ขณะที่มีกายภายนอกเป็นเครื่องระลึก ไม่ลืมน้อมระลึกที่กายตน


    อย่างอสุภบรรพ ถ้าสมมติว่าจะเห็นคนตายที่ถนนอุบัติเหตุ เห็นกาย เป็นกายภายนอก น้อมถึงความเป็นอสุภะที่ตน ไม่ต่างกันเลยกับบุคคลนั้น ให้เป็นเครื่องระลึก กายภายนอกนั่นแหละอย่าหลงลืมสติ ขณะนั้นมีการภายนอกเป็นเครื่องระลึก แล้วแต่ว่าจะรู้ชัดในลักษณะของนามหรือรูป ทาหนึ่งทางใดใน ๖ ทาง ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย หรือทางใจ แล้วก็น้องระลึกถึงกายที่ตนพิจารณากาย เพราะฉะนั้นก็พิจารณาทั้งกายภายในคือที่ตนเอง กายภายนอก และก็ทั้งกายภายในกายภายนอกด้วย เพื่อความไม่เป็นผู้ไม่หลงลืมสติ ไม่ใช่ว่าให้ระลึกรู้แต่เฉพาะที่กายของตนเอง ซึ่งเป็นไปไม่ได้ บางครั้งไม่ได้ระลึกรู้ที่กายของตนเองใช่ไหม ไประลึกรู้ที่กายของคนอื่น เห็นผมของคนอื่นเห็นไหม ปฏิกูลได้ไหม เป็นเครื่องระลึกได้ไหม เป็นสติปัฏฐานไหม กายคนอื่นก็ทำให้สติเกิดได้ สติปัฏฐานทั้ง ๔ เวลาที่รู้ชัดก็จะต้องรู้ชัดในนามรูปทางตาหูจมูกลิ้นกายใจนั่นเอง


    หมายเลข 5923
    1 ส.ค. 2567