เหตุปัจจัย


    ท่านอาจารย์ ถึงเวลาที่จะกล่าวถึงเรื่องเหตุปัจจัย และก็อุดมเหตุกับสาธารณเหตุ

    อ.วิชัย เรื่องของพยัญชนะหรือคำ ต้องดูในที่นั้นๆ ว่าหมายถึงอะไรบ้าง เช่นคำว่าเหตุก็มีความหมาย ๔ อย่าง เหตุ- เหตุ หมายถึง เหตุเจตสิก ๖ ประเภท ปัจจยเหตุ หมายถึงมหาภูตรูป ๔ เป็นเหตุให้บัญญัติรูปขันธ์ นี่ก็ปัจจยเหตุ ส่วนอุตตมเหตุ หมายถึง กุศล อกุศล เป็นเหตุให้เกิดผล ส่วนสาธารณเหตุ หมายถึง เหตุทั่วไป หมายถึง อวิชชา ฉะนั้นคำว่า เหตุก็ดี ปัจจัยก็ดี ในอรรถกถาคัมภีร์ยมกมีแสดงคำหลายคำซึ่งมีอรรถอย่างเดียวกัน นี้หมายถึงคัมภีร์ยมก อย่างเช่นคำว่า "มูล" คำว่า "เหตุ" คำว่า "ปัจจัย" คำว่า "สัมภวะ" "ปภวะ" "นิพพาน" "กรณ" นี้คือเป็นพยัญชนะหลายอย่าง แต่ว่ามีอรรถอย่างเดียวกัน เช่น ถ้ากล่าวถึงในคัมภีร์ปัฏฐาน คำว่า “เหตุปัจจัย” คำว่าเหตุในที่นั้น ท่านก็อธิบายว่าหมายถึง เหตุเจตสิก ๖ ปัจจัยนี้ หมายถึง ผลธรรม ผลอาศัยเป็นไป นี้คือกล่าวถึง ตัวผลว่าอาศัยสิ่งนี้เป็นไป ชื่อว่า ปัจจัย ก็คือธรรมที่ทำให้เกิดผลนั่นเอง เรียกว่า "ปัจจัย" เราจะกล่าวถึงผลขึ้นก่อนว่าผลอาศัยสิ่งนี้เป็นไป ก็ชื่อว่าปัจจัย หรือจะกล่าวถึงว่า สิ่งนี้เป็นปัจจัยให้เกิดผล ก็ชื่อว่าเป็นปัจจัยเหมือนกัน ฉะนั้นเหตุปัจจัยในปัฏฐาน หมายถึง เหตุเป็นปัจจัยให้เกิดผล หรือว่าจิตอาศัยเหตุนั้นให้เป็นไปก็ได้


    หมายเลข 6846
    20 ม.ค. 2567