ปัจจัย - ปัจจยุบบัน
ท่านอาจารย์ ถ้ามีคำว่า ปัจจัยซึ่งเป็นที่อาศัย เป็นธรรมที่เป็นเครื่องสนับสนุนให้ธรรมอื่นเกิดขึ้น ต้องมีคำว่าปัจจยุบัน เพราะฉะนั้นคำว่า “ปัจจยุบัน” ก็คือ สภาพธรรมที่เกิดขึ้นเพราะปัจจัยขณะนั้นๆ ต้องคู่กัน เหมือนเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดผล เมื่อมีผลก็ต้องมีเหตุซึ่งเป็นที่เกิดด้วย จะขาดคำหนึ่งคำใดไม่ได้ จะกล่าวคำว่าปัจจัยเฉยๆ แล้วทิ้งคำว่าปัจจยุบันไม่ได้ ถ้ากล่าวคำว่าปัจจยุบันต้องรู้ว่าอะไรเป็นปัจจัย วิบากเป็นปัจจยุบัน อะไรเป็นปัจจัยของวิบาก กรรมเป็นปัจจัย วิบากเป็นปัจจยุบัน
จิตเป็นปัจจัย ถามว่า อะไรเป็นปัจจยุบัน
ผู้ฟัง เจตสิก
ท่านอาจารย์ เจตสิกเป็นปัจจยุบัน อะไรเป็นปัจจัย
ผู้ฟัง จิต
ท่านอาจารย์ นี่คือเป็นสิ่งที่เราจะเข้าใจได้ และโดยปัจจัยอะไร ก็โดยสหชาตปัจจัย หมายความว่าต้องเกิดพร้อมกัน เราจะค่อยๆ เข้าใจไปทีละเล็กทีละน้อย
ผู้ฟัง แฝดที่เกิดพร้อมกันเป็นสหชาต หรือไม่
ท่านอาจารย์ ยังไม่พูดถึงแฝด หรือ ไม่แฝด กล่าวเพียงแค่จิต ๑ ขณะที่เกิดต้องอาศัยปัจจัยอะไร
ผู้ฟัง เจตสิก
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นไม่ต้องไปคิดถึงแฝดเลย จิตใดเกิดขึ้นเมื่อใด จิตขณะนั้นอาศัยเจตสิกเป็นปัจจัย จิตเป็นปัจจยุบัน เจตสิกใดเกิดขึ้นเมื่อใด เจตสิกนั้นเป็นปัจจยุบันอาศัยอะไรเกิด อาศัยจิต เท่านั้นเองให้ชินหูกับคำว่า"ปัจจัย" และ "ปัจจยุบัน" และหมายความถึงสภาพธรรมหนึ่งที่เกิด ไม่ใช่ไปกล่าวอ้างถึงเด็กสองคน
ที่มา ...