โมหมูลจิต ๒ ดวง กับ โลภมูลจิตในชีวิตประจำวัน
เวลาที่เห็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดในวันหนึ่งๆ ถ้าไม่เป็นโลภมูลจิต ก็เป็นโทสมูลจิต เป็นโมหมูลจิต ถ้าเป็นสภาพของโมหมูลจิตแล้วก็จะเกิดพร้อมกับความสงสัย ความไม่รู้ลักษณะของนามของรูปว่านี่เป็นอะไร ใช่ไหม นี่เป็นลักษณะของนาม ว่านี่เป็นลักษณะของรูป เมื่อมีความสงสัยอย่างนี้เกิดขึ้นขณะใด นั้นเป็นลักษณะของโมหมูลจิตที่เกิดพร้อมกับความสงสัยดวงหนึ่ง อีกดวงหนึ่งก็เป็นสภาพที่ไม่รู้ลักษณะของอารมณ์ จะกล่าวว่าไม่เห็นไม่ได้ เห็น แต่ว่าไม่รู้ลักษณะของอารมณ์นั้น เพราะว่ามีอุทธัจจะ สภาพของเจตสิกที่ทำให้ฟุ้ง เลื่อนลอยเกิดร่วมด้วย และก็ไม่สามารถที่จะรู้ลักษณะของอารมณ์ได้ ก็เป็นโมหมูลจิต แต่ว่าในวันหนึ่งๆ ถ้าท่านจะสังเกตเวลาที่เดินผ่านวัตถุสิ่งหนึ่งสิ่งใด หรือว่าอาจจะนั่งรถที่มีความเร็ว และก็ผ่านวัตถุสิ่งหนึ่งสิ่งใดเห็น ชอบ โดยที่ไม่ได้มีการยึดถือสภาพนั้นเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดได้ไหม ทางตา สมมุติว่า ชอบสีอะไร ถ้าตอบว่าชอบสีแดง ไม่ได้บอกว่าโต๊ะสีแดง หรือว่าชอบเก้าอี้สีแดง หรือว่าชอบอะไรสีแดงใช่ไหม แต่ว่าความชอบมีในสีนั้น เช่นเดียวกับการเห็น เชื้อของความพอใจมีมากมายพร้อมที่จะไหลไปสู่สิ่งที่ปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ อย่างได้ยินเสียงนิดเดียวนี่รู้เลยว่าเสียงอะไร แต่ว่าถ้าเป็นเสียงที่น่าฟัง ความพอใจยินดีก็มีในเสียงนั้น ถ้าเป็นเสียงที่ไม่น่าฟัง ความไม่พอใจยินดีก็มีในเสียงนั้น โดยที่ยังไม่รู้ว่าเป็นเสียงอะไร แต่ก็ยังมีเชื้อของความพอใจ และไม่พอใจได้ ทางตาก็เหมือนกัน ทางหูก็เหมือนกัน ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ นี่ก็เป็นลักษณะของโลภมูลจิต ทิฏฐิคตวิปปยุตต์ อาจจะเกิดร่วมกับโสมนัสก็ได้ เป็นอสังขาริกก็ได้ นี่ก็เป็นโลภมูลจิตดวงที่ ๓ เพราะฉะนั้นก็จะเห็นได้ว่า ความมพอใจหนาแน่น เหนียวแน่นมากไม่ใช่ว่าต้องไปควบคุมรู้ความหมายบัญญัติของสิ่งนั้นแล้ว ความชอบใจถึงจะเกิดขึ้น แต่เพียงทันทีที่มีการเห็น ทันทีที่มีการได้ยิน ถ้าจะเทียบกับปรมัตถธรรมวิถีจิต ก็จะเห็นได้ว่า ทางปัญจทวารนี้ ชั่วขณะที่เห็นโดยยังไม่รู้ความหมาย โดยที่ยังไม่ได้ผ่านไปถึงทางใจที่จะรับปรมัตถธรรมนั้นไว้แล้วก็ที่จะรวบรวมคณะบัญญัติไว้ และที่จะรู้อรรถความหมายรู้ชื่อ ความชอบใจก็ต้องมีแล้วแม้ในวิถีของปัญจทวาร