เสียงด่าเป็นวิบากหรือไม่


    ผู้ฟัง สมมติว่าคนสองคนเดินไปพร้อมกัน ไปได้ยินเสียงด่า แต่คนๆ หนึ่งเกิดความทุกข์ อีกคนหนึ่งไม่ทุกข์ เสียงด่าเป็นวิบากที่เราเลือกไม่ได้ใช่ หรือไม่

    อ.วิชัย หลังจากที่ได้ยินแล้วก็แล้วแต่ว่ากุศลจิตของบุคคลใดจะเกิด อกุศลจิตของบุคคลใดที่ไม่พอใจจะเกิด

    ผู้ฟัง นี้เป็นเหตุใหม่ใช่ หรือไม่ ไม่ใช่เป็นวิบาก

    อ.วิชัย ใช่ เป็นหลังจากได้ยินแล้ว

    ท่านอาจารย์ ขอทบทวนเรื่องเหตุกับคุณรุ่งอรุณแทนคนอื่นด้วย เสียงเป็นสเหตุกะ หรืออเหตุกะ

    ผู้ฟัง เสียงเป็นรูป

    ท่านอาจารย์ เป็นอเหตุกะ เสียงเป็นเหตุ หรือนเหตุ

    ผู้ฟัง เป็นนเหตุ

    ท่านอาจารย์ ได้ยิน หมายความถึงโสตวิญญาณ เป็นนเหตุ หรือเหตุ

    ผู้ฟัง เป็นนเหตุ

    ท่านอาจารย์ เพราะเป็นจิต เป็นสเหตุกะ หรืออเหตุกะ

    ผู้ฟัง เป็นได้ ๒ ประเภท

    ท่านอาจารย์ จิตได้ยิน

    ผู้ฟัง เป็นอเหตุกะ

    ท่านอาจารย์ ยังไม่มีโลภะ โทสะ โมหะเกิดร่วมด้วย ก็ต้องเป็นอเหตุกะ เวลาได้ยินแล้วโกรธ ไม่ชอบ จิตที่มีโทสะเกิดร่วมด้วยเป็นนเหตุ หรือเหตุ

    ผู้ฟัง จิตเป็นนเหตุ

    ท่านอาจารย์ โทสมูลจิตคือจิตที่มีโทสเจตสิกเกิดร่วมด้วย จิตนั้นเป็นสเหตุกะ หรืออเหตุกะ เป็นสเหตุกะ โทสเจตสิกเกิดกับโทสมูลจิตเป็นเหตุ หรือเป็นนเหตุ

    ผู้ฟัง เป็นเหตุ

    ท่านอาจารย์ เป็นอเหตุกะ หรือสเหตุกะ

    ผู้ฟัง เป็นสเหตุกะ

    ท่านอาจารย์ เพราะ

    ผู้ฟัง เพราะมีโมหเจตสิกเกิดร่วมด้วย

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นโทสมูลเจตสิกที่เกิดกับโทสมูลจิตเป็นสเหตุกะ เป็นทั้งเหตุ และเป็นสเหตุกะ เพราะว่ามีโมหเจตสิกเกิดร่วมด้วย เพราะฉะนั้นเราจะทบทวนกลับไปได้หมดเลยไม่ว่าเราจะพูดถึงอะไร แต่ว่าถ้าเข้าใจจริงๆ ว่าเรารู้ธรรม หรือว่าเราฟังธรรม และเราฟังเพื่อเข้าใจธรรม กล่าวเช่นนี้ก็จะเห็นได้กว่าที่เราจะมีความเข้าใจจนถึงไม่เป็นอนุบาล ก็คือสามารถที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมด้วยความเข้าใจที่ถูกต้องจริงๆ จากการที่ได้ฟัง และมีความเข้าใจที่ถูกต้องว่าปัญญาของเราที่กำลังฟังเทียบไม่ได้กับผู้ที่ได้รู้แจ้งสภาพธรรม และได้ทรงแสดงธรรมให้เราฟังอย่างที่เรากำลังได้ฟัง เพราะฉะนั้นจะเป็นผู้ที่พอใจในความเป็นอนุบาล เพราะว่าจะต้องมีการไตร่ตรองพระธรรมด้วยความละเอียด เพื่อที่ได้จะรักษาคุ้มครองให้เราได้มีความเห็นถูก ความเข้าใจถูก และรู้จุดประสงค์ของการศึกษาจริงๆ ว่า เพื่อที่จะได้รู้แจ้งความจริงของธรรมที่เราได้ฟังด้วยการประจักษ์แจ้ง ไม่ใช่เพียงฟังแต่ชื่อเท่านั้น เพราะฉะนั้นก็คงจะไม่เข้าใจผิดว่าอนุบาลก็คือชั้นเรียนซึ่งคุณสุรีย์จะใช้คำว่าเตี้ยๆ หรือต่ำๆ หรือว่าต้นๆ แต่ก็เป็นผู้ที่ตรงต่อความเป็นจริงว่า ตราบใดที่ยังไม่สามารถที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรม ก็จะต้องมีการคุ้มครองตัวเองด้วยการฟังให้เข้าใจ จุดประสงค์จริงๆ ให้เข้าใจถูก ให้เห็นถูกว่าที่กำลังศึกษา ที่กำลังฟังก็เป็นเรื่องของสภาพธรรมที่มีจริงๆ ฟังเท่าไรๆ เมื่อไรๆ จะรู้ความจริงลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังได้ยินได้ฟัง เมื่อนั้นก็จะพ้นจากความเป็นอนุบาล แต่ว่าถ้าตราบใดที่ยังไม่รู้ ก็ต้องเป็นอนุบาลไปด้วยความมั่นคงจริงๆ ที่จะเข้าใจว่าไม่ได้ต้องการอย่างอื่นเลยทุกชาติที่มีโอกาสได้ฟังพระธรรม ก็เพื่อที่จะได้เข้าใจพระธรรมที่ทรงแสดงจากการตรัสรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังมีอยู่ในขณะนี้

    ที่มา ...

    พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 60


    หมายเลข 6694
    22 ม.ค. 2567