มหาเวทัลลสูตร
ข้อความในมัชฌิมนิกายมูลปัณณาสก์ มหาเวทัลสูตร
ณพระวิหารเชตวัน ครั้งนั้นเป็นเวลาเย็น ท่านพระมหาโกฏฐิกะได้ไปหาท่านพระสารีบุตรและสนทนาธรรมกันซึ่งข้อความในมหาเวทัลสูตรมีว่า
ท่านพระมหาโกฏฐิกะได้ถามท่านพระสารีบุตรว่า
ดูกรท่านผู้มีอายุอินทรีย์ ๕ ประการคือจักขุนทรีย์ ๑โสตินทรีย์ ๑ ฆานินทรีย์ ๑ ชิวหินทรีย์ ๑ กายินทรีย์ ๑มีวิสัยต่างกันมีโคจรต่างกันไม่รับรู้วิสัยอันเป็นโคจรของกันและกัน เมื่ออินทรีย์ ๕ ประการนี้มีวิสัยต่างกัน มีโคจรต่างกัน และธรรมอะไรรับรู้วิสัยอันเป็นโคจรแห่งอินทรีย์เหล่านั้น
จะเห็นได้ว่า ไม่ว่าท่านผู้ฟังจะศึกษาข้อความตอนใดในพระไตรปิฎกนี้ จะไม่พ้นจากสภาพนามธรรมและรูปธรรมที่ปรากฏทางตาทางหู ทางจมูกทางลิ้นทางกายทางใจ ไม่ว่าในสมัยไหนทั้งสิ้น ในอดีตกาลล่วงเลยมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นกี่โกฏิกัปป์ปี หรือว่าในขณะนี้หรือต่อไปในอนาคตกาล ก็จะมีเรื่องตาหูจมูกลิ้นกายใจซึ่งเป็นทางให้อารมณ์ต่าง ๆ ปรากฏเพราะฉะนั้นผู้ที่ต้องการที่จะรู้สัจธรรม คือ ความจริงของตาหูจมูกลิ้นกายใจก็จะต้องสอบถามแล้วก็สนทนาธรรมกันในเรื่องของตาหูจมูกลิ้นกายใจนั่นเอง
แม้ท่านพระมหาโกฏฐิกะก็ได้ถามท่านพระสารีบุตรว่า
ดูกรท่านผู้มีอายุอินทรีย์ ๕ ประการนี้ คือ จักขุนทรีย์ ๑ โสตินทรีย์ ๑ ฆานินทรีย์ ๑ ชิวหินทรีย์ ๑ กายินทรีย์ ๑มีวิสัยต่างกันมีโคจรต่างกัน
คือ หมายความว่ามีอารมณ์ต่างกันบางครั้งจะใช้คำว่า “วิสยะ”หรือวิสัย บางครั้งก็จะใช้คำว่า“โคจระ”หรือโคจรหมายความถึงอารมณ์ของจักขุนทรีย์อารมณ์ของโสตินทรีย์เป็นต้นมีโคจรต่างกัน มีอารมณ์ต่างกันไม่รับรู้วิสัยอันเป็นโคจรของกันและกัน
คือตาไม่มีทางที่จะได้ยินหูก็ไม่มีทางที่จะเห็นจมูกก็ไม่มีทางที่จะรับกระทบโผฏฐัพพะ เพราะว่าสิ่งเดียวซึ่งจะกระทบกับจักขุปสาท เป็นวิสัยของจักขุปสาทเป็นโคจรของจักขุปสาทได้คือสีสันวรรณะต่าง ๆ ที่กำลังปรากฏทางตาเพราะฉะนั้นอินทรีย์ทั้ง ๕ นี้จึงมีโคจรต่างกัน ไม่รับรู้วิสัยอันเป็นโคจรของกันและกัน
คำถามต่อไปมีว่า
เมื่ออินทรีย์ ๕ ประการนี้มีวิสัยต่างกันมีโคจรต่างกันธรรมอะไรรับรู้วิสัยอันเป็นโคจรแห่งอินทรีย์เหล่านั้น
เพราะฉะนั้นก็เป็นปกติธรรมดาในชีวิตประจำวัน ที่จะรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริงว่าที่สงสัยกันนักหนาว่า เวลาเจริญสติปัฏฐานแล้วทางใจรู้อารมณ์อะไรก็ไม่พ้นจากอารมณ์ที่รู้ต่อจากทางตาทางหู ทางจมูก ทางลิ้นทางกายนั่นเอง