ทบทวนปัจจัย - อัญญมัญญปัจจัย
ปัจจัยที่ ๓โดยอัญญมัญญปัจจัย ชื่อเป็นภาษาบาลี แต่ว่าลักษณะของสภาพธรรม ไม่ต้องมีชื่ออะไรก็ได้ แต่ว่าต้องใช้ชื่อ เพื่อที่จะแสดงให้เห็นลักษณะของการเป็นปัจจัย ของธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้น ถ้าโดยอัญญมัญญปัจจัย หมายความว่า สภาพธรรมที่เป็นปัจจัย และสภาพธรรมที่เป็นปัจจยุปบันนธรรมต่างก็อาศัยซึ่งกันและกัน หมายความว่าในขณะที่โลภมูลจิตเกิดแล้วก็มีเจติสกเกิดร่วมด้วย โลภมูลจิตเป็นอัญญมัญญปัจจัยของเจตสิกซึ่งเกิดร่วมด้วยทั้งหมด และเจตสิกซึ่งเกิดทั้งหมดนั้นก็เป็นอัญญมัญญปัจจัยแก่โลภมูลจิต
คือโลภมูลจิตต้องอาศัยเจตสิกที่เป็นปัจจยุปบันนธรรม และเจตสิกซึ่งเป็นปัจจยุปบันนธรรมต้องอาศัยจิตซึ่งเป็นปัจจัยทั้งปัจจัยและปัจจยุปบันนธรรมต่างต้องอาศัยกันและกัน จึงเป็นอัญญมัญญปัจจัย เพราะเหตุว่าบางครั้ง หรือบางขณะ หรือว่าบางสภาพธรรมปัจจัยทำให้ปัจจยุปบันนธรรมเกิด โดยที่ว่าปัจจัยนั้นไม่ได้อาศัยปัจจยุปบันนธรรมเลย เช่น จิตเป็นปัจจัยให้จิตชรูปเกิดถูกไหมคะ เพราะเหตุว่ารูปซึ่งเกิดจากรรมก็มี รูปซึ่งเกิดจากจิตก็มี รูปซึ่งเกิดจากอุตุก็มี รูปซึ่งเกิดจากอาหารก็มี ถ้ากล่าวถึงจิตตชรูป หมายความว่ารูปนี้ต้องอาศัยจิตเป็นสมุฏฐานจึงเกิดมีขึ้นได้ ถ้าไม่มีจิตจิตตชรูปจะเกิดไม่ได้เลย อย่างคนที่ตายแล้วนี้ ไม่มีจิตตชรูปอีกเลย เพราะเหตุว่าจิตไม่เกิด
เพราะฉะนั้นถ้าเป็นจิตตชรูปแล้ว จะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยเพราะจิตเกิดขึ้นในขณะนั้นเป็นสมุฏฐาน เป็นธรรมที่ก่อตั้งให้รูปเกิดขึ้นแต่จิตชรูปไม่ได้เป็นที่อาศัยเกิดของจิต เพราะฉะนั้นจิตตชรูปไม่ใช่อัญญมัญญปัจจัยแต่สำหรับจิตต้องอาศัยเจตสิกเกิด และเจตสิกต้องอาศัยจิตเกิด ต่างต้องอาศัยซึ่งกันและกัน เพราะฉะนั้นตต่างก็เป็นอัญญมัญญปัจจัยซึ่งกันและกัน
นี่ก็เป็นธรรมดาในชีวิตประจำวัน เพียงแต่ว่าทรงแสดงให้ละเอียดขึ้นว่าสภาพธรรมแต่ละอย่างซึ่งอาศัยกันเกิดขึ้น เป็นปัจจัยโดยอย่างไรเท่านั้นเอง แต่ถ้าเข้าใจแล้ว ก็เป็นการทบทวนโดยสภาพของปัจจัยนั้นๆ ซึ่งชื่อเป็นภาษาบาลีจริง แต่ว่าสภาพธรรมก็คือสภาพธรรมตามปกติ แต่ว่าเป็นปัจจัยโดยปัจจัยอย่างไรบ้าง
มีข้อสงสัยไหมในเรื่องนี้ อัญญมัญญปัจจัย
เหมือนกับไม้ ๓ อัน ซึ่งต้องอาศัยกันจึงตั้งอยู่ได้ ถ้าเอาอันหนึ่งอันใดออกไปเสีย ก็ไม่สามารถจะตั้งอยู่ได้ฉันใดอัญญมัญญปัจจัยก็ฉันนั้น
ถ้าบอกว่าจิตเป็นอัญญมัญญปัจจัยต้องรู้เลยว่า สิ่งซึ่งเป็นปัจจยุปปันนที่จิตนั้นทำให้เกิดจิตต้องอาศัยปัจจยุปบันนนั้นด้วยมิฉะนั้นจะไม่ใช้คำว่าอัญมัญญปัจจัย หรือถ้ากล่าวว่า เจตสิกเป็นอัญญมัญญปัจจัย ก็จะต้องรู้ทันทีว่า เมื่อเป็นปัจจัยหมายความว่าเป็นสภาพธรรม ที่ทำให้สภาพธรรมอื่นเป็นปัจจยุปบันนเกิดขึ้น และสภาพของปัจจัยนั้นต้องอาศัยปัจจยุปบันนด้วยจึงจะเป็นอัญญมัญญปัจจัยซึ่งกันและกัน
นี่ก็๓ ปัจจัยแล้วคือสหชาตปัจจัย ๑สัมปยุตตปัจจัย ๒ อัญญมัญญปัจจัย ๓ ในขณะจิตเดียวเท่านั้นมีหลายปัจจัยที่จะทำให้สภาพธรรมนั้นเกิดขึ้นเป็นไปชั่วขณะเดียว