ไม่มีใครประเมินสภาพธรรม ลักษณะนั้นไม่เปลี่ยน
ผู้ฟัง ตอนที่กระทบกับอิฏฐารมณ์ อนิฏฐารมณ์ สภาพนั้นยังไม่มีใครรู้ว่าเป็นที่ชอบใจ หรือไม่น่าชอบใจ แล้วใครไปประเมินตรงนั้นเป็นอิฏฐารมณ์กับอนิฏฐารมณ์
ท่านอาจารย์ ไม่มีใครประเมิน ร้อนใครต้องประเมินว่าร้อนไหม เย็นใครต้องประเมินว่าเย็น หรือเปล่า
ผู้ฟัง ร้อนกับเย็นคือกระทบสภาพนั้นแล้วก็เรียกเพื่อสื่อความหมาย
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นลักษณะของรูปเราก็เรียกว่าอิฏฐารมณ์ เมื่อรูปมีลักษณะ ๒ อย่างที่ต่างกัน คือบางรูปน่าพอใจ บางรูปไม่น่าพอใจ
ผู้ฟัง เพราะเห็นใช้คำว่าอิฏฐารมณ์ อนิฏฐารมณ์ เป็นอารมณ์ที่น่าพอใจ หรือไม่น่าพอใจ
ท่านอาจารย์ สภาพของรูปนั้นเอง เปลี่ยนไม่ได้เลย รูปใดที่เป็นอิฏฐารมณ์ใครจะชอบ หรือไม่ชอบ รูปนั้นก็เป็นอิฏฐารมณ์ ส่วนอนิฏฐารมณ์ รูปที่ไม่น่าพอใจ ใครจะชอบ หรือไม่ชอบก็เปลี่ยนลักษณะของอนิฏฐารมณ์ไม่ได้ มีใครจะบอกไหมว่าขณะไหน รูปไหนเป็นอิฏฐารมณ์ รูปไหนเป็นอนิฏฐารมณ์
ผู้ฟัง ก็ต้องเป็นรูปหยาบ ถ้าเป็นรูปเสมอๆ ก็บอกไม่ได้
ท่านอาจารย์ เราพูดโดยประเภท แต่เวลารูปนั้นปรากฏ
ผู้ฟัง บอกไม่ได้
ท่านอาจารย์ นี่ก็แสดงให้เห็นว่าเมื่อศึกษาธรรมจะรู้ความต่างของปัญญาของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ากับปัญญาของคนธรรมดา
ที่มา ...