ลักษณะของปรมัตถธรรมเป็นอย่างนั้น ไม่ใช่เรื่องความคิดเห็น
ผู้ฟัง ผมจะยกตัวอย่างที่หยาบๆ หน่อย ซากสุนัขก็เป็นอนิฏฐารมณ์แน่ๆ เราไม่เอานก เอาไก่ ก็เป็นโลภะของนกของอะไรก็ได้
ท่านอาจารย์ แต่นี้พูดโดยชื่อ ถ้าพูดโดยทวารแยกอีกแล้ว ลองไปกระทบสัมผัส แข็ง หรือเปล่า สุขเวทนาเกิด หรือทุกขเวทนาเกิด ทุกอย่างหมด ต้องแยกเป็นแต่ละทวาร เพราะว่าไม่ว่าจะเป็นสี ไม่ว่าจะเป็นเสียง ไม่ว่าจะเป็นรส ไม่ว่าจะโผฏฐัพพะ เกิดแล้วดับมีอายุแค่ ๑๗ ขณะ เพราะฉะนั้น ไม่ว่ารูปนั้นจะมาจากวัตถุที่ตั้งอย่างไรก็ตาม แต่เมื่อรูปนั้นกระทบกับทวารนั้น ลักษณะนั้นเป็นอิฏฐารมณ์ หรืออนิฏฐารมณ์เฉพาะแต่ละทวาร ทองใครๆ ก็ว่าสวยใช่ไหม แข็งไหม บางคนก่อนจะนอนอาจจะถอดถ้าเขาใส่แล้วไม่สบาย นี่ก็แสดงให้เห็นว่าเราไม่ควรจะเอาคำที่เราสมมติ แล้วก็คิดว่านี่ต้องเป็นอิฏฐารมณ์ แต่ลักษณะของปรมัตถธรรม ไม่ใข่คน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่ความคิดเห็นของใคร แต่เป็นสภาวธรรมที่เป็นอย่างนั้นของแต่ละทวาร เป็นเรื่องของการรู้อารมณ์ของแต่ละทวารจริงๆ ตอนนี้ก็คงพอเข้าใจความหมายของอิฏฐารมณ์ และอนิฏฐารมณ์แล้วว่าต้องมีทั้ง ๒ อย่าง เพราะว่ากรรมมี ๒ อย่าง
ที่มา ...