ในคัมภีร์วิภังคปกรณ์ จำแนก อินทรีย์ โดยทวาร ๖
ถ้าจะจัดอินทรียะตามทวาร ซึ่งท่านผู้ฟังจะเห็นความต่างกันของคัมภีร์ปัฏฐานและในคัมภีร์วิภังค์ ซึ่งต่างก็เป็นอภิธรรมปิฎก สำหรับในคัมภีร์วิภังค์จัดอินทรีย์ตามทวาร ซึ่งจำแนกออกคือ
๑.จักขุนทรีย์ ๒. โสตินทรีย์ ๓.ฆานินทรีย์ ๔.ชิวหินทรีย์ ๕. กายินทรีย์
๖.มนินทรีย์ ๗.อิตถินทรีย์ ๘.ปุริสินทรีย์ ๙.ชีวิตินทรีย์ ๑๐. สุขินทรีย์
๑๑.ทุกขินทรีย์ ๑๒.โสมนัสสินทรีย์๑๓.โทมนัสสินทรีย์๑๔.อุเบกขินทรีย์๑๕.สัทธินทรีย์
๑๖. วิริยินทรีย์ ๑๗. สตินทรีย์ ๑๘. สมาธินทรีย์ ๑๙. ปัญญินทรีย์
๒๐. อนัญญาตัญญัติสามีตินทรีย์ ๒๑. อัญญินทรีย์ ๒๒. อัญญาตาวินทรีย์
โดยนัยของวิภังคปกรณ์จำแนกโดยทวาร ๖ซึ่ง
จักขุนทรีย์ เป็นที่ ๑
โสตินทรีย์ เป็นที่ ๒
ฆานินทรีย์ เป็นที่ ๓
ชิวหินทรีย์ เป็นที่ ๔
กายินทรีย์ เป็นที่ ๕
มนินทรีย์ เป็นที่ ๖
โดยเหตุผลที่ว่าการที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ก็เพราะอินทรีย์ ๖ถ้าไม่มีจักขุปสาท โสตปสาทฆานปสาท ชิวหาปสาท กายปสาทและจิต จะไม่มีสภาพธรรมใด ๆ ปรากฏเลยเพราะเหตุว่าแม้ว่าจิตจะเกิดดับที่หทยวัตถุตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิคือ ปฏิสนธิจิตเกิดพร้อมกับปฏิสนธิกัมมชรูป ซึ่งกลุ่มนั้นเป็นหทยทสกะ เป็นรูปที่เกิดของจิตในขณะนั้นจิตเกิดขั้นแล้ว เป็นสภาพซึ่งรู้อารมณ์ แต่ว่าเป็นการรู้อารมณ์ที่สืบต่อมาจากอารมณ์ของจิตใกล้จะจุติของชาติก่อน เพราะฉะนั้นจึงไม่ใช่อารมณ์ที่ต้องอาศัยตาหรือหูหรือจมูกหรือลิ้นหรือกายหรือใจ เพราะฉะนั้นในขณะนั้นแม้มีจิตและมีรูปพร้อมทั้ง ๕ ขันธ์แต่ไม่มีการรู้อารมณ์ใด ๆ ที่ปรากฏ