สัมปยุตธรรม ได้แก่ จิตและเจตสิก


    ผู้ฟัง อาจารย์บอกว่าจิตเกิดขึ้นเรียกว่าสัมปยุตตธรรม จะเรียนถามว่าทำไมถึงเรียกว่าสัมปยุตตธรรม

    ท่านอาจารย์ จิตกับเจตสิกเกิดร่วมกันก็อาศัยกัน และกัน จิตเป็นสหชาตปัจจัยของเจตสิก เจตสิกก็เป็นสหชาตปัจจัยของจิต มหาภูตรูปทั้ง ๔ อาศัยกัน และกันเกิดขึ้น เกิดพร้อมกันจึงเป็นสหชาตปัจจัย แต่รูปไม่ใช่นามธรรม เพราะฉะนั้นรูปเป็นสหชาตปัจจัยจริง แต่จิต และเจตสิกเป็นสหชาต และสัปยุตตปัจจัย เพราะว่าถ้าเป็นสัมปยุตตปัจจัยหมายความว่าต้องเกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน รู้อารมณ์เดียวกัน และเกิดที่รูปเดียวกันด้วยในภูมิที่มีขันธ์ ๕ เพราะฉะนั้นความหมายของคำว่า "สัมปยุตต" ก็ต่างกับความหมายของคำว่า "สหชาต"

    ผู้ฟัง ก็มีอีกคำหนึ่งที่ได้ยินบ่อยๆ คือ คำว่าสหชาตธรรม

    ท่านอาจารย์ ธรรมที่เป็นสหชาติ คือเกิดพร้อมกัน

    ผู้ฟัง คือจิต และเจตสิกใช่ หรือไม่

    ท่านอาจารย์ ก็แล้วแต่ ธาตุดิน น้ำ ไฟ ลมเป็นสหชาติ หรือเปล่า ถ้ากล่าวถึงเพียงสหชาต กล่าวถึงเพียงการเกิดพร้อม ไม่ได้กล่าวถึงสิ่งหนึ่งสิ่งใดเลย ไม่ได้กล่าวถึงปัจจัยอื่น เช่น อัญญมัญญปัจจัยซึ่งมีในขณะนั้นด้วยในขณะที่เกิดพร้อมกัน แต่กล่าวเฉพาะการเกิดปัจจัยเดียวคือสหชาติ

    ที่มา ...

    พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 33


    หมายเลข 6124
    17 ม.ค. 2567