นามธรรมทั้งหลายน้อมไปสู่อารมณ์


    จิตเป็นสภาพที่รู้อารมณ์ นามธรรมทั้งหลายนั้นน้อมไปสู่อารมณ์ ไม่ว่าจะเป็นจิตก็น้อมไปสู่อารมณ์ เจตสิกซึ่งเป็นนามธรรมก็น้อมไปสู่อารมณ์ จิตกับเจตสิกเกิดร่วมกันน้อมไปสู่อารมณ์ใด ก็มีอารมณ์ร่วมกัน เป็นต้นว่าจิตเห็น มีสีเป็นอารมณ์ เจตสิกซึ่งเป็นนามธรรมซึ่งเกิดกับจิต มีสีเป็นอารมณ์ ทุกประเภททุกดวงก็น้อมไปสู่อารมณ์เดียวกัน หมายความว่ามีสีเป็นอารมณ์ร่วมกันแล้วแต่ว่าลักษณะเจตสติกแต่ละประเภทนั้นจะกระทำจิตใด ผัสสะก็เป็นเจตสิกประเภทหนึ่งที่ทำให้จิตกระทบกับอารมณ์ เวลานี้ก็คงจะมีกลิ่น มีเสียง มีเย็นร้อนอ่อนแข็ง แล้วแต่มีเรื่องราวต่างๆ ขณะนี้จิตของผู้ใดมีอารมณ์ใดก็เพราะผัสสะทำกิจให้จิตนั้นกระทบกับอารมณ์นั้นในขณะนั้น บางคนเห็นเท่านั้น แต่มีเสียงดังเสียงที่บางคนได้ยินแต่อีกคนนึงไม่ได้ยิน เพราะเหตุว่าเจตสิกของผู้นั้นไม่ได้กระทำกิจให้จิตรู้หรือว่ากระทบกับเสียงทางโสตทวาร แต่สำหรับผู้ที่ได้ยินเสียงนั้นก็หมายความว่าผัสสเจตสิกนั้นทำให้จิตกระทบรู้อารมณ์คือเสียงที่กระทบกับโสตทวาร นี่เป็นลักษณะของนามธรรมที่อาศัยกัน และกันเกิดขึ้น และก็ต่างก็ทำกิจการงานตามประเภทของตน ตามหน้าที่ของตน ชั่วขณะนิดเดียวแล้วก็ดับหมดสิ้นไป ไม่พึงยึดถือว่าเป็นตัวตนเลย


    หมายเลข 6101
    31 ก.ค. 2567