ระลึกลักษณะสภาพของจิตที่ปรากฏเป็นจิตตานุปัสสนา
นอกจากที่สติจะระลึกเป็นไปในเวทนาแล้วก็ยังมีสภาพของจิตซึ่งเป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้อารมณ์ และโดยมากทุกท่านเข้าใจเรื่องของกายกับเรื่องของวิจัยว่าแยกกัน กายก็ไม่ใช่สภาพรู้ จิตใจก็เป็นสภาพรู้ทางตาบ้าง ขณะที่กำลังเห็นนี้ก็เป็นนามธรรม เป็นจิต ขณะที่กำลังได้ยินถ้าพูดถึงสภาพที่ได้ยินพูดถึงสภาพที่เห็นก็เป็นสภาพรู้ ไม่ใช่เรื่องของความยินดีความพอใจหรือความรู้สึกเป็นสุขเป็นทุกข์ แต่เป็นตัวสภาพรู้ที่เป็นประธานในการรู้อารมณ์ ทางตาจิตเป็นประธานในการเห็น ส่วนที่จะชอบหรือไม่ชอบนั้นนอาศัยเกิดกับจิตได้ แต่ว่าสภาพที่รู้อารมณ์ที่ปรากฏจริงๆ ซึ่งเป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้อารมณ์จริงๆ นั้นเป็นจิตซึ่งมีเกิดดับสืบต่อกันไม่ขาดเลย เวลาที่จิตเกิดขึ้นครั้งใดขณะใด จิตเป็นสังขารธรรมก็จะต้องมีสภาพธรรมที่เป็นนามธรรมที่เกิดร่วมกับจิต หลายๆ ประการ สภาพธรรมที่เกิดร่วมกับจิตคือเจตสิก เกิดพร้อมจิต ดับพร้อมจิต รู้อารมณ์เดียวกับจิต เพราะฉะนั้นในขณะที่จิตเกิดขึ้นครั้งหนึ่งก็มีสภาพของเจตสิกมากมายหลายชนิดเกิดร่วมด้วย แต่เพราะเหตุว่าผู้เจริญสติเป็นผู้ที่เริ่มที่จะระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ก็ไม่ใช่ว่าจะไประลึกรู้แต่ลักษณะสภาพของเจตสิกเกิดร่วมกับจิตในขณะนั้นเช่นผัสสเจตสิก แต่ว่าเวลาที่ระลึกได้ ก็ระลึกถึงลักษณะสภาพของจิตที่ปรากฏในขณะนั้น เป็นจิตตานุปัสสนา