ความเข้าใจเกี่ยวกับ นเหตุ
จริงๆ ก็ไม่ยากเลย เพราะเหตุว่าคำว่า “เหตุ” ก็แสดงชัดอยู่แล้วว่าได้แก่เจตสิก ๖ ธรรมทั้งหมดไม่เปลี่ยนแปลง ถ้าเข้าใจว่าเจตสิก ๖ เป็นเหตุ ธรรมอื่นทั้งหมดเป็นนเหตุ คือไม่ใช่เหตุ สิ่งนี้ก็เป็นหลักที่จะทำให้เราเข้าใจความหมาย เมื่อเราเข้าใจความหมายแล้วเราก็สามารถจะคิดได้ ไม่ว่าคำถามนั้นจะเป็นคำถามอย่างไรก็ตามก็สามารถที่จะคิดได้ ก็มีอีกสองคำเหมือนกัน ก็คือสเหตุกะ นี่ไม่ใช่เหตุกับนเหตุ แต่หมายถึงสภาพธรรมที่มีเหตุเจตสิกเกิดร่วมด้วยจึงใช้คำว่าสเหตุกะ และถ้าสภาพธรรมใดไม่มีเหตุเจตสิกเกิดร่วมด้วย สภาพธรรมนั้นก็เป็นอเหตุกะ ถ้ามีความเข้าใจมั่นคงจะไม่สับสน ไม่ว่าคำถามนั้นจะถามอย่างไร กลับไปกลับมาอย่างไร เช่น นเหตุเป็นอเหตุกะได้ไหม เราก็ต้องคิดว่า นเหตุมีอะไรบ้าง จิตไม่ใช่เจตสิก ๖ เป็นนเหตุ เพราะฉะนั้นจิตจะมีเหตุเจตสิก ๖ เกิดร่วมด้วยได้ไหม เวลาที่จิตเกิดร่วมกับโลภะ จิตนั้นก็เป็นสเหตุกะ เกิดร่วมกับโทสะก็เป็นสเหตุกะ เกิดร่วมกับโมหะก็เป็นสเหตุกะ เกิดร่วมกับฝ่ายโสภณเหตุก็เป็นสเหตุกะ คือค่อยๆ คิด ค่อยๆ ไตร่ตรองก็จะไม่สับสนนี่เป็นเรื่องของจิต แต่ถ้าจิตขณะใดไม่มีเหตุเจตสิก ๖ เกิดร่วมด้วย จิตนั้นก็เป็นอเหตุกะ พอพ้นเรื่องจิตไปก็คิดเรื่องเจตสิกอีกก็ได้ใช่ หรือไม่ ก็ค่อยๆ เข้าใจไป
ที่มา ...