เด็กแฝด - จิต เจตสิก รูป - ปัจจัย
ท่านอาจารย์ เด็กแฝดมี ๒ คน ใช่ หรือไม่ มีจิตกี่จิต ๒ จิต เป็นคนละจิต เพราะฉะนั้นจิตหนึ่งที่เกิดต้องมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย เป็น" สหชาตปัจจัย " หมายความว่าเกิดพร้อมกันคือจิตเป็นปัจจัยเกิดพร้อมกับเจตสิกซึ่งเป็นปัจจยุบัน หรือเจตสิกเป็นปัจจัยซึ่งเกิดพร้อมจิตซึ่งเป็นปัจจยุบัน กล่าวถึงจิต เด็ก ๒ คน มี ๒ จิต จิต ๑ ที่เกิดจะต้องมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ทั้ง ๒ จิต ต้องมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย
ผู้ฟัง ตอนปฏิสนธิ..
ท่านอาจารย์ ภาษาไทยเราใช้คำว่าสหชาติ ใช่ หรือไม่ วัน เดือน ปีเดียวกัน แต่เราพูดถึงปัจจัยของสภาพธรรมว่า สภาพธรรมที่มีจริงๆ ที่เกิดแล้วก็ดับ จะต้องมีปัจจัยจึงเกิดขึ้นมาได้ เพราะฉะนั้นถ้ากล่าวถึง จิต เจตสิก รูป นิพพาน แต่นิพพานไม่เกิด ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง เพราะฉะนั้นนิพพานเป็นแต่เพียงอารัมมณปัจจัย เป็นอารมณ์ได้ แต่เราจะยังไม่กล่าวถึงนิพพาน จะกล่าวถึงขณะนี้ที่มี คือ จิต เจตสิก รูป จิตเป็นปัจจัยแก่เจตสิกก็ได้ เป็นปัจจัยแก่รูปก็ได้ เจตสิกเป็นปัจจัยแก่จิตก็ได้ เป็นปัจจัยแก่รูปก็ได้ รูปเป็นปัจจัยแก่จิตก็ได้ รูปเป็นปัจจัยแก่เจตสิกก็ได้ สภาพธรรมที่มีจริงอาศัยกัน และกันเกิดขึ้น แต่ต้องชัดเจนว่าโดยปัจจัยใด ถ้าโดยสหชาตปัจจัยหมายความถึงเกิดพร้อมกัน ไม่กล่าวถึงดับเลย เมื่อสภาพธรรมใดที่เกิดพร้อมกัน คือ จิต และ เจตสิก มีปัจจัยพิเศษอีกปัจจัยหนึ่ง ไม่ใช่มีแต่สหชาตปัจจัย แต่เป็นสัมปยุตตปัจจัยด้วย เพราะเหตุว่าต้องเกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน รู้อารมณ์เดียวกัน อาศัยที่เกิดเดียวกัน เป็นสภาพนามธรรมซึ่งเข้ากันสนิท และต้องดับพร้อมกัน และต้องรู้อารมณ์เดียวกันด้วย นั่นเป็นอีกปัจจัยหนึ่ง ซึ่งเราจะไม่พูดถึงโดยละเอียดมาก แต่ขอให้ชินกับคำว่าปัจจัย และให้ชินกับคำบางคำซึ่งพอจะจำได้ พอจะเข้าใจได้ เช่น ถ้าเข้าใจเรื่องจิต เจตสิก แล้ว ก็ไม่ยากที่จะเข้าใจเรื่องสหชาตปัจจัย หรือเข้าใจเรื่องธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม ก็ไม่ยากที่จะเข้าใจคำว่าสหชาตปัจจัย แต่ถ้ากล่าวถึงเด็กแฝดนั่นก็เป็นเรื่องแล้วว่าต้องกล่าวถึงจิตแต่ละขณะของเด็กแต่ละคน ซึ่งก็ต้องเป็นสหชาตปัจจัยแก่เจตสิกที่เกิดร่วมกันเฉพาะในขณะที่เกิดขึ้น
ผู้ฟัง ผมขอสรุปเองก็ได้ว่ากรณีเด็กแฝด เนื่องจากปฏิสนธิเกิดขึ้น ๒ จิต
ท่านอาจารย์ มีจิต ๒ ขณะ ใช่ หรือไม่ เพราะมีเด็ก ๒ คน จิตของเด็กคนหนึ่งก็มีเจตสิกเกิดร่วมด้วย จิตของเด็กอีกคนหนึ่งก็มีเจตสิกเกิดร่วมด้วย เจตสิกที่เกิดกับจิตก็เป็นสหชาตปัจจัยให้แก่จิตที่เกิดร่วมด้วย ไม่กล่าวถึงเด็ก แต่กล่าวถึงจิต
ที่มา ...