของบุรุษนั้นก็มีรอยปากแผลถึงร้อยแห่งรอยปากแผลนั้นไม่หยุดอยู่เพียงในระหว่างได้ทะลุออกไปถึงอีกข้างหนึ่งหอก ๒๐๐ เล่มนอกจากนี้ก็แทงทะลุเหมือนกันร่างกายทั้งสิ้นของบุรุษนั้นเป็นช่องน้อยช่องใหญ่ด้วยหอกอันไม่หยุดยั้งเพียงในที่ถูกแทงอย่างนั้นประมาณแห่งทุกข์อันเกิดแม้ในปากแผลเพียงแห่งเดียวแห่งบุรุษนั้นย่อมไม่มีไม่ต้องพูดถึงปากแผลแห่งหอกทั้ง ๓๐๐ เล่ม
ปฏิสนธิเป็นเหมือนเวลาถูกแทงด้วยหอกการเกิดแห่งขันธ์เป็นเหมือนการทำให้เกิดปากแผล ความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ต่าง ๆ อันมีวัฏฏะเป็นมูลรากในขันธ์ทั้งหลายที่เกิดแล้ว เหมือนกับการเกิดแห่งทุกขเวทนาในปากแผลทั้งหลาย
แม้ว่าพระผู้มีพระภาคจะทรงแสดงอย่างนี้ ก็ยากที่จะเห็นจริง ถ้าสติปัฏฐานไม่เกิด ไม่ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏว่า จะเหมือนกับบุรุษที่ทุกข์ร้อนด้วยหอกที่แทง ๓๐๐ เล่ม๑๐๐ เล่มในเวลาเช้าเวลากลางวันเวลาเย็น
และพระผู้มีพระภาคทรงอุปมาว่าปฏิสนธิเหมือนเวลาถูกแทงด้วยหอก แล้วก็ปากแผลทั้งหลายซึ่งเกิดขึ้นก็นำมาซึ่งทุกข์มากมายทีเดียว
คนที่เป็นแผล คงจะเข้าใจดีถึงความทุกข์ที่เกิดจากแผล แต่เวลาที่ไม่มีแผล ก็ไม่สามารถที่จะเห็นได้ว่า ทุกข์ที่เกิดจากปากแผลนั้นเป็นอย่างไร แต่ปากแผลนั้นไม่น้อยเลย ลองคิดดูว่า ถูกแทงด้วยหอกถึง ๓๐๐ เล่มแล้วก็ทะลุไปอีกข้างหนึ่งด้วย
เพราะฉะนั้นในขณะนี้จะเป็นเหมือนอย่างนั้นหรือเปล่า