ความต่างกันของโสมนัสเวทนา กับ ปีติเจตสิก


    ผู้ฟัง มีนามธรรมยู่อีกประเภทหนึ่ง ที่ท่านไม่ได้จัดไว้ในหมวดของเวทนา นามธรรมนั้นคือปีติเจตสิก ก็รู้สึกว่าใกล้เคียงกับโสมนัส อย่างไรจึงจะเรียกว่า ปีติ อย่างไรจึงจะเรียกว่า โสมนัส

    ท่านอาจารย์ เวลาที่ศึกษาธรรมจะพบว่า ในเรื่องของอานาปานบรรพ หรือว่าในพระสูตรส่วนอื่นๆ คืออานาปานสติก็ตาม ก็จะเห็นว่ากล่าวถึงปีติ เวลาที่มีปีติเกิดขึ้นก็ดี เวลาที่มีสุขเวทนาเกิดขึ้นก็ดี เวลาที่มีอุเบกขาเวทนาเกิดขึ้นก็ดี เป็นเวทนานุปัสสนา ทำให้ท่านผู้ฟังสงสัยว่า โดยการศึกษา ปิติเป็นสังขารขันธ์ เป็นปีติเจตสิก ไม่ใช่เป็นเวทนาเจตสิก เจตสิกมีทั้งหมด ๕๒ ประเภท/ ดวง ใน ๕๒ ดวงนั้น เป็นเวทนาขันธ์ ๑ ดวง ได้แก่เวทนาเจตสิก เวทนาเจตติก ๑ ดวงเป็นเวทนาขันธ์ สัญญาเจตสติก ๑ ดวงเป็นสัญญาขันธ์ ปีติ และเจตสิกอื่นๆ เป็นสังขารขันธ์ แต่ทำไมอานาปานสติจึงได้ยกว่า เวลาที่ปิติเกิดก็ดี สุขเกิดก็ดี อุเบกขาเกิดก็ดีเป็นการพิจารณาเวทนา ที่ท่านแสดงอย่างนั้น ท่านถือเวทนาที่มีปีติเป็นสำคัญ หมายความว่า เวทนามีปีติก็มี เวทนาไม่มีปิติก็มี อย่างในปฐมฌานมีปิติมีสุข เพราะฉะนั้นก็เป็นสุขเวทนาที่มีปิติ ในทุติยฌาน ละวิตก (โดยจตุตถนัยก็ละวิตกวิจาร) แต่ว่ามีปิติมีสุข เพราะฉะนั้น ในขณะนั้นที่กล่าวว่า เวลาที่ปีติเกิด พิจารณาปีติ รู้ปิติ ก็หมายความถึงว่า เมื่อเป็นเวทนานุปัสสนาแล้ว พูดถึงเวทนาโดยมีปิติเป็นประธานว่า เวทนานั้นประกอบด้วยปิติ หรือว่าเวทนานั้นไม่ประกอบด้วยปีติ พูดถึงจตุตฌานโดยปัญจกนัย หรือตติยฌานโดยจตุกกนัย เป็นสุขเวทนา เป็นการพิจารณาเวทนาที่ไม่ประกอบด้วยปีติ ลักษณะต่างกัน สุขเป็นสภาพที่เสวยอารมณ์เป็นสุข แต่ปีตินั้นเป็นความปราบปลื้ม ที่กล่าวไว้ในหมวดของเวทนานุปัสสนาเพราะเหตุว่าเวทนานั้นประกอบด้วยปิติ ลักษณะก็ปรากฏชัดสำหรับตติยญาณเพราะเหตุว่าในขณะนั้นเป็นสุขเวทนาที่ประกอบด้วยปิติ ยังไม่ได้ละปิติ แต่พอถึงจตุตถฌานโดยปัญจกนัยก็ละปีติ ผู้ที่จะเจริญสติก็จะต้องรู้ลักษณะความต่างกันของเวทนาที่ประกอบด้วยปิติ และไม่ประกอบด้วยปิติ


    หมายเลข 6194
    31 ก.ค. 2567