อาศัยอุเบกขาที่มีความเป็นหนึ่ง ละอุเบกขาที่มีความเป็นต่างๆ
ข้อความต่อไปว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในอุเบกขา ๒ อย่าง พวกเธอจงอาศัย คืออิงอุเบกขา ที่มีความเป็นหนึ่ง อาศัยอารมณ์เป็นหนึ่งนั้น แล้วละ คือล่วงเสียซึ่งอุเบกขาที่ มีความเป็นต่างๆ อาศัยอารมณ์ต่างๆ นั้น อย่างนี้ ย่อมเป็นอันละอุเบกขานี้ได้ เป็นอันล่วงอุเบกขานี้ได้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงอาศัย คืออิงความเป็นผู้ไม่มีตัณหา แล้วละ คือล่วงเสียซึ่งอุเบกขาที่มีความเป็นหนึ่ง อาศัยอารมณ์เป็นหนึ่งนั้น อย่างนี้ ย่อมเป็นอันละอุเบกขานี้ได้ เป็นอันล่วงอุเบกขานี้ได้ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ในทางดำเนินของสัตว์ ๓๖ นั้น พวกเธอจงอาศัยทางดำเนินของสัตว์นี้ ละทางดำเนินของสัตว์นี้ นั่นเราอาศัยการละ การล่วง ดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ
อุเบกขาที่อาศัยตาหูจมูกลิ้นกาย รูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ กับ อุเบกขาที่อาศัยความสงบ อย่างไหนจะดีกว่ากัน ความสงบดีกว่า เพราะฉะนั้นการที่จะละอุเบกขาที่มีอารมณ์ต่างๆ เป็นไปในรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ ก็จะต้องอาศัยอุเบกขาที่มีความเป็นหนึ่ง อาศัยอารมณ์หนึ่ง ละอุเบกขาที่มีความเป็นต่างๆ และอาศัยอารมณ์ต่างๆ