เหตุเป็นปรมัตถธรรมอะไร
เพราะนั้น ก็ขอทบทวนเหตุด้วยคำถามว่าเป็นปรมัตถธรรมอะไร
ผู้ฟัง เจตสิกปรมัตถ์
ท่านอาจารย์ ใช่ "เจตสิกปรมัตถ์" แสดงว่าเข้าใจแล้วว่าเหตุหมายถึงสภาพธรรม ๖ อย่าง ถ้ากล่าวโดยนัยของเหตุ ๖ ก็คือ โลภเจตสิกเป็นโลภเหตุ โทสเจตสิกเป็นโทสเหตุ โมหเจตสิกเป็นโมหเหตุ อโลภเจตสิกเป็นอโลภเหตุ อโทสเจตสิกเป็นอโทสเหตุ อโมหเจตสิกเป็นอโมหเหตุ และอีกชื่อหนึ่งของอโมหะก็คือ ปัญญา เพราะฉะนั้นจะมีจิตต่างกันเป็น ๒ ประเภท คือจิตที่มีเหตุเกิดร่วมด้วยก็มี และจิตที่ไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วยก็มี และความจริงก็คือขณะนี้นั้นเองไม่พ้นจากชีวิตประจำวันเลย ไม่ว่าจะแสดงธรรมโดยนัยประการใดก็ตาม ก็คือสิ่งที่กำลังมีในขณะนี้คือมีจิตที่ไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วย และมีจิตที่มีเหตุเกิดร่วมด้วย จึงต้องเข้าใจละเอียดขึ้นว่าขณะไหนเป็นจิตที่ไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วย ขณะไหนเป็นจิตที่เป็นเหุตเกิดร่วมด้วย
แต่เมื่อพิจารณาถึงเหตุ ได้แก่ เจตสิก ๖ ดวง โลภะเป็นเหตุ ๑ โทสะเป็นเหตุ ๑ โมหะเป็นเหตุ ๑ ทางฝ่ายอกุศล ซึ่งทางฝ่ายดีก็จะตรงกันข้ามกันคือ อโลภะ ขณะที่ไม่ติดข้อง อโทสะขณะที่ไม่ขุ่นเคืองใจ ไม่โกรธ อโมหะขณะที่ไม่มีความหลง ต้องเป็นฝ่ายโสภณเหตุ
ที่มา ...